ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

วิธีการทำน้ำหมักชีวภาพ

โดย : นายสุรดิษ ทองดอนน้อย วันที่ : 2017-03-23-17:43:44

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 193 หมู่ที่ 3 บ้านหินแด้น ตำบลหนองไผ่ อำเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

บ้านหินแด้น หมู่ที่ 3 ตำบลหนองไผ่ อำเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการเกษตร ทำไร่ ทำนา ปลูกผัก เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้สารเคมีในการทำการเกษตร มีต้นทุนในการทำการเกษตรที่ค่อนข้างสูง ส่งผลกระทบด้านสุขภาพทั้งตัวเกษตรกร และผู้บริโภคสินค้าด้านการเกษตร ทำให้เกษตรมีหนี้สิน เพราะสินค้าเกษตรราคาขึ้นกับสภาวการณ์แล้งบ้าง ฝนตกชุกบ้าง รวมทั้งความผันผวนด้านราคาผลผลิตทางการเกษตรที่อยู่เหนือการควบคุมของเกษตรกร จึงรวมกลุ่มเกษตรกร และสมาชิกที่สนใจในการทำน้ำหมักและปุ๋ยชีวภาพ เพื่อให้เกษตรใช้ในการเกษตร เป็นการลดต้นทุนการผลิต  

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. ถังน้ำหมักที่มีฝาปิดสนิท ควรเป็นถังพลาสติก หรือกระเบื้องเคลือบ ไม่ควรใช้ถังประเภทโลหะหรือปูนซิเมต์เพราะน้ำหมักจะเข้าไปกัดกร่อนภาชนะ
                   2. น้ำตาล สามารถใช้น้ำตาลได้ทุกชนิด อาทิ น้ำตาลทรายขาว น้ำตาลทรายแดง กากน้ำตาล ฯลฯ โดยเฉพาะกากน้ำตาล ซึ่งมีราคาถูกกว่าน้ำตาลชนิดอื่นๆ ซึ่งเป็นส่วนที่เหลือจากอุตสาหกรรมน้ำตาล นอกจากนี้อาจใช้พืชจำพวกอ้อยได้เช่นกัน
                   3. ส่วนผสมกับน้ำตาล
                   - เศษซากพืชสด อาทิ พืชอวบน้ำอวบน้ำ ผัก ผลไม้ทั้งแก่และอ่อน รวมทั้งเปลือกผลไม้ ฯลฯ
                   - เศษซากสัตว์สด อาทิ หอยเชอรี่ ปลา ปู ฯลฯ
                   - พืชสุมนไพรเพิ่มประสิทธิภาพ อาทิ สะเดา ไหลแดง หนอนตายอยาก ตะไคร้หอม ฯลฯ
โดยทั่วไปส่วนผสมของการผลิตน้ำหมักชีวภาพ ถ้าใช้สูตรที่เป็นเป็นเศษซากพืช จะใช้ส่วนผสมระหว่างเศษซากพืชสดกับกากน้ำตาล อัตราส่วน 3 : 1 แต่หากเป็นเศษซากสัตว์ จะใช้อัตราส่วนระหว่างเศษซากสัตว์กับกากน้ำตาล อัตราส่วน 1 : 1

ข้อพึงระวัง ->

การใช้น้ำหมักชีวภาพ ควรศึกษาก่อนใช้ และข้อห้ามให้ชัดเจน

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดกาญจนบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา