ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

เกษตรหมอดิน

โดย : นายชลอ มาน้อย วันที่ : 2017-03-22-04:49:53

ที่อยู่ : 24 ม.15 ต.เขาคีริส

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

หมอดินอาสา คือ เกษตรกรที่เป็นตัวแทนของกรมพัฒนาที่ดิน ในพื้นที่ ซึ่งได้จัดตั้งเป็นเครือข่ายปฏิบัติงานในระดับหมู่บ้าน ตำบล และอำเภอ เรียกว่า หมอดินอาสาประจำหมู่บ้าน หมอดินอาสาประจำตำบล หมอดินอาสาประจำอำเภอ และหมอดินอาสาประจำจังหวัดอาสาเข้ามาช่วยกรมพัฒนา ที่ดิน ดูแลรักษาทรัพยากรของท้องถิ่น โดยปฏิบัติงานด้านการพัฒนาที่ดิน และเผยแพร่ความรู้ด้านการพัฒนาที่ดินในชุมชนเคียงคู่ไปกับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของกรมพัฒนาที่ดิน บทบาทของหมอดินอาสาประจำหมู่บ้านในด้านการเผยแพร่ความรู้ด้านการพัฒนาที่ดิน คือ เป็นผู้ทำการเกษตรถูกต้องตามหลักวิชาการพัฒนาที่ดิน เป็นตัวอย่างให้กับเกษตรกรข้างเคียง และสามารถให้คำแนะนำ เผยแพร่ความรู้ด้านการพัฒนาที่ดิน ให้แก่เพื่อนบ้าน ในหมู่บ้าน เป็นผู้ช่วยหรือผู้นำในการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรใช้สารอินทรีย์ทดแทนสารเคมีทางการเกษตร เป็นอาสาสมัครเกษตรที่จะคอยช่วยเหลือเมื่อกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีภารกิจหรือโครงการเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการในพื้นที่ บทบาทของหมอดินอาสาประจำหมู่บ้านในด้านการเผยแพร่ความรู้ด้านการพัฒนาที่ดิน คือ เป็นผู้ทำการเกษตรถูกต้องตามหลักวิชาการพัฒนาที่ดิน เป็นตัวอย่างให้กับเกษตรกรข้างเคียง และสามารถให้คำแนะนำ เผยแพร่ความรู้ด้านการพัฒนาที่ดิน ให้แก่เพื่อนบ้านในหมู่บ้าน เป็นผู้ช่วยหรือผู้นำในการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรใช้สารอินทรีย์ทดแทนสารเคมีทางการเกษตร เป็นอาสาสมัครเกษตรที่จะคอยช่วยเหลือเมื่อกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีภารกิจหรือโครง การเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการในพื้นที่ การพัฒนาหมอดินอาสาประจำหมู่บ้าน เพื่อให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ส่งเสริมเผยแพร่ความรู้ด้านการพัฒนาที่ดินได้ตามบทบาทที่กรมพัฒนาที่ดินคาดหวัง ได้กำหนดให้มีการฝึกอบรมเป็นเวลา 1 วัน 

วัตถุประสงค์ ->

                   1. เพื่อให้หมอดินอาสาประจำหมู่บ้าน ทราบถึงบทบาทหน้าที่ของหมอดินอาสาประจำหมู่บ้าน ในโครงการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรใช้สารอินทรีย์ทดแทน สารเคมีทางการเกษตรและข้อมูลข่าวสารตลอดจนผลประโยชน์ที่หมอดินอาสาประจำหมู่บ้านจะได้รับ

                   2. เพื่อให้หมอดินอาสาประจำหมู่มีความรู้ในเรื่องแผนที่ การอ่านและการใช้ประโยชน์แผนที่ดินไทยและธาตุอาหารพืชของกรมพัฒนาที่ดิน

                   3. เพื่อให้มีความรู้โปรแกรมสำเร็จรูปดินไทยและธาตุอาหารพืช

                   4. เพื่อให้ทราบถึงภาวะโลกร้อนและผลกระทบตลอดจนการทำการเกษตรที่เหมาะสมเพื่อลดภาวะโลกร้อน

                   5. เพื่อเสวนาและอภิปรายปัญหาอุปสรรคและแนวทางการปฏิบัติงานหมอดินอาสาประจำตำบล การดำเนินงานเครือข่ายหมอดินอาสาและการดำเนินการโครงการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรใช้สารอินทรีย์ทดแทนสารเคมีทางการเกษตร

                   6. เพื่อศึกษาดูงานจุดเรียนรู้หรือพื้นที่การเกษตรที่เป็นแบบอย่างที่ดีด้านการพัฒนาที่ดินสร้างวิสัยทัศน์ที่ถูกต้องในการเป็นผู้ชำนาญด้านการพัฒนาที่ดิน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

          1. ซากพืช ได้แก่ ใบไม้ ผักตบชวา หญ้าแห้ง ลำต้นถั่ว ลำต้นข้าวโพด ใบและต้นมันสำปะหลัง กระดูกปอ ตามที่มีสับเป็นท่อนๆสั้นๆให้เปื่อยเร็ว

          2. ปุ๋ยคอก เช่น มูลสัตว์ ขี้วัว,ขี้ควาย,ขี้เป็ด,ขี้ไก่,ขี้ค้างคาว ชนิดใดก็ได้

          3. ปัสสาวะคนหรือสัตว์

          4. กากเมล็ดนุ่น,กากถั่ว,ซากต้นถั่วชนิดต่างๆ(พืชตระกูลถั่ว)

          5. ดินร่วนพอสมควร ถ้าได้เป็นหน้าดินยิ่งดี

กระบวนการ/ขั้นตอน->

          วิธีการกอง

          - วิธีการกองในหลุม ขุดหลุมให้มีขนาดกว้าง ประมาณ 1 เมตร ยาว 1 เมตร และลึก 1เมตร ถ้ามีการระบายน้ำได้ยิ่งดี

          - วิธีการกองในคอก ให้ปรับดินบริเวณที่จะทำการกองปุ๋ยหมักให้แน่น ใช้ไม้ไผ่หรือไม้ชนิดอื่นที่สามารถทำได้ กั้นเป็นคอกความกว้างอยู่ที่ 2 เมตร ความยาว 4 เมตร และสูง 1 เมตร แบ่งคอกออกเป็น 2 ส่วน ครึ่งหนึ่งไว้ใส่ปุ๋ยหมัก อีกครึ่งหนึ่งไว้ใช้ในการกลับกองปุ๋ย ทำหลังคาใบจากหรือใบมะพร้าวคลุมหลังคา หรือถ้ามีถุงพลาสติกคลุมกันฝนซะปุ๋ยได้ก็ยิ่งดี

          ขั้นตอนการทำปุ๋ยหมักสูตรพระราชทาน

          1. ให้เอาซากพืชที่เตรียมไว้กองเกลี่ยในคอกหรือในหลุม ให้เป็นชั้น เหยียบตามขอบให้แน่นประมาณคนเหยียบซ้ำแล้วไม่ยุบลงอีก ชั้นหนึ่งๆให้สูงราว 1 คืบ (30 เซนติเมตร)

          2. รดน้ำให้ชุ่มแล้วเอาปุ๋ยคอกโรยทับให้ทั่วกัน สูง 2 องคุลี (5 เซนติเมตร) ถ้ามีปุ๋ยเคมี (สูตร 16-20-0 หรือ 14-14-14 แอมโมเนียมซัลเฟต หรือยูเรีย) ก็โรยบางๆให้ทั่ว แล้วทับด้วยดินละเอียดหนาประมาณ   1 องคุลี สลับด้วยซากพืชแล้วรดน้ำเป็นชั้นๆ อย่างนี้จนปุ๋ยเต็มคอก (น้ำที่นำมารดจะผสมด้วยปัสสาวะด้วยก็ได้)

ข้อพึงระวัง ->

- อย่าให้มีน้ำขัง การรดน้ำมากไปจะทำให้ระบายอากาศไม่ดี

- ปุ๋ยกองใหญ่ไปจะทำให้เกิดความร้อนสูง ปุ๋ยจะเสียได้ ถ้าในกองปุ๋ยมีความร้อนสูงไปให้เติมน้ำลงไปบ้าง

- ปุ๋ยกองเล็กไป จะสลายตัวช้า

- อย่าใช้ปุ๋ยเคมีพร้อมกับใส่ปูนขาว จะทำให้ธาตุไนโตรเจนสลายตัว

รูปประกอบ -> image1 image2

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดกำแพงเพชร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา