ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทำหมักชีวภาพ

โดย : นายรุ่ง ล้ำเลิศ วันที่ : 2017-03-21-22:43:04

ที่อยู่ : 13/5 หมู่ที่ 7 ตำบลหนองกร่าง อำเภอบ่อพลอย

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ขึ้นเพื่อใช้เองในแปลงเกษตรเพื่อลดต้นทุนและเพื่อรักษาสภาพดดินที่เสื่อมสภาพจากการใช้สารเคมี

วัตถุประสงค์ ->

1 ลดต้นทุนการผลิต

2.ลดการใช้สารเคมี

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.ฟางข้าว   

2.มูลวัว  

3.สัปปะรด

4.น้ำมะพร้าว

5. สารเร่ง พด.2

6.น้ำส้มสายชู

อุปกรณ์ ->

1.ถังรดน้ำ

2.ท่อพีวีซี

กระบวนการ/ขั้นตอน->

หลักการของการประยุกต์สูตรทำปุ๋ยหมักนี้ ก็คือ ใช้ฟางข้าว 3 ส่วน และมูลสัตว์ 1 ส่วน โดยที่ฟางข้าวที่ใช้นั้น ต้องสับให้ละเอียด หรือทำให้เล็กลง หรือหากมีเครื่องย่อยได้ก็ยิ่งดี เพราะสามารถนำฟางข้าวเข้าเครื่องย่อย ให้ได้ฟางข้าวที่ละเอียดมากยิ่งขึ้น จะทำให้ฟางข้าวย่อยสลายได้ง่ายขึ้น เมื่อได้ฟางข้าวสับละเอียดแล้ว ให้นำไปผสมคลุกเคล้ากับมูลสัตว์ 1 ส่วนให้เข้ากัน จากนั้น กองส่วนผสมดังกล่าว ให้เป็นรูปสามเหลี่ยมสูง 1.5 เมตร ส่วนความยาวของกองปุ๋ยนั้นไม่กำจัด ขึ้นอยู่กับปริมาณวัสดุที่นำมาใช้ ตามสัดส่วนที่ได้บอกไปแล้ว สามารถกองไว้กลางแจ้งได้ จากนั้นรดน้ำให้ชุ่ม วิธีการดูแลปุ๋ยหมัก โดยทั่วไปแล้ว จะต้องกองวัสดุให้อากาศได้ถ่ายเทบ้าง แต่สำหรับวิธีนี้ เราไม่จำเป็นต้องกลับกองปุ๋ย โดยสามารถเติมอากาศเข้าไปในกองปุ๋ย ได้โดยการตรวจดูความชื้นของปุ๋ย ด้วยการล้วงมือเข้าไปในกองปุ๋ย หากพบว่าวัสดุด้านในกองปุ๋ยนั้นเริ่มแห้ง ให้แทงรูลงไปเพื่อเติมน้ำลงไปในกองปุ๋ยนั้น ห่างกัน 40 เซนติเมตร ทำทุก 7 วัน เพื่อเพิ่มความชื้นให้กับกองปุ๋ย และทุกวันจะต้องรดน้ำให้ชุ่มในตอนเช้า ทำแบบนี้ประมาณ 1 เดือน ก็จะได้ปุ๋ยหมักคุณภาพดีเอาไว้ใช้แล้ว การนำไปใช้ ก็เพียงแค่กรอกใส่กระสอบ แล้วนำไปใช้ได้ทันที หรือจะทำการเก็บรักษาไว้ใช้ต่อไปก็ได้เช่นกัน วิธีสังเกตว่า ปุ๋ยหมักจากฟางข้าวนี้ เป็นปุ๋ยหมักที่ดีมีคุณภาพหรือไม่ สังเกตได้จาก กองปุ๋ยนั้นยุบตัวลงเหลือ 1 เมตร สีของปุ๋ยหมักจะเป็นสีน้ำตาลเข้ม หรือดำ กลิ่นของปุ๋ยหมัก จะไม่มีกลิ่นฉุนของฟางข้าว เป็นกลิ่นธรรมชาติ ที่ไม่มีกลิ่นเหม็น เนื้อของปุ๋ยจะร่วนและยุ่ย หากใช้มือบี้ดู จะแตกออกจากกันได้ง่าย และมีเศษฟางข้าวเป็นชิ้นๆ ให้เห็น มีรากของต้นข้าว หรือต้นข้าวงอกขึ้นมาในกองปุ๋ยนั้น หากกองปุ๋ยนั้น ยังไม่แสดงอาการ หรือลักษณะดังที่กล่าวมา แสดงว่าปุ๋ยหมักยังย่อยสลายฟางข้าวไม่หมด อาจจะเกิดจากเหตุปัจจัยหลายๆ อย่าง จะต้องดูแล และทำตามวิธีดูแลปุ๋ยหมักจากฟางข้าวต่อไปอีกประมาณ 7-10 วัน ก็จะได้ปุ๋ยหมักที่คุณภาพดี โดยที่ไม่ต้องพลิกกองปุ๋ย เหมือนการหมักแบบอื่นๆ เลย

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดกาญจนบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา