ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การสานเข่ง

โดย : นางสาวยุพิน ศรียะโสธร วันที่ : 2017-03-23-00:03:15

ที่อยู่ : 114/1 หมู่ที่ 5 ต.หนองหญ้า อ.เมืองกาญจนบุรี จ.กาญจนบุรี

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เดิมประชาชนบ้านช่องกระเหรี่ยง มีอาชีพจักสานเป็นหลัก  แต่พอมีปัญหาเกี่ยวกับการบุกรุกป่า จึงค่อยๆเลิกอาชีพนี้ไป  ตนเองอยากจะฟื้นฟูให้อาชีพกลับมาอีกครั้ง  จึงเข้าร่วมโครงการเสริมสร้างสัมมาชีพชุมชนและเป็นวิทยากรหลัก เพื่อถ่ายทอดภูมิปัญญาให้กับผู้ที่สนใจ

วัตถุประสงค์ ->

สร้างอาชีพเสริมให้กับชุมชน  เพิ่มมูลค่าและสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ชุมชน 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

1. เครื่องจักตอก เพื่อแยกส่วนในและส่วนผิวของไผ่ ซึ่งส่วนผิวที่ใช้งานจะมีความเหนียวและดัดงอได้ในการสานเข่ง

2. มีดพร้าและชะแลง ใช้ผ่าซีกลำไม้ไผ่ โดยมีดพร้าผ่าเปิดแนวลำไผ่แล้วแทงผ่านชะแลงที่วางไขว่กากบาทเพื่อเป็นหลักในการดันลำไผ่เป็นตอกไผ่ 4 ซีก และดันผ่าแต่ละซีกอีกครั้งเพื่อให้ได้ตอกทั้งหมด 8 เส้นต่อไม้ไผ่หนึ่งลำ สำหรับมีดพร้ายังใช้ในการเหลาลบคมตอกไผ่และการจักตอกส่วนก้นเข่ง/เส้นยืนเพื่อแยกส่วนในและส่วนผิวของไผ่ ซึ่งส่วนผิวที่ใช้งานจะมีความเหนียวและดัดงอได้ในการสานเข่ง นอกจากนี้ยังมีมีดเคียวขอใช้สำหรับตัดปลายเส้นตอกยืนเมื่อพับขอบปากเข่งแล้ว

          3. เข่งแม่แบบ ใช้เป็นแบบในการสานเข่ง

          4. ฟักบัวรดน้ำ ใช้รดน้ำเพื่อให้ตอกไผ่ที่เป็นส่วนก้นเข่งมีความอ่อนตัวในการสานเข่ง

          5. เหล็กแหลม ใช้แทงขอบปากเข่งเพื่อสอดพับตอกเส้นยืนที่ปากเข่ง

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. การตัดลำไม้ไผ่ โดยตัดไม้ไผ่ให้ได้ความยาว 6 เมตร ซึ่งอาจตัดเองหรือจ้างคนอื่นให้ตัด

2. การจักตอก เพื่อให้เส้นบางง่ายต่อการจักสาน

2.1 การผ่าลำไม้ไผ่ โดยใช้มีดผ่านำส่วนโคนลำไม้ไผ่เป็น 4 แฉก  จากนั้นนำรอยผ่ามาแทงดันกับชะแลง 2 อันซึ่งวางไขว่กากบาทกันโดยมีอันหนึ่งปักเป็นหลักไว้กับพื้นดิน เพื่อผ่าไม้ไผ่ออกจากกันเป็น 4 อันหรือเส้น แล้วนำแต่ละเส้นมาผ่าปลายนำด้วยมีดแล้วดันผ่านชะแลงกันตั้งซึ่งมีกระบอกไม้ไผ่สวมชะแลง  แนวนอนลองรับอยู่จะได้ตอกไผ่ 2 เส้น ดังนั้นไม้ไผ่หนึ่งลำจึงได้ตอกไผ่ 8 เส้น ตอกไผ่นี้จะมีความกว้างประมาณ 1 ซม.

2.2 การลบคมเส้นตอก โดยใช้มีดกรีดลบคมตอกไผ่ส่วนผิวทุกเส้น

2.3 การจักตอก เพื่อให้เส้นบางง่ายต่อการจักสาน โดยการผ่าแยกส่วนในและส่วนผิวของไผ่ ซึ่งส่วนผิวที่ใช้งานจะมีความเหนียวและดัดงอได้ในการสานเข่ง โดยตอกที่สานส่วนก้นเข่ง/เส้นยืนจักด้วยมือคือใช้มีดพร้า ส่วนเส้นนอนหรือสานส่วนรอบ ๆ เข่งใช้เครื่องจักตอก

3. การสานเข่ง

3.1 สานก้นเข่ง โดยใช้ตอกไผ่ยาวประมาณ 2.5 ม.

3.2 ขัดไม้ก้นเข่ง โดยใช้ไม้ไผ่ขัดไขว่ก้นเข่งยาวประมาณ 50 ซม.

3.3 สานเส้นนอนรอบเข่ง โดยวางก้นเข่งบนเข่งแม่แบบแล้วเส้นตอกไผ่เส้นนอนซึ่งวาวประมาณ 6 ม. สานวนเป็นรอบ ๆ จนถึงปากเข่ง

3.4 สานปากเข่ง เรียกว่า ไพลปากเข่ง โดยหักตอกเส้นยืนพับสอดแทงขอบเข่งซึ่งมีเหล็กแหลมแทงเปิดนำเป็นช่องสอดแทงตอกเส้นยืนที่หักพับลงมา แล้วตัดปลายเส้นยืนที่หักพับลงมาด้วยมีดเคียวขอ

4. การตกแต่ง โดยการนำเข่งไปลนไฟเพื่อเผาเส้นไผ่ที่เป็นขุยขนจากการตอกไผ่

ข้อพึงระวัง ->

การจักตอกต้องใช้ความเชี่ยวชาญ  และความระมัดระวังเป็นอย่างมาก  ไม่เช่นนั้นอาจเกิดอุบัติเหตุซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกายและชีวิตได้

รูปประกอบ -> image1 image2

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดกาญจนบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา