ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ

โดย : นายสังเวียน กัณหา วันที่ : 2017-03-22-23:45:19

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 138 หมู่ที่ 1 บ้านท่ากระบือ ตำบลเกาะสำโรง อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ด้วยเหตุผลที่ว่า ราษฎรส่วนใหญ่ในหมู่บ้านท่ากระบือประกอบอาชีพเกษตร เพาะปลูกพืชผักสวนครัว รวมทั้งพืขสวน พืชไร่ ปลูกไว้ทั้งรับประทานเองและจำหน่าย ในช่วงฤดูฝนมักจะประสบกับปัญหาแมลงเจาะกินใบ กินราก จึงศึกษาจากเกษตรกรที่ทำอาชีพเดียวกันหาวิธีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ซึ่งหากเราใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพที่ทำมาจากเศษอาหาร ผักผลไม้ที่เหลือใช้ นำมาหมักกับน้ำตาลทรายแดง และปุ๋ยหมักสูตรอื่นๆ มาทดลองใช้กับพืชไร่ของตนเอง ปรากฏว่า แมลงศัตรูพืชที่มาเจาะใบและทำลายพืชไร่เสียหาย ค่อยๆ หายไป หลังจากนั้นก็ได้คิดค้นปุ๋ยหมักสูตรอื่นๆ เช่น ฮอร์โมนไข่ ปุ๋ยน้ำ นำมาทดลองใช้กับพืชไร่ของตนเองก่อน หากได้ผลดีจึงได้ขยายไปยังครัวเรือนอื่นๆ

วัตถุประสงค์ ->

การเพาะปลูกพืช ทั้งไม้ดอกและไม้ผล พืชไร่และพืชสวน ทุกชนิดล้วนมีการใช้สารเคมีในการป้องกันการเกิดโรคเป็นปัญหาหนึ่งที่สร้างความเสียหายแก่ผลผลิตพืชทำให้ผลผลิตลดลงและราคาตก จึงจำเป็นต้องมีการป้องกันการกำจัด การใช้สารเคมีเป็นวิธีหนึ่งที่เกษตรกรนำมาใช้ในการควบคุมโรคพืช ซึ่งปัจจุบันมีการนำเข้าสารเคมีจากต่างประเทศเป็นจำนวนมากทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นและมีสารพิษตกค้างเป็นอันตรายกับสิ่งแวดล้อมและมนุษย์ จึงคิดค้นปุ๋ยหมักชีวภาพสำหรับใช้กับพืชของตนเอง เพื่อเป็นการลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิต

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

- เศษพืชแห้ง    

- สารเร่งซุปเปอร์ พด.1/พด.6     

- น้ำสะอาด     

- ปุ๋ยยูเรีย       

- หน่อกล้วยสับ

- มูลสัตว์        

- กากน้ำตาล                       

- เหล้าขาว     

  - น้ำส้มสายชู    

- ลูกแป้งข้าวหมาก

- รำละเอียด     

- ไข่ไก่                              

- นมเปรี้ยว      

- เถาหางไหล,เถาดีปลี

- ใบยาสูบ       

- เมล็ดสะเดาแห้ง

อุปกรณ์ ->

- ถังพลาสติก ขนาด 200 ลิตรมีฝาปิด

- ผ้าคลุมปุ๋ยหมัก

กระบวนการ/ขั้นตอน->

- ผสมปุ๋ยคอก แกลบดำ และวัสดุทุกอย่างให้เข้ากัน
          - นำไปกองบนพื้นซีเมนต์ แล้วใช้ผ้าคลุมหรือหากทำปริมาณน้อย ให้บรรจุใส่ถังหรือถุงกระสอบ
          - ทุกๆ 1 สัปดาห์ มากลับไปกลับมาให้เข้ากันจนทั่ว

          - หมักทิ้งไว้ 30 วัน ก่อนนำใส่พืชไร่หรือไม้ดอก

 

ข้อพึงระวัง ->

ไม่ควรนำปุ๋ยที่ผสมกันแล้ว ไปกองบนพื้นที่เปียกชื้น เพราะอาจทำให้เกิดเชื้อรา ก่อนที่จะใช้งานได้ และทุ

สัปดาห์ต้องหมั่นมากลับหน้าดินให้เข้ากันอย่างสม่ำเสมอ ประมาณ 2 เดือน (เอามือจุ่มในกองปุ๋ย หากไม่มีความร้อน

ก็นำไปใช้ได้กับพืชได้

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดกาญจนบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา