ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

ช่างไม้ (เครื่องสีข้าวด้วยมือ)

โดย : นายสำลี ใคร่ครวญ วันที่ : 2017-03-24-11:05:43

ที่อยู่ : 46 หมู่ 18 ตำบลห้วยกระเจา อำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

สังคมไทยแต่โบราณมีความหลากหลายทางการผลิตพืชผล ทรัพยากรธรรมชาติ ความแตกต่างทางประเพณี วัฒนธรรม รวมทั้งภูมิปัญญา ทำให้เกิดทางเลือกในการดำรงชีวิตที่พึ่งพาตนเองได้หลายรูปแบบ เกษตรกรรายย่อยมีทักษะในการผสมผสานความรู้ ความสามารถและถ่ายทอดประสบการณ์ในการผลิตเครื่องมือ เครื่องใช้ เพื่อการดำรงชีวิตอยู่บนฐานของครอบครัวและเครือญาติ เช่น เครื่องหีบอ้อย โม่ ครกมือ ครกกระเดื่อง เครื่องสีข้าวมือหมุน เป็นต้น สิ่งประดิษฐ์ของชาวบ้านเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิต สังคม ประเพณี และวัฒนธรรมของผู้คนในอดีต รวมทั้งกระบวนการทางความคิดในการประดิษฐ์ที่สร้างสรรค์ การสร้างเครื่องมือ เครื่องใช้ จึงมีรูปแบบที่แตกต่างกันไปตามสภาพภูมิประเทศ สภาพแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรม
เครื่องสีข้าวมือหมุน เป็นเครื่องมือสำหรับสีข้าวเปลือกเพื่อให้เปลือกข้าวหลุดออกจากเมล็ดข้าวเป็นข้าวสารกล้อง โดยใช้แรงงานคนโยกหมุนให้เครื่องสีข้าวทำงาน ตัวเครื่องมีลักษณะคล้ายโม่สำหรับโม่แป้ง คุณภาพในการใช้งานไม่สมบูรณ์เหมือนเครื่องสีข้าวที่ใช้เครื่องจักรกล แต่ก็เป็นเครื่องทุนแรงได้ดีกว่าการซ้อมข้าวด้วยครกมองหรือครกกระเดื่อง นอกจากข้าวสารที่ได้จากเครื่องสีข้าวมือหมุนนี้ จะเป็นข้าวกล้อง สีจะไม่ขาวเหมือข้าวขัดขาว(ข้าวสาร) ที่ได้จากโรงสีเครื่องจักร ซึ่งเครื่องสีข้าวจักรกล จะขัดเอาเยื่อหุ้มเมล็ด รำ ออกจนหมดเมล็ดข้าวจะเป็นสีขาว ในขณะที่ข้าวกล้องยังคงมีเยื่อหุ้มเมล็ด รำ และจมูกข้าวอยู่ครบถ้วน ข้าวกล้องจึงเป็นข้าวที่มีคุณค่าทางอาหารสูงกว่าข้าวขัดขาว

วัตถุประสงค์ ->

เป็นการส่งเสริมครอบครัวและชุมชนอยู่รอดได้การสร้างเครื่องสีข้าวมือหมุนไว้ใช้ในครอบครัวเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่เกษตรกรสามารถพึ่งตนเองได้ เหมือนในอดีต ถึงแม้ว่าจะไม่ได้ปลูกข้าวเอง แต่ทุกคนทุกครอบครัวต้องบริโภค การสร้างเครื่องสีข้าวมือหมุนไว้ใช้ในครอบครัวจึงเป็นการประหยัดรายจ่ายและเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีให้กับครอบครัวได้อีกด้วย

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. นำไม้เนื้อแข็งมาตัดเป็นรูปทรงกลม ช่วงล่าง (ตัวสี) ตัดยาว 32 ซม. ช่วงบน (ฝาสี) 
ยาว 15 ซม. ตัดแต่งให้เป็นรูปทรงกลม
          2. เอาเครื่องเจาะไม้ มาเดินฟันบนไม้เนื้อแข็ง
          3. เจาะรูกลางไม้ เพื่อใส่แกนกลาง
          5. สานหุ่นครอบรอบไม้ช่วงล่าง
          6. นำสว่านเจาะรูรอบตัวไม้ทรงกลม จำนวน ประมาณ 37 รู ตามช่วงว่างของไม้ที่สานครอบหุ่น
          7. นำไม้กระจาดเข้าเสียบตามรูที่เจาะไว้
          8. นำตอกที่เตรียมไว้สานตามความยาวของไม้เสียบข้าง สานให้เต็ม แล้วนำตอกอ่อนเสียบต่อจากไม้กระจาดยาวประมาณ 50 ซม. สานต่อ ยกตั้งขึ้น ประมาณ 5 นิ้ว เสร็จแล้เวนำไม้ครอบปากกระจาด เพื่อรองรับข้าวที่สีแล้ว
9. ใส่ไม้ขาตั้ง 2 เล่ม ของตัวเครื่อง
10. เจาะรูข้างกระจาดกว้าง 4X5 นิ้ว เพื่อให้ข้าวลง
11 .นำมูลวัว, ลำ, น้ำเกลือ, ดินจอมปลวก ผสมให้เข้ากันเพื่อให้เหนียว นำไปทาเครื่องสีให้แข็งแรง เป็นสีตามธรรมชาติ และทำให้ข้าวที่สีแล้วไม่ออกจากกระจาดที่สานไว้
การทำตัวฝาสี
1. เจาะรูกลาง ขนาด 4X 5 นิ้ว เพื่อรองรับข้างตกลงมา
2. ใส่ไม้กระเดื่อง สำหรับเอางกเข้าใส่แล้วหมุน
3. นำดินที่ผสมแล้ว ทาข้างนอก ด้านในไม้ ทาดินเหนียว เพื่อทำให้ลื่น ทำให้ข้าวที่ใส่ลงไปสีไหลลงได้สะดวก
4. นำไปตากแดดจนดินแห้งสนิทและแข็ง
5. นำเครื่องสีข้าวด้วยมือ ไปสีข้าวได้ตามความต้องการ

ข้อพึงระวัง ->

การเลือกวัสดุเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการสร้างเครื่องสีข้าวมือหมุน คุณภาพของเครื่องสีจะดีหรือมีคุณสมบัติเหมาะสมหรือไม่ขึ้นอยู่กับคุณภาพของวัสดุที่เลือกใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรเลือกใช้วัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่นที่หาได้ง่าย นอกจากการเลือกวัสดุแล้ว สิ่งที่ต้องเตรียมก่อนดำเนินการสร้างคือ ต้องเตรียมหาวัสดุ เครื่องมือ เครื่องใช้ที่จำเป็นในการสร้างให้พร้อมและพอเพียง ซึ่งแยกตามประเภทและลักษณะการใช้งาน

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดกาญจนบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา