ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การเลี้ยงปูดำในน่ากุ้งร้าง

โดย : นายนรินทร์ ศรีเพ็ชร์ วันที่ : 2017-02-17-15:36:29

ที่อยู่ : 99 ม.10 ต.ขนาบนาก อ.ปากพนัง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ปูดำ เป็นสัตว์เศรษฐกิจอีกประเภทหนึ่งที่เกษตรกรนิยมเลี้ยงอยู่ในขณะนี้ ด้วยราคาที่สูง ไม่ต่ำกว่า กิโลกรัมละ 300 บาท หากขึ้นภัตตาคารแล้วจะมีราคาที่สูงกว่านี้มาก รวมทั้งยังเพาะเลี้ยงได้ง่าย ไม่ ต้องดูแลมากเป็นพิเศษเหมือนสัตว์น้ำชนิดอื่นนอกจาก ปูดำ เป็นสัตว์เศรษฐกิจที่มีราคาแพงแล้ว ปูดำยังสามารถจำหน่ายแยกได้ทั้งปูเนื้อ ปูไข่ โดยเฉพาะปูไข่นั้นมีราคาที่สูงกว่าปูเนื้อมาก ปัจจุบัน ยังมีไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด ปูดำจึงเป็นสัตว์น้ำที่ดึงดูดให้เกษตรกรหลายรายตัดสินใจเพาะเลี้ยงเป็นอาชีพเสริม  จากการประสบปัญหากุ้งติดโรค ควบคุมอัตราการตายของกุ้งยากขึ้น  จึงได้หันมาหาอาชีพเสริมชนิดอื่นที่สามารถทำได้ในบ่อที่เคยใช้เลี้ยงกุ้งมาก่อน ผนวกกับช่วงนั้นบ่อว่างจึงมองหาสัตว์ จากความรู้ที่มีเมื่อครั้งยังเลี้ยงกุ้งอยู่ รวมถึงบ่อเลี้ยงที่ยังคงว่าง จึงเลือกเลี้ยงปูดำ เนื่องจากลูกพันธุ์ปูดำมีอยู่มากในท้องถิ่น

วัตถุประสงค์ ->

  1. เลี้ยงเพื่อเป็นรายได้เสริมอละลดต้นทุนในการผลิต

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

  • ปูดำที่สมบูรณ์(ปูที่แน่นและหนัก)มีขนาด  15  ตัว / กิโลกรัม  (สามารถรับซื้อมาจากชาวประมงที่จับปูมาเพาะเลี้ยง)

อุปกรณ์ ->

  • สถานที่เลี้ยงต้องเป็นบริเวณน้ำกร่อยหรือบริเวณปากแม่น้ำที่รอการไหลออกสู่ทะเล
  • บ่อที่ใช้ในการเลี้ยงสามารถนำบ่อเลี้ยงกุ้งหรือปลากะพงขาวมาปรับใช้เลี้ยงปูได้  ขนาดบ่อ  8*15  เมตร
  • ตะกร้าดำ  ขนาด  5*7  นิ้ว  เพื่อที่อยู่อาศัยของปู  โดย 1 ตัว / ตะกร้า  ใช้ตะกร้า  2  ใบ  ปะกบให้เชือกผูกให้แน่นลักษณะคล้ายกรง
  • ทำแพเพื่อการเลี้ยงปู  โดยใช้ท่อพีวีซี (ท่อแป๊บ)  นำมาทำเป็นแพโดยมีขนาดความกว้างระหว่างแป๊บแต่ละเส้นเท่ากับขนาดของตะกร้าดำ  เพื่อให้ตะกร้าสามารถขวางไว้ระหว่างแป๊บหรือแพแป๊บได้  โดยตะกร้าลูกล่างที่เป็นที่อยู่อาศัยของปูแช่อยู่ในน้ำ  และตะกร้าอีกใบประกบอยู่เหนือน้ำ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การเตรียมบ่อ/วัสดุ - อุปกรณ์

  • สถานที่เลี้ยงต้องเป็นบริเวณน้ำกร่อยหรือบริเวณปากแม่น้ำที่รอการไหลออกสู่ทะเล
  • บ่อที่ใช้ในการเลี้ยงสามารถนำบ่อเลี้ยงกุ้งหรือปลากะพงขาวมาปรับใช้เลี้ยงปูได้  ขนาดบ่อ  8*15  เมตร
  • ตะกร้าดำ  ขนาด  5*7  นิ้ว  เพื่อที่อยู่อาศัยของปู  โดย 1 ตัว / ตะกร้า  ใช้ตะกร้า  2  ใบ  ปะกบให้เชือกผูกให้แน่นลักษณะคล้ายกรง
  • ทำแพเพื่อการเลี้ยงปู  โดยใช้ท่อพีวีซี (ท่อแป๊บ)  นำมาทำเป็นแพโดยมีขนาดความกว้างระหว่างแป๊บแต่ละเส้นเท่ากับขนาดของตะกร้าดำ  เพื่อให้ตะกร้าสามารถขวางไว้ระหว่างแป๊บหรือแพแป๊บได้  โดยตะกร้าลูกล่างที่เป็นที่อยู่อาศัยของปูแช่อยู่ในน้ำ  และตะกร้าอีกใบประกบอยู่เหนือน้ำ
  • การถ่ายน้ำ  สังเกตสภาพน้ำและสังเกตน้ำนอกบ่อคือน้ำธรรมชาติจากปากแม่น้ำ  หากมีปรัมาณสูงกว่าน้ำในบ่อก็สามารถเปิดประตูน้ำภายนอกไหลเข้าและปล่อยน้ำภายในบ่อออกก็เมื่อระดับน้ำภายนอกต่ำกว่าระดับน้ำภายในบ่อใช้เทคนิคสังเกตการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติของน้ำบริเวณปากน้ำ
  • อาหารที่ใช้ในการเลี้ยงคือ  ปลาตัวเล็ก  ถ้าเป็นปลาตัวใหญ่สามารถตัดเป็นท่อน ๆ แล้วจึงให้เป็นอาหารปู
  • ระยะเวลาการให้อาหาร  3  วัน / ครั้ง

ข้อพึงระวัง ->

เลี้ยงปูนั้นมีความเสี่ยงบ้าง ปูที่เลี้ยงไว้ในบางครั้งติดเห็บเหาของพวกสัตว์น้ำ โดยจะตายเพียงตัวเดียว ไม่ได้ตายทั้งบ่อ ปูที่เลี้ยงไว้นั้นเลี้ยงรวมอยู่กับปลาหมอเทศ เลี้ยงไว้ตามธรรมชาติพร้อมกับปู จึงมีการแย่งกินอาหารกันบ้างในบางครั้ง เรื่องค่าน้ำในบ่อเลี้ยงนั้นไม่ต้องเป็นห่วงมาก เพราะปูดำมีความอดทนสูง แม้จะนำมาเลี้ยงในบ่อกุ้งก็ตาม ไม่ต้องตีน้ำ ปล่อยอย่างเดียวรอวันเก็บ ค่าน้ำอาจจะมีผลถ้าเราปล่อยหนาแน่น

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนศูนย์ศีกษาและพัฒนาชุมชนนครศรีธรรมราช
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา