ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การอนุรักษ์วัฒนธรรมมอญพื้นบ้าน : รำมอญ

โดย : นางสาวอรัญญา เจริญหงษ์ษา วันที่ : 2017-03-23-11:00:12

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 309 หมู่ที่ 2 ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

รำมอญ เป็นนาฏศิลป์ที่เก่าแก่ของคนมอญ และคงเหลืออยู่สืบต่อมาจนกระทั่งทุกวันนี้ ลูกหลานมอญรุ่นหลังๆ นี้ ยังคงได้รับการถ่ายทอดศิลปะนี้ไว้ด้วยดีตลอดมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกาะเกร็ด พระประแดง และปทุมธานี ยังมีผู้ที่รำมอญได้จำนวนมาก ซึ่งรวมทั้งมี วงปี่พาทย์มอญ บรรเลงประกอบการรำ ก็ยังคงมีอยู่หลายวงเช่นกัน แต่ละวงล้วนมีฝีมือเยี่ยมทางบรรเลงเพลงมอญกันทั้งสิ้น จะมีรำมอญในโอกาสมีงานมงคล งานสมโภชต่างๆ ตลอดจนงานศพโดยเฉพาะในงานศพพระสงฆ์ ชาวบ้านจะนิยมรำถวายหน้าศพเพราะถือว่าได้บุญ ในงานศพผู้อาวุโส หรือผู้ที่เป็นที่เคารพนับถือ ชาวบ้านจะมารำด้วยความเคารพเช่นกัน              

วัตถุประสงค์ ->

เพื่ออนุรักษ์ สือสานวัฒนธรรมมอญ ให้เป็นที่รู้จัก

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

ชุดรำหงษ์ทอง

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การฝึกสอนให้แก่เยาวชนหรือผู้ที่สนใจนั้น จะเริ่มจากการฝึกรำดินแดนแห่งความหวังก่อน เนื่องจากเป็นเพลงทืใช้ท่าง่าย เมื่อมีความชำนาญแล้ว จะฝึกรำแม่บทต่อ โดยใช้เวลาในการฝึกประมาณ 3-5 เดือน แบ่งการแสดงทั้งสิ้น 4 ชุด ได้แก่ รำดินแดนแห่งความหวัง รำอวยพร รำแม่บท และรำสุวรรณภูมิ

          รำที่มีความน่าสนใจ และมีชื่อเสียง ในการถ่ายทอดศิลปะการแสดง ได้แก่ รําหงส์ทอง ผู้ฝึกสอนได้สอนการรำในแต่ละท่า โดยฝึกทักษะให้ผู้เรียนได้เกิดความชำนาญแล้วจึงทำการฝึกท่าต่อไปเรื่อย ๆ จนจบเพลง รำหงส์ทอง เป็นการแสดงพื้นบ้านของชาวไทย เชื้อสายรามัญ (มอญ) ซึ่งเป็นการแสดงเลียนแบบท่าทาง ของหงส์ที่แสดงความรักโดยเนื้อเพลงจะกล่าวถึง ความเป็นมาของชนชาติมอญคร้ังที่ยังรุ่งเรือง การแสดง มี ๔ ประเภทคือ รําหงส์เดี่ยว รําหงส์คู่ รําหงส์หมู่ และ รําหงส์วง

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดกาญจนบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา