ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การทำปุ๋ยหมักโบกาฉิ

โดย : นายสุทัด สมอินทร์ วันที่ : 2017-03-20-16:24:12

ที่อยู่ : 220 หมู่ที่ 6 ตำบลนิคม อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เนื่องจากได้ไปอบรมเกี่ยวกับการการทำปุ๋ยหมักโบกาฉิ  และในตำบลมีชาวบ้านประกอบอาชีพเลี้ยงโคนมเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ในชุมชนยังมีโรงสีข้าวหลายโรง จึงมีวัตถุดิบที่พร้อมสำหรับการนำมาปุ๋ยหมัก ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่หาง่ายและราคาถูก

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ในการปุ๋ยหมักโบกาฉิ ให้ชาวบ้านนำไปใช้บำรุงพืชเพื่อลดต้นทุนการผลิต ลดการใช้ปุ๋ยเคมี ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

-        รำละเอียด                                 1  กระสอบ

-        แกลบดิบ                                  1  กระสอบ

-        มูลวัว                                       1  กระสอบ

-        กากน้ำตาล                                20  CC หรือ 2 ช้อนโต๊ะ

-        จุลินทรีย์ EM                              20  CC หรือ 2 ช้อนโต๊ะ

-        น้ำสะอาด                                 10 ลิตร หรือ 1 ถึง

อุปกรณ์ ->

-        พลั่ว

-        บัวลดน้ำ

-        ถังใส่น้ำ

-        ถุงปุ๋ย

กระบวนการ/ขั้นตอน->

-        ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมจุลินทรีย์ EM โดยการนำ EM และกากน้ำตาลเทลงในถังน้ำแล้วคนให้เข้ากัน

-        ขั้นตอนที่ 2 นำรำละเอียด แกลบดิบ และมูลวัว มาเทรวมกันแล้วผสมให้เข้ากัน

-        ขั้นตอนที่ 3 นำจุลินทรีย์ EM ที่เตรียมไว้ในขั้นตอนที่ 1 ใส่ในบัวรดน้ำ นำมารดลงในส่วนผสมขั้นตอนที่ 2 ผสมให้เข้ากัน ให้มีความชื้นประมาณ 40-50 % โดยใช้มือกำดูให้เป็นก้อนจับตัวกันได้ และอย่าให้มีน้ำไหลออกมาตามง่ามนิ้วมือ ก็ใช้ได้

-        ขั้นตอนที่ 4 ตักปุ๋ยที่ผสมเสร็จเรียบร้อยแล้ว ใส่ถุงปุ๋ยวางไว้ในที่ร่ม ควรใช้ฟางหรือใบไม้รองบนพื้นก่อนวางถุงปุ๋ยเพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก

-        ขั้นตอนที่ 5 พลิกกลับกองปุ๋ย วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น  ประมาณ วันที่ 3-4 อุณหภูมิในถุงปุ๋ยจะสูงถึง 50-60 องศา หลังจากนั้นประมาณวันที่ 7-8 อุณหภูมิจะลดลงจึงจะสามารถนำปุ๋ยมาใช้ได้

วิธีการนำปุ๋ยมาใช้

-        ในนาข้าว  ใช้ปุ๋ย 1 กำมือ ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร

-        ในพืชไร่  ใช้ปุ๋ย 1 กำมือ ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร

-        ในไม้ยืนต้น  ใช้ปุ๋ย 1-2 บุ้งกี๋ ต่อ 1 ต้น โดยการโรยรอบ ๆ โคนต้น และในบริเวณใต้ร่มไม้

-        ในไม้ดอกหรือพืชผัก  โรยบริเวณโคนต้น 1 ช้อนชา ต่อ ต้น

ข้อพึงระวัง ->

-        ต้องกลับปุ๋ยทุกวัน วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น

-        เก็บปุ๋ยไว้ในที่ร่มไม่ให้โดนแดด โดนฝน ถ้าปุ๋ยแห้งมากให้ฉีดพ่นจุลินทรีย์ หรือปุ๋ยน้ำก่อนนำไปใช้  ปุ๋ยที่ทำแล้ว สามารถเก็บไว้ใช้ได้นาน 1 ปี

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนศูนย์ศีกษาและพัฒนาชุมชนสระบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา