ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

ถักแห

โดย : นายยิ้ม เชื้องาม วันที่ : 2017-03-24-10:56:16

ที่อยู่ : 102 หมู่ 5 ตำบลห้วยกระเจา อำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

แห เป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งสำหรับใช้จับปลา ซึ่งนิยมกันมากของคนทั่วไป เพราะโดยทั่วไปทุกๆคนจะมีแหล่งน้ำขนาดเล็กมากมาย สวนหนอง บึง ลำคลอง หรือแม้นาขนาดใหญ่จะมีน้อยมากและไม่สามารถเก็บน้ำได้ตลอดปี วิธีจับปลาที่ได้ผลเร็วและสะดวกที่สุด ดังนั้น แห จึงมีหลายขนาด หลายชนิด ด้วยความจำเป็นเพื่อการยังชีพในอดีตแทบทุกครัวเรือน จึงมีแหไว้จับปลา และเป็นการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นจากรุ่นสู่รุ่น คงความเชื่อโบราณหรือเป็นวิถีชีวิตปกติ การถักแหมีมาตั้งแต่ช้านานซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ใช้ในการทำมาหากินและเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการดำรงชีวิตในอดีต ซึ่งปัจจุบันก็ยังคงมีอยู่ตามชนบททั่วไป

วัตถุประสงค์ ->

เป็นการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นจากรุ่นสู่รุ่น คงความเชื่อโบราณหรือเป็นวิถีชีวิตปกติ การถักแหมีมาตั้งแต่ช้านานซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ใช้ในการทำมาหากินและเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการดำรงชีวิตในอดีต ซึ่งปัจจุบันก็ยังคงมีอยู่ตามชนบททั่วไป

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

1) ด้ายในล่อนขาว ด้ายสานแห หรือ เอ็นสานแห

             2) ชนุน (กิม มีลักษณะเป็นไม่ไผ่แบนหนาประมาณ 3-4 มิลลิเมตร กว้าง 1 นิ้ว ยาว 8 นิ้ว หัวแหลมมน ประมาณ1 ใน 3ส่วนของความยาวเจาะทะลุยาวตามส่วน1 ใน 3 มีเดือยตรงกลาง ส่วนท้ายใช้มีดควงให้เป็นตัวยู)

             3) ไม่ไผ่ หรือ ปาน (มีลักษณะการเหลาไม้ไผ่คล้ายไม้บรรทัดยาว 5-6 นิ้ว หนาประมาณ2-3 มิลลิเมตร ความกว้างขึ้นอยู่กับตาของแหที่ต้องการ)

             4) กรรไกร

             5) ลูกแห หรือ ลูกโซ่ตะกั่ว

             6) สีย้อมแห หรืออาจจะไม่ใช้ก็ได้

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ขนาดรอบของด้ายที่จะใช้สานมีขนาดความยาวมากน้อยแตกต่างกัน จะเริ่มต้นสานแหจากจอมแหก่อนเพิ่มและขยายรอบการถักออกและขยายตาข่ายให้กว้างเพื่อที่จะทำให้เป็นวงกลมทั้งฝืน ตามขนาดของการใช้งาน ขนาดของการสานแห ยาวขนาด เจ็ดศอก เก้าข้อศอก และ สิบเอ็ดข้อศอก ขนาดความกว้างมีหลายขนาด อาทิ แหขนาดตาข่าย สองเซ็น สี่เซ็น ห้าเซ็น (เซนติเมตร) ภาษาท้องถิ่นจะเรียกขนาดของตาข่ายว่าเซ็น เป็นต้น ซึ่งจะสานตามความต้องการของการใช้งาน ขั้นตอนพอสังเขป ในการถักแห

 

ข้อพึงระวัง ->

            ขี้เมื่อนำแหไปใช้เป็นอุปกรณ์หาปลา เวลาใช้เสร็จจะต้องทำความสะอาด เนื่องจากอาจมีเศษใบไม้ หญ้า ฟาง ดินเหนียว ติดกับหัวแห ล้างและทำความสะอาด สะบัดน้ำให้หมาด ๆ แขวนผึ่งลม ผึ่งแดด เพื่อเป็นการรักษาให้อายุการใช้งานได้ยาวนาน สำหรับอายุการใช้งาน ประมาณ 10 ปี ขึ้นไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการบำรุง รักษา อุปกรณ์การใช้งานของส่วนประกอบของแหนั้นเอง

รูปประกอบ -> image1 image2

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดกาญจนบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา