ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การเลี้ยงปลานิลในกระชังในบ่อดิน

โดย : นายทองอยู่ ไหวพริบ วันที่ : 2017-03-21-09:22:35

ที่อยู่ : 20/1 หมู่ที่ 3 ตำบลธารปราสาท อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เนื่องจากพื้นที่มีความเหมาะสมและเพื่อลดพื้นที่ในการทำนา นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างอาชีพ  ใหม่ ๆ ให้กับชุมชน ตลอดจนเป็นอาหาร และสร้างรายได้ให้กับครัวเรือนและชุมชนอย่างยั่งยืน

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ในการเลี้ยงปลานิลในกระชังในบ่อดิน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

-        พันธุ์ปลานิลขนาดประมาณ 10 ตัวต่อกิโลกรัม หรือ ขนาด 3-4 เซนติเมตร

-        อาหารปลา

-        รำสกัด

-        ปูนขาว

-        ปุ๋ยคอกแห้งสนิท

อุปกรณ์ ->

-        เครื่องตีน้ำเพื่อเพิ่มออกซิเจน

-        เครื่องยนต์สำหรับปั่นน้ำ

-        กระชัง

-        มุ้งเขียวกรองน้ำ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

          การเตรียมบ่อและกระชัง

-        เลือกทำเลสำหรับขุดบ่อ โดยต้องเป็นที่ที่น้ำถ่ายเทได้สะดวก

-        ขุดบ่อตามขนาดที่ต้องการ

 

 

-        หว่านปูนขาวลงไป 50-100 กิโลกรัมต่อไร่เพื่อฆ่าเชื้อและปรับสภาพบ่อ จากนั้นตากบ่อทิ้งไว้ประมาณ 1-2 สัปดาห์

-        หว่านปุ๋ยคอกที่แห้งสนิท 100 กิโลกรัมต่อไร่เพื่อปรับสภาพน้ำให้น้ำมีสีเขียว

-        สูบน้ำเข้าบ่อโดยต้องกรองน้ำด้วยมุ้งเขียวกรองน้ำ เพื่อไม่ให้มีสิ่งเจือปนมากับน้ำ

-        ติดตั้งเครื่องตีน้ำเพื่อปรับอากาศในน้ำ อีกประมาณ 1 สัปดาห์

-        วางกระชังตามความเหมาะสม จำนวน 4 กระชังต่อไร่ ให้สูงจากพื้นดินประมาณ 50-60 เซนติเมตร (ขนาดของกระชัง 7x15 เมตร ลึก 2 เมตร)

การเลี้ยง

-        ระยะที่ 1 การอนุบาลลูกปลานิล ปล่อยลูกปลา ขนาด 3-4 เซนติเมตร ในอัตรา 5000-

10000 ตัวต่อไร่ ใช้ระยะเวลา ประมาณ 3-4 เดือนจนลูกปลามีขนาด ประมาณ 10-15 ตัวต่อกิโลกรัม อาหาร ลูกปลาอายุ 1-3 เดือน ให้รำสกัดวันละ 2 มื้อ เมื่ออายุ 3 เดือน เริ่มให้อาหารเม็ด โดยต้องห่อไว้ในตาข่าย แล้วนำจุ่มไว้รอบ ๆ บ่อเป็นจุด ๆ

-        ระยะที่ 2 นำปลาที่อนุบาลแล้วขนาด ประมาณ 10-15 ตัวต่อกิโลกรัม ในอัตรา 1,000 –

1,200 ตัวต่อไร่ ให้อาหารวันละ 1-2 ครั้ง

-        ใช้เวลาในการเลี้ยง ประมาณ 3 เดือน จะได้ปลานิลขนาด 800-1,000 กรัมต่อตัว

ข้อพึงระวัง ->

-        ต้องคอยดูน้ำ ถ้าเสียให้เปลี่ยนน้ำ

-        ต้องคอยดูอาการของปลาว่าผิดปกติหรือไม่ เช่น การกินอาหาร โดยเฉพาะในช่วงเดือนที่ 3 ปลาจะมีอาการน๊อคน้ำ ซึ่งหากมีปลาน๊อคน้ำก็สามารถนำมารับประทานได้

-        ปลานิลกินอาหารช้า จึงควรให้น้อย ๆ แต่บ่อย ๆ และควรให้เวลากลางวัน

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนศูนย์ศีกษาและพัฒนาชุมชนสระบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา