ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทำน้ำหมักชีวภาพ

โดย : นายธีรวัฒน์ ทองดี วันที่ : 2017-03-21-22:31:37

ที่อยู่ : 66/2 หมู่ที่ 2 ตำบลหนองกร่าง อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ในชุมชนประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำไร่มันไร่อ้อย และไร่สับปะรด มีการใช้สารเคมี และ ปุ๋ยเคมี ซึ่งมีราคาสูง จึงทำให้มีต้นทุนในการผลิตมาก  เพื่อเป็นการลดต้นทุนในการผลิตและ ลดการใช้สารเคมี จึงทำน้ำปุ๋ยหมักชีวภาพขึ้น

วัตถุประสงค์ ->

1 ลดต้นทุนการผลิต

2.ลดการใช้สารเคมี

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.ปลาทะเล 

2.กากน้ำตาล

3.สัปปะรด

4.น้ำมะพร้าว

5. สารเร่ง พด.2

6.ลูกแป้ง

อุปกรณ์ ->

ถังพลาสติก 200 ลิตร

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. นำวัตถุดิบทั้งหมด มาสับให้เป็นชิ้นเล็กๆ ผสมกากน้ำตาลในถังหมักขนาด 200 ลิตร

                         2.นำสารเร่งซุปเปอร์ พด.2 และ จำนวน 4 ซอง ผสมน้ำ 40 ลิตร คนให้เข้ากัน 5 นาที c

                        3. เทสารละลายเร่งซุปเปอร์ พด.2 ในถัง คนส่วนผสมให้เข้ากันปิดฝาไม่ต้องสนิทและตั้งไว้ในที่ร่ม

                        4. ในระหว่างการหมัก คนหรือกวน 1-2 ครั้ง/วัน เพื่อระบายก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์และและทำให้สวนผสมคลุกเคล้าได้ดียิ่งขึ้น

                       5. ในระหว่างการหมักจะเห็นฝ้าขาวซึ่งเป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่ผิวหน้าของวัสดุหมัก ฟองก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์และกลิ่นแอลกอฮอล์

ข้อพึงระวัง ->

1. ในระหว่างการหมักห้ามปิดฝาภาชนะที่ใช้หมักโดยสนิทชนิดที่อากาศเข้าไม่ได้เพราะอาจเกิดการระเบิดได้ เนื่องจากในระหว่างการหมักจะเกิดก๊าซขึ้นมาจำนวนมากเช่นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซมีเทน ฯลฯ
                   2. ภาชนะที่ใช้หมักต้องไม่ใช้ภาชนะที่เป็นโลหะ เพราะปุ๋ยน้ำชีวภาพจะมีฤทธิ์เป็นกรด (Ph=3-4)ซึ่งจะกัดกร่อนโลหะให้ผุกร่อนได้ 
                   3. ในการใช้น้ำสกัดชีวภาพกับพืชบางชนิดเช่นกล้วยไม้ อาจมีผลทำให้ภาชนะที่ใช้ปลูกคือกาบมะพร้าวผุเร็วก่อนเวลาอันสมควรทำให้ต้องเสียเงินในการเปลื่ยนภาชนะปลูกใหม่
                   4. ในการใช้น้ำสกัดชีวภาพกับพืชนั้นในดินจะต้องมีอินทรียวัตถุอยู่ เช่น มีการใส่ปุ๋ยหมัก เศษพืชแห้งคลุมดินไว้จึงจะทำให้การใช้ประโยชน์จากน้ำชีวภาพได้ผลดี

                   5. ห้ามใช้เกินอัตราที่กำหนดไว้ในคำแนะนำเพราะอาจมีผลทำให้ใบไหม้ได้ เนื่องจากความเป็นกรดหรือความเค็มในน้ำสกัดชีวภาพ ดังนั้นจึงควรเริ่มทดลองใช้ในอัตราความเข้มข้นน้อย ๆก่อน
                   6. น้ำสกัดชีวภาพที่มีธาตุไนโตรเจนสูง ๆ ต้องระวังในการใช้เพราะหากใช้มากไปอาจทำให้พืชเฝือใบและไม่ออกดอกออกผลได้
                   7. ในแต่ละช่วงการเจริญเติบโตของพืช พืชมีความต้องการสารอาหารในระดับที่แตกต่างกัน น้ำสกัดชีวภาพที่ผลิตได้จะมีสารอาหารที่แตกต่างกันเช่นกัน ดังนั้นผู้ใช้จะต้องเป็นผู้ค้นคว้าทดลองเองและเก็บข้อมูลไว้ว่าในแต่ละช่วงการเจริญเติบโต พืชต้องการน้ำสกัดชีวภาพสูตรใด ความเข้มข้นเท่าใดและระยะเวลาในการฉีดพ่นเท่าใด ไม่มีใครให้คำตอบที่ดีและถูกต้องสำหรับสวนหรือไร่นาของท่านได้ ยกเว้นท่านจะทำทดลองใช้ สังเกตอาการของพืชหลังจากใช้และปรับใช้ให้ถูกต้องและเหมาะสมสำหรับพืชของท่านต่อไป

ข้อเสนอแนะ ปุ๋ยน้ำหมักสูตรนี้ใช้ลูกแป้งเป็นส่วนผสมเพื่อเป็นตัวเร่ง

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดกาญจนบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา