ความรู้สัมมาชีพชุมชน

ตัดเย็บเสื้อผ้า

โดย : นางนิภา พันธุ์สะอาด วันที่ : 2017-03-05-18:59:24

ที่อยู่ : 31 หมู่ 4 ตำบลธาตุทอง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เมื่อเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นก็ไม่ได้เรียนต่อจึงไปเรียนการตัดเย็บเสื้อผ้า ที่”โรงเรียนสอนตัดเย็บเสื้อผ้าพรศรี”  หลักสูตร 1 ปี  พ.ศ.2536 เมื่อเรียนจบหลักสูตรก็ออกมาเปิดร้านตัดเย็บเสื้อผ้า ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมากว่า 24 ปี ก็อาศัยปรับเปลี่ยนเทคนิคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแบบเสื้อผ้า ให้เป็นไปตามยุคสมัยซึงสิ่งที่ขาดไม่ได้เลย คือ หนังสือแบบเสื้อผ้า จะต้องจัดเตรียมไว้ให้ลูกค้าเลือกแบบ ซึ่งจะต้องจัดหาจัดซื้อทุกเดือน เดือนละหลายฉบับ เป็นต้น  โดยต้องคำนึงถึงความเหมาะสมและเป็นไปได้ของราคาชุดหรือแบบที่ตัดเย็บโดยไม่เอาเปรียบลูกค้า ตรงต่อเวลา เป็นต้น

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

วัสดุ/อุปกรณ์ ที่ใช้

- จักรเย็บผ้า             

- จักรโพ้ง

-  แพทเทิร์น

-  ผ้า,เข้ม,ด้าย

กระบวนการ/ขั้นตอน->

.หลังจากออกแบบเสื้อผ้าได้ตามต้องการแล้วก็มาถึงกระบวนการตัดเย็บ เพื่อให้ได้ผลงานที่บรรลุตามความคาดหวังหรือเป้าหมายที่วางไว้โดยการวิเคราะห์แบบที่ต้องการ งบประมาณเรื่องเงินที่ต้องใช้จ่าย การวางแผนการ เตรียมการ และการเย็บ ว่าจะใช้เวลาใด เมื่อไร และนานเท่าไร ในการปฏิบัติการควรประเมินผลการทำงาน

                   .กระบวนการขั้นตอนการทำ

1.      ขั้นตอนการวัดตัว เป็นการวัดขนาดเพื่อตรวจสอบ ความกว้าง ความยาว ความหนาของสัดส่วน ซึ่งการวัดตัวนี้สำคัญมาก เพราะจะส่งผลถึงลักษณะผลสำเร็จของชิ้นงาน สวมใส่ได้สวยงามเหมาะสมหรือไม่ หรือดึงรั้งจนไม่สามารถสวมใส่ได้

2.      ขั้นตอนการสร้างแบบและแยกแบบ ทำได้โดยการนำสัดส่วนที่ได้วัดขนาดไว้หรือการออกแบบมาสร้างแบบตัดหรือแพ็ทเทิร์น ลงกระดาษสร้างแบบตามกระบวนการของงานสร้างแบบเสื้อผ้าแต่ละชนิด เช่นสร้างแบบเสื้อ แบบกระโปรง แบบกางเกง เป็นต้น

( เมื่อสร้างแบบเสร็จแล้ว ควรทำเครื่องหมายป้องกันความผิดพลาด และควรตรวจสอบขนาดให้ละเอียดถี่ถ้วน โดยทำเครื่องหมายต่างๆลงบนแบบตัดและเขียนรายละเอียดต่างๆให้ชัดเจน )

3.      ขั้นตอนการคำนวณผ้า เลือกผ้า การตัดเย็บเสื้อผ้านั้นเราควรคำนวณผ้าให้ถูกต้องเพื่อความประหยัดและเลือกผ้าให้เหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอย โดยคำนึงถึงคุณสมบัติของผ้า ซึ่งผลิตจากเส้นใยแต่ละชนิด เช่น ผ้าฝ้าย สามารถซับน้ำได้ดี ทนต่อความร้อนสูง แต่ยับง่าย เป็นต้น

4.      ขั้นการจัดเตรียมผ้า เป็นการเตรียมวัสดุที่เกี่ยวข้องกับการเย็บทุกชนิด เช่น เข็ม จักรเย็บผ้า ด้าย กรรไกร ผ้า บริเวณปฏิบัติงาน และแสงสว่างในการตัดเย็บ

5.      ขั้นตอนการวางแบบตัด และตัดผ้า ในขั้นตอนนี้ควรระมัดระวัง โดยละเอียด การทำเครื่องหมายต่างๆที่เขียนไว้ และกดรอยผ้าเส้นเย็บทุกเส้นเพื่อเป็นเครื่องหมายหรือเป็นเส้นแนวในการเย็บ

6.      ขั้นตอนการตรวจสอบคุณภาพของชิ้นงาน ซึ่งในการตัดเย็บเสื้อผ้าที่สวยงาม ไม่ผิดพลาดควรตรวจสอบทั้งขณะทำการเย็บ เช่น เนาลองตัว ตรวจสอบการประกอบการเย็บทุกขั้นตอน ตรวจสอบความเรียบร้อยของตะเข็บ เป็นต้น

7.      ขั้นตอนการไขจุดบกพร่อง ในการตัดเย็บผ้าทุกชนิด เมื่อพบข้อบกพร่องไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ ควรดำเนินการแก้ไขเพื่อให้ได้ผลงานที่สวยงามและมีคุณภาพ

ข้อพึงระวัง ->

-  เทคนิคที่ทำเกิดความสำเร็จในการทำงาน   คือ มีความตรงต่อเวลาเมื่อนัดรับสินค้าและมีราคาที่เหมาะสมกับชิ้นงาน ชิ้นงานมีคุณภาพ สวยงาม

 - ข้อสังเกตที่พบระหว่างปฏิบัติตามขั้นตอน   คือ ผ้ามีตำหนิ แนวเส้นด้าย ควรตรวจดูก่อนการตัดชิ้นผ้าทุกครั้ง

 - ข้อควรระวังเพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดเสียหาย    คือ ระมัดระวังเครื่องหมายต่างๆ   บนแบบแพ็ทเทริ์น ก่อนการตัดผ้าทุกครั้ง

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนศูนย์ศีกษาและพัฒนาชุมชนชลบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา