ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การปลูกผักไฮโดรโพนิกส์

โดย : นายไพรัตน์ ปาตาสะ วันที่ : 2017-03-21-09:46:11

ที่อยู่ : 61 หมู่ที่ 12 ตำบลเขาค้อ อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เนื่องจากในปัจจุบัน คนนิยมบริโภคพืชผักปลอดภัยกันมากขึ้น และผักไฮโดรโพนิกส์ก็เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย คนนิยมกันมากในรูปของผักสลัดและผักกินสด ๆ เนื่องจากมีความปลอดภัยและสามารถทำได้ทั่วไป แต่จะได้ผลดีหากปลูกในที่ๆมีอากาศหนาวเย็น เพราะจะได้ผักที่มีคุณภาพดี ลักษณะสวย เป็นที่ต้องการของตลาด

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ในการไฮโดรโพนิกส์ ซึ่งเป็นพืชผักปลอดภัย ไม่มีสารพิษตกค้าง มีคุณค่าทางโภชนาการสูง

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

-        เมล็ดพันธุ์                                           1  ห่อ

-        ปุ๋ยสำหรับผักไฮโดรโพนิกส์

-        กรดน้ำ

-        น้ำยาวัดค่ากรด

อุปกรณ์ ->

-        รางปลูก                                        18  ท่อน

-        เหล็กกล่อง ขนาด 1x1 นิ้ว ยาว 2 เมตร       13  เส้น

-        ท่อ PVC ขนาด 2 นิ้ว                                        1  ท่อน

-        ท่อ PVC ขนาด ¼ นิ้ว                             4  ท่อน

-        ปั้มน้ำ                                                1  ตัว

-        ถังพลาสติก ขนาด 200 ลิตร                     1  ใบ

-        ถังน้ำ ขนาด 100 ลิตร                            1  ใบ

-        สายไฟและอุปกรณ์ต่อปลั๊ก                        1  ชุด

-        ผ้าใบป้องกันแสง UV ยาว 13 เมตร

-        ฟองน้ำเพาะเมล็ด                                  7  แผ่น

-        เครื่องวัดค่า           HP (ปุ๋ย)

-        เสาไม้ไผ่สำหรับทำหลังคา ยาว 35 เมตร       8  ต้น

-        ตะกร้าเพาะเมล็ด

-        โฟม 3A ¾ นิ้ว

-        ลวด

-         โต๊ะอนุบาลเบี้ย

กระบวนการ/ขั้นตอน->

-        นำเหล็กกล่องที่ตัดไว้ท่อนแรกมาวางให้สูงจากพื้นดินประมาณ 35-40 เซนติเมตร ท่อนที่สองวางอีกด้านให้ห่างจากท่อนแรก 12 เมตร โดยยึดหัวท้ายด้วยเสาไม้ไผ่ที่เตรียมไว้ให้แน่นๆ ขึงลวดระหว่างเหล็กทั้ง 2 ท่อน ให้ตึง จากนั้นนำเหล็กกล่องที่เหลือมาวางให้ห่างกัน 1 เมตร และใช้ไม้ไผ่ยึดเป็นระยะๆให้แน่นหนา

-        นำรางปลูกมาวางต่อกันให้ได้ 9 แถว โดยวางห่างกันประมาณ 20-25 เซนติเมตร มัดด้วยลวดให้แน่น

-        เพาะเมล็ดพันธุ์ บนฟองน้ำที่เตรียมไว้ 2 วัน จากนั้น นำมาลอยที่โต๊ะอนุบาล 15 วัน จากนั้นแยกเบี้ยลงบนแผ่นโฟมแยกเบี้ย โดยเจาะช่องที่โฟมให้มีความห่าง ประมาณ 10 เซนติเมตร

-        หลังจากนั้น 15 วัน นำเบี้ยที่ได้ไปปลูกบนรางปลูกที่เตรียมไว้ หลังจากนั้นอีก 15-20 วัน ก็สามารถเก็บผลผลิตได้

-        การให้ปุ๋ยทางน้ำ ควรเติมปุ๋ยในช่วงเย็น เพราะถ้าเติมตอนกลางวันหรือเช้า อุณหภูมิของอาการและน้ำจะร้อนอาจทำให้เกิดรากเน่าจนพืชตายได้ และควรวัดค่า HP ของน้ำทุกวันในช่วงเย็นก่อนเติมปุ๋ย

ข้อพึงระวัง ->

-        ควรเติมปุ๋ยในช่วงเย็น เพราะถ้าเติมตอนกลางวันหรือเช้า อุณหภูมิของอาการและน้ำจะร้อนอาจทำให้เกิดรากเน่าจนพืชตายได้

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนศูนย์ศีกษาและพัฒนาชุมชนสระบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา