ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

ลูกประคบสมุนไพร

โดย : นางนารี อินเมฆ วันที่ : 2017-03-22-04:46:37

ที่อยู่ : 65 ม.15 ต.เขาคีริส

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

          ลูกประคบสมุนไพร เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำ สมุนไพรหลายชนิดมาผ่านกระบวนการทำความสะอาดแล้วนำมา หั่นหรือสับให้เป็นชิ้นตามขนาดที่ต้องการ หากใช้สดให้ตำหรือบด พอแตก หากใช้แห้งให้อบหรือตากแดดให้แห้งแล้วบดหยาบ นำมา ห่อรวมกันด้วยผ้าให้ได้รูปทรงต่างๆ เช่น ทรงกลม รูปหมอน สำหรับนาบหรือกดประคบตามส่วนต่างๆ ของร่างกายเพื่อทำให้ กล้ามเนื้อผ่อนคลาย ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อย ซึ่งมักใช้ควบคู่ กับการนวดแผนไทยโดยใช้ประคบหลังการนวด ตัวยาที่นิยมใช้ทำลูกประคบ ได้แก่ ไพล ขมิ้นชัน ตะไคร้ บ้าน ผิวมะกรูด ใบมะขาม ใบล้มปอย เกลือ การบูร เป็นต้น

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

          ผ้าขาวบางหรือผ้าดิบ เชือก กะละมัง ตู้อบลมร้อน เครื่องบด หม้อสำหรับนึ่งลูกประคบ พืชสมุนไพร ที่ต้องการประกอบด้วย ไพล,ขมิ้นชัน,ตะไคร้,ผิวมะกรูด,เปลือกล้ม,ใบล้มปอย,ใบมะขาม,เตยหอม,             การบูร,พิมเสน และเกลือ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

          วิธีทำ

          นำสมุนไพรทั้งหมดทั้งหมดมาคลุกเคล้ากัน (เว้นเกลือ การบูร พิมเสน)อบในตู้อบลมร้อนที่อุณหภูมิ 60-80 องศา ประมาณ 1 ชั่วโมงนำสมุนไพรที่อบเสร็จแล้วมาบดหยาบๆนำเกลือ การบูร พิมเสน มาคลุกเค้ากับสมุนไพรที่บดได้ตักสมุนไพรใส่ผ้าดิบหรือผ้าขาวบางที่เตรียมไว้ มัดด้วยเชือกให้แน่น

          วิธีใช้

          นำลูกประคบสมุนไพร พรมน้ำพอหมาดแล้วนึ่งไอน้ำร้อนประมาณ 15 นาที นวดคลึงบริเวณที่มีอาการ

 

 

 

          ขั้นตอนวิธีการประคบ ลูกประคบสมุนไพร

          1. จัดท่าผู้ป่วยให้เหมาะสม ในท่านั่งหรือนอน

          2. นำลูกประคบสมุนไพรที่นึ่งจนร้อนมาทดสอบความร้อน โดยแตะที่ท้องแขน หรือหลังมือก่อนนำไปประคบ

          3. ในการประคบสมุนไพรต้องทำด้วยความรวดเร็ว ในขณะที่ลูกประคบสมุนไพรกำลังร้อน เมื่อลูกประคบสมุนไพรเย็นลงจึงวางลูกประคบสมุนไพรไว้ได้นานขึ้น

          4. เมื่อลูกประคบสมุนไพรคลายความร้อน จึงเปลี่ยนลูกประคบอีกลูกหนึ่งแทน

          ประโยชน์

          1. ประคบเพื่อขจัดอาการของโรค, ประคบเพื่อให้โลหิตไหลเวียนทั่วร่างกายได้สะดวกดีขึ้น

          2. ประคบเพื่อคลายเส้น เอ็น กล้ามเนื้อ ให้หายจากอาการเมื่อยล้า อ่อนเพลีย

          3. ประคบเพื่อให้ร่างกายพริกฟื้นจากความอ่อนแอ ขี้โรค ให้มีเรี่ยวแรงดีขึ้น

          4. ประคบเพื่อบรรเทาและรักษาอาการเหน็บชา อัมพฤกษ์และอัมพาต

          5. ประคบเพื่อลดไขมัน หรือละลายไขมันที่สะสมอยู่ในร่างกาย

          6. ประคบเพื่อลดความดันโลหิตสูงให้ลดลงมาเป็นปกติ, ประคบเพื่อให้มดลูกเข้าอู่ได้เร็ววันยิ่งขึ้น

          7. ประคบเพื่อขับน้ำคาวปลาออกมาจากมดลูกให้หมดสิ้น ไม่เหลือคั่งค้างเอาไว้

          8. ประคบเพื่อคลายเครียด สบายเนื้อสบายตัว อารมณ์แช่มชื่น ผ่องใส จิตใจ ปลอดโปร่ง

          9. ประคบเพื่อสร้างสมดุลให้แก่สุขภาพของตนเองแม้ว่าจะไม่เจ็บป่วย หรือมีโรคภัยใดๆ ก็ตาม

ข้อพึงระวัง ->

          1. ห้ามใช้ลูกประคบสมุนไพร ที่ร้อนเกินไป โดยเฉพาะกับบริเวณผิวหนังอ่อนๆ หรือบริเวณที่เป็นแผลมาก่อน ถ้าจำเป็นต้องประคบควรมีผ้ารองหรือรอจนกว่าลูกประคบสมุนไพรจะคลายความร้อนลง

          2. ควรระวังเป็นพิเศษในผู้ป่วยโรคเบาหวาน อัมพาต เด็ก และผู้สูงอายุ เนื่องจากกลุ่มบุคคลดังกล่าวมีการตอบสนองความรู้สึกช้า อาจทำให้ผิวหนังพองได้ ถ้าจำเป็นต้องประคบให้ใช้ลูกประคบสมุนไพรอุ่นๆ

          3. ไม่ควรใช้ลูกประคบสมุนไพร กรณีที่มีการอักเสบใน 24 ชั่วโมงแรก เพราะอาจทำให้การอักเสบมากขึ้น ควรประคบด้วยความเย็นก่อน

          4. หลังจากประคบสมุนไพรแล้ว ไม่ควรอาบน้ำทันที เพราะจะไปชะล้างตัวยาออกจากผิวหนัง และร่างกายอาจปรับตัวไม่ทัน

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดกำแพงเพชร
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา