ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การปลูกผักไฮโดรโปรนิกส์

โดย : นางวลัยพร รุ่งเรือง วันที่ : 2017-03-24-10:05:35

ที่อยู่ : ๙๖ หมู่ที่ ๔ บ้านหัวรัง ตำบลดอนเจดีย์ อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ปัจจุบันพืชผักสลัดเป็นที่นิยมนำมารับประทานกันมากในกลุ่มของผู้บริโภคทั่วไปและกลุ่มสตรีซึ่งเป็นพืชที่ปลูกง่าย ผักไฮโดรโปรนิกส์ เป็นพืชผักที่ปลูกง่ายในด้านผักสลัดและเป็นการปลูกผักที่ประหยัดพื้นที่ ผักไฮโดรโปรนิกส์ประเภทผักสลัดนั้นมีประโยชน์มากมายสามารถบริโภคได้ตั้งแต่ เด็กยันผู้สูงอายุ สามารถทานได้เพื่อสุขภาพและเพื่อการบริโภคต่างๆ การปลูกผักไฮโดรโปรนิกส์ยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายอีกทั้งยังนำเศษวัสดุเหลือเหลือเช่นฟองน้ำมาใช้ประโยชน์ได้อีก ผักไฮโดรโปรนิกส์เป็นนวัฒกรรมการปลูกผักแบบใหม่ที่เป็นที่น่าสนใจในยุคปัจจุบันและคิดว่าในอนาคตนวัฒกรรมนี้จะเป็นที่นิยมกันมากในสังคมเมืองจึงได้ทำการศึกษาการปลูกผักแบบไฮโดรโปรนิกส์เพื่อเป็นแบบอย่างในการศึกษาการปลูกผักไฮโดรโปรนิกส์ และเป็นแหล่งเรียนรู้ของคนในชุมชน

วัตถุประสงค์ ->

1.เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนในหมู่บ้าน

2. เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือนและคนในชุมชน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

๑. เมล็ดพันธุ์ผักสลัดมิกซ์

๒. เมล็ดพันธุ์ผักกรีนโอ๊ค

3. ปุ๋ย A , ปุ๋ย B

อุปกรณ์ ->

๑. มุ้ง

          ๒. แปลงเพาะ แปลงปลูก

          ๓. ปั๊มน้ำ, รองน้ำ

          ๔. แผ่นเพาะ

          ๕. ท่อพีวีซี ขนาด 2 นิ้ว

          ๖. โฟมรองพื้น, โฟมแผ่นปลูก

          ๗. ผ้าใบสีดำ

          8.ฟองน้ำเพาะปลูก

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1.      เตรียมเมล็ดพันธุ์เพาะใส่ในแปลงเพาะ

2.      นำฟองน้ำแช่ในน้ำหรือชุบฟองน้ำให้ชุ่มน้ำ

3.      ทำการหยอดเมล็ดผักใส่ฟองน้ำโดยถ้าเป็นผักทรงพุ่มแคบ  1 เมล็ด/ฟองน้ำและถ้าเป็นผักพุ่มกว้าง เช่นผักสลัด ให้หยดแค่ 1 เมล็ด/ฟองน้ำ ทั้งนี้ความลึกของการวางเมล็ดในฟองน้ำ ควรอยู่ต่ำกว่าผิวฟองน้ำ ประมาณ 1-3 cm

4.      เพาะแล้วรอประมาณ 10 วัน จากนั้นนำไปใส่แปลงปลูก ทำการเดินปั๊มน้ำ

5.      ใส่ปุ๋ย A - ปุ๋ย B รอ 10 วัน แล้วใส่ปุ๋ย A - ปุ๋ย B อีกครั้ง

6.      เมื่อครบ 30 วัน ก็สามารถนำมาบริโภคหรือจำหน่ายได้

ข้อพึงระวัง ->

๑.ต้องหมั่นคอยดูแลเรื่องน้ำ ปั๊มน้ำ และหมั่นตรวจดูให้แน่ใจว่าทุกรางมีน้ำไหลปริมาณมากพอ

2.คอยสังเกต และกำจัดแมลงต่างๆ เช่น มด เพี้ย ด้วยการฆ่าหรือจับออก

3.ต้องทำความสะอาดรูท่อกระจายน้ำทุกวัน โดยการเปิดฝาครอบท่อออก แล้วใช้ไม้ทำความสะอาดที่เตรียมไว้ทะลวง จะต้องทำด้วยความรวดเร็ว เพื่อไม่ให้เสียน้ำปุ๋ยไปมาก

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดกาญจนบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา