ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเพาะเลี้ยงปูม้า (ธนาคารไข่ปู)

โดย : นางสาว จันจิรา ทักเสนาะ วันที่ : 2017-02-03-15:42:58

ที่อยู่ : 10/5 ม.10 ต.ช้างข้าม อ.นายายอาม จ.จันทบุรี

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

หมู่ที่10 บ้านเขาดันเป็นหมู่บ้านที่มีพื้นที่ติดชายทะเลทั้งหมด และส่วนใหญ่คนในชุมชนประกอบอาชีพประมงทั้งหมด เราจึงให้ผญ.เรียกประชุม ชาวบ้านทั้งหมดหาวิธีที่จะทำอย่างไรให้หมู่บ้านของเรามีปูจับตลอดไป และมีชาวบ้านคนหนึ่งออกความเห็นว่าให้หน่วยราชการมาช่วย และก็ได้พาตัวแทนของหมูบ้านไปศึกษาดูงานที่ จ.ประจวบ จ.ชุมพร จ.สุราษธานี และนำความรู้ที่ได้มาใช้ในบ้าน

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อให้ชาวบ้านมีรายได้ที่ยั่งยืนไม้ต้องออกไปทำงานที่อื่น ครอบครัวจะได้อยู่พร้อมหน้าพร้อมตา และจะได้มีปูเพิ่มมากขั้นในชุมชนของเรา ไม่ต้องออก ไปจับปูไกลจากฝั่ง ประหยัดเวลา และน้ำมัน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

-          ปู

-          น้ำเค็ม

-          ตัววัดความดันของน้ำที่จะเอามาให้แม่ปูเขี่ยไข่

อุปกรณ์ ->

อ๊อกไฟฟ้า – กระป๋อง

กระบวนการ/ขั้นตอน->

เราต้องเตรียมน้ำที่สำหรับที่ใช้ให้แม่ปูเขี่ยไข่ วัดความเค็ม เมื่อวัดเรียบร้อยแล้วก็เอาหัวทรายออกซิเจนมาใส่ในน้ำเตรียมให้พร้อม แล้วก็ไปขอรับบริจาคกับเราหลายตัวก็ได้ นำแม่ปูที่ได้มาเข้าธนาคาร ที่เราเตรียมน้ำไว้ ใสแม่ปูในกระป๋อง ทิ้งไว้ประมาณ 3-4 คืน แม่ปูจะเขี่ยไข่ออกทั้งหมด แม่ปูที่นำมาเข้าธนาคารต้องเป็นแม่ปูที่มีไข่ดำ เพราะจะใช้เวลาฟักไม่กี่วัน ถ้าไข่เหลืองจะใช้เวลาเป็นอาทิตย์ พอแม่ปูเขี่ยไข่ออกหมดแล้ว เราก็นำไปขาย เพื่อเอาเงินมาซื้อกาแฟและขนมปังให้ชาวบ้านกินตอนเช้าที่ออกหาปู และนั่งปรึกษาทำมาหากิน ทำให้เกิดความสามัคคี และหมู่บ้านเราก็เข้าประกวดหมู่บ้าน อพป. ระดับประเทศ จากทั้งหมด 6 จังหวัด หมู่บ้านเราได้ที่ 3 ของจังหวัดจันทบุรี ได้รับรางวัลเป็นเงิน 150000 บาท ที่หมู่บ้านเราได้เพราะความสามัคคีของคนในชุมชน

ข้อพึงระวัง ->

ต้องระวังระดับความเค็มที่กำหนด ถ้าไม่ได้ที่กำหนด ไข่ที่เราปล่อยก็จะไม่ฟักตัวทำให้เกิดความเสียหายและเวลา

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนศูนย์ศีกษาและพัฒนาชุมชนชลบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา