ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การลดต้นทุนในการผลิตและเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร

โดย : นางเตือนใจ ใบไพศาล วันที่ : 2017-01-27-10:37:39

ที่อยู่ : ๑ หมู่ ๔ ต.ชุมตาบง (บ้านชุมม่วง) อ.ชุมตาบง จ.นครสวรรค์ ๐๘๑-๙๗๓๕๑๘๗,๐๘๑-๙๗๒๖๕๒๙

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ความรัก ความเทิดทูน ความศรัทธา ในองค์พระบาทสมเด็จพระปรมิทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และพระราชกรณียกิจของพระองค์ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการดำเนินชีวิต หรือในเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียงทจากเดิมที่เคยเป็นข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและติดตัวมาจนถึงปัจจุบัน

วัตถุประสงค์ ->

อยากให้เกษตรกรไทยเข้มแข็งพึ่งตนเองได้ รู้จักนำเศษวัสดุธรรมชาติที่เหลือใช้นำมาใช้เกิดประโยชน์  รักษาสิ่งแวดล้อม ไม่ทำลายธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  มีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้บริโภค

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

หน่อกล้วย  ต้นกล้วย หัวปลี  ไส้กล้วย (แถบกล้วยข้างใน) เศษใบไม้ ใบหญ้า,ฟางข้าว,แกลบดิน,แกลบดำ  ขี้วัว,ขี้หมู, อุจจาระ,ปัสสาวะ(คน) เปลือกไข่(จากที่ทำจากขนมเค๊ก),กากน้ำตาล,เศษอาหารในครัวเรือน,เชื้อบิวเวอร์เรีย,เชื้อไตรโคเดอร์มาร์, เชื้อบีที (อันนี้ต้องนำมาขยายโดยมีกากน้ำตาลเป็นอาหาร,แป้งข้าวโพด,เป็นอาหารเชื้อ)

อุปกรณ์ ->

 -          ถังหมักขนาด ๒๐ ลิตร  ๕๐ ลิตร, ๕๐ ลิตร, ๑๐๐ ลิตร, ๒๐๐ ลิตร

-          เครื่องทำออกซิเจนในตู้ปลา (ใช้เฉพาะขยายเชื้อ BT > กำจัดหนอน)

-          หม้อเบอร์ ๔๐

-          เตาแก๊ส และ แก๊ส

-          จอบ  พลั่ว

กระบวนการ/ขั้นตอน->

๑. การทำจุลินทรีย์หน่อกล้วย ต้องคัดเลือกหน่อกล้วยที่สมบูรณ์ สูงประมาณ ๑ เมตร นำทั้งต้นพร้อมดินติดรากมาหั่น หรือสับละเอียด ๓ กก. ผสมกับกากน้ำตาล ๑ กก. หมักไว้ ๗ วัน และต้องคนทุกวัน คั้นเอาแต่น้ำมาใช้ เป็นหัวเชื้อจุลินทรีย์หน่อกล้วย เก็บไว้ใช้

                    Rนำหัวเชื้อจุลินทรีย์ มาขยายโดยใช้น้ำ ๕๐ –๑๐๐ ลิตร ผสมกับ กากน้ำตาล ๒๐ กก. และไคโตซาน(ที่ทำมาจากการดองกุ้ง) ๒๕๐ ซีซี  ลูกแป้งหมากบดละเอียด ๑ ลูก  ยาคูลล์ ๑ ขวด  หัวเชื้อจุลินทรีย์ ๑ ลิตร  (หมักไว้ในถัง ๒๐๐ ลิตร) ปิดฝาทิ้งไว้ ๓-๔ วัน 

                    R คุณสมบัติ  ใช้เป็นปุ๋ยน้ำทางใบ ๒๐ ซีซี /น้ำ ๒๐ ลิตร ,  ๔๐ ซีซี/น้ำ ๒๐ ลิตร รดราดไปบนดิน ใช้ย่อยสลาย  ดับกลิ่น  ปรับสภาพน้ำ  ใช้รดราดปุ๋ยหมักแห้ง

          ๒. การขยายเชื้อไตรโคเดอร์มาร์

                   R วิธีการ นำน้า ๒๐๐ ลิตรใส่ถึงขนาด ๒๐๐ ลิตร ใส่ส่วนผสมกากน้ำตาล ๑๐ กก. โรยเชื้อ ไตรโคเดอร์มาร์ ๒๐๐ กรัม ( ๒ ขีด หรือประมาณ ๒๐ ช้อนโต๊ะ) หมัก ๔๘ ชั่วโมง นำไปใช้ได้

                   R คุณสมบัติ ใช้กำจัดโรคราต่างๆ  เช่น โรคราน้ำค้าง ราสนิม รากเน่า โคนเน่า เผาตอซัง ใบไหม้ ขอบใบแห้ง

                   ขนาดวิธีใช้  เชื้อ ๑ ลิตร /น้ำ ๒๐๐ ลิตร ฉีดพ่นทางใบ สามารถปล่อยไปกับน้ำได้

                   คุณสมบัติพิเศษ ใช้ในการลดต้นทุน ใช้ร่วมกับจุลินทรีย์หน่อกล้วย (ขยาย) (เรียกจุลินทรีย์หน่อกล้วยขยาย ๔ สหาย  > นำมาย่อยสลายมาหมักฟางในนาข้าวจะย่อยสลายฟางและข้าวดีดที่เป็นปัญหาของชาวนา และย่อยสลายเม็ดหญ้า  สร้างปุ๋ยหมักในแปลงนา  กำจัดราในดิน  ปรับปรุงบำรุงดิน

          ๔. การขยายเชื้อ บิวเวอร์เรีย

                   วิธีการ ใช้น้ำ ๙ลิตร ต้มในหม้อเบอร์ ๔๐ ให้เดือด  จากนั้นนำ แป้งข้าวโพด ครึ่ง กก. ในน้ำ ๑ ลิตร ค่อยๆเทแป้งลงในหม้อเดือดประมาณ ๕ นาที ยกลงทิ้งไว้ให้อุณหภูมิ เหลือประมาณ ๓๐ °C หรือทดสอบโดยใช้มือจุ่มได้  จากนั้นโรยหัวเชื้อบิวเวอร์เรีย ๒๐ กรัม (๑ ช้อนโต๊ะ) ในถัง ๒๐ ลิตร ปิดฝาทิ้งไว้ ๑๔ วัน ไม่ต้องคน ครบ ๑๔ วันก็นำมาใช้ได้

                   คุณสมบัติ ป้องกันแมลง เพลี้ยต่างๆ โดยเฉพาะเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ในอัตรา ๑ ลิตร/น้ำ ๔ ลิตร

          ๕. การทำฮอร์โมนไข่

                   วิธีการ นำไข่ไก่ ๕ กก. ผสมกับ กากน้ำตาล ๕ กก. ลูกแป้งข้าวหมาก ๑ ลูก ยาคูลท์ ๑ ขวด  หมักใส่ภาชนะ ขนาด ๒๐-๕๐ ลิตร หมัก ๑๔ วัน  นำมาใช้เป็นฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโต ของพืชทุกชนิด

                   ขนาดวิธีใช้ ๒๐ ซีซี/น้ำ ๒๐ ลิตร ฉีดพ่นทางใบได้ทุกพืช  หรือใช้ ฮอร์โมน ๔๐ ซีซี/น้ำ ๒๐ ลิตร รดราดบนดิน

          ๖. ฮอร์โมนหัวปลี (ฮอร์โมนลูกดกข้าวดี)

                   วิธีการ  นำหัวปลี (หัวใหญ่ๆสมบูรณ์) มาหั่นโดยผ่า ๒ และ ๔ ส่วนหั่นละเอียด ๓ กก. ผสมน้ำ ๓ ลิตร  กากน้ำตาล ๑ กก. หมักใส่ถัง คนทุกวันเป็นเวลา ๗ วัน  คั้นน้ำเก็บไว้ใช้ อัตราส่วน ๒๐ ซีซี/น้ำ ๒๐ ลิตร ฉีดพ่นทางใบ

คุณสมบัติ ช่วยในการเจริญเติบโต ช่วยในการผสมเกสรพืชให้ติดดี ขั้วเหนียว ไม่หล่นร่วงง่าย

          ๗. ฮอร์โมนข้าวโพล่ง (ฮอร์โมนไส้กล้วย)

                   วิธีการ นำไส้กล้วย (แกนในกล้วย) มาหั่นเป็นแว่นๆ ๓ กก. ผสมกากน้ำตาล ๑ กก. หมักในภาชนะ ตามสมควร ๗ วัน คนทุกวัน คั้นเอาแต่น้ำมาใช้อัตราส่วน ๒๐ ซีซี/น้ำ ๒๐ ลิตร ฉีดพ่นข้าวในระยะก่อนโพล่ง หรือพืชผลที่ต้องการความยาว เช่นถั่วฝักยาว  มะเขือยาว  บวบ พืชผลดี

ข้อพึงระวัง ->

ในดีมีเสีย-ในเสียมีดี เกิดมาตั้งอยู่ –ดับไป ทุกสูตรห้ามใช้เกินขนาด  อาจเป็นผลเสีย อย่าเห็นว่าต้นทุนถูกแล้วใช้เยอะ ต้องมีความเชื่อมั่น และศรัทธาจึงจะเกิดผลสำเร็จ

รูปประกอบ -> image1 image2

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนศูนย์ศีกษาและพัฒนาชุมชนนครนายก
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา