ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การเลี้ยงหอยขม

โดย : นายทวีป ผลเกิด วันที่ : 2017-02-15-11:35:18

ที่อยู่ : 174 ม.4 ต.ชะมาย อ.ทุ่งสง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

จุดเริ่มต้นของการอยากเพาะเลี้ยงหอย  เริ่มต้นจากการคุยกับเพื่อนร่วมงานคนนึงพูดขึ้นมาว่าอยากกินแกงหอยขม หลังจากนั้นก็มีคนอื่น ๆ พูดต่ออีกว่า พูดถึงหอยขม หลายคนคิดว่าเป็นอาหารสำหรับคนจน แต่ในปัจจุบันคนเืกือบทุกชั้น (บางคนอยู่คอนโดชั้น 20 ยังแอบกินแกงหอยก็มี) เขาว่าหอยขมเป็นสัตว์น้ำที่เลี้ยงง่าย และทนต่อสภาพน้ำเสียได้ดี จึงน่าจะเป็นสัตว์น้ำที่ควรได้รับความสนใจ ประกอบกับข้อมูลต่างๆ ทางด้านการเลี้ยงหอยขมในกระชัง เพื่อลดการเก็บหอยตามลำคลองที่น้ำไม่สะอาด และยังสร้างความปลอดภัยให้การบริโภค โดยปลอดภัยจากสารพิษตกค้างได้อีกทางหนึ่ง

วัตถุประสงค์ ->

  1. เพื่อลดการเก็บหอยตามลำคลองที่น้ำไม่สะอาด และยังสร้างความปลอดภัยให้การบริโภค โดยปลอดภัยจากสารพิษตกค้างได้อีกทางหนึ่ง
  2. เป็นการเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

  • หอยขมขนาดใหญ่ หรือขนาดโตพอรับประทาน ลงไป 2 กิโลกรัมต่อกระชัง โดยคัดเลือกหอยขมที่ยังสด ซึ่งสังเกตได้จากการนำหอยขมไปแช่น้ำทิ้งไว้ ถ้าหอยขมคว่ำตัวติดกับภาชนะแสดงว่ายังมีชีวิตอยู่ 

อุปกรณ์ ->

  1. ตาข่ายไนลอนตาถี่ ตัดเย็บเป็นสี่เหลี่ยม ขนาดกว้าง 2 เมตร ยาว 4 เมตร ลึก 1.5 เมตร หรือปรับขนาดตามความต้องการ ทั้งนี้ต้องตรวจสอบรูแหว่ง หากพบให้เย็บปิดให้หมด
  2. ไม้ไผ่ยาวตามความลึกบ่อ
  3. ทางมะพร้าว หรือ กิ่งไม้
  4. เศษใบไม้หมัก/แห้ง
  5. ลวด

กระบวนการ/ขั้นตอน->

พ่อแม่พันธุ์

  • พ่อแม่พันธุ์หอยขมที่ใช้เลี้ยงต้องมีอายุตั้งแต่ 3 เดือน ขึ้นไป หรือเพื่อความมั่นใจ ควรเลือกใช้พ่อแม่หอยที่มีขนาดใหญ่ น้ำหนักตั้งแต่ 60-100 ตัว/กิโลกรัม ขึ้นไป

การเตรียมกระชัง

  • นำไม้ไผ่ตอกลงดินบริเวณริมตลิ่งตามระยะกว้างยาวของผ้าไนลอนที่ตัดเย็บ และให้ได้ระดับความลึกของน้ำ มากกว่า 1.2 เมตร
  • นำกระชังไนลอนที่เย็บเป็นสีเหลี่ยมแล้วมาขึงรัดด้วยลวดทั้ง 4 มุม ให้แน่น โดยให้ขอบกระชังด้านบนสูงจากน้ำขึ้นมาประมาณ 20-30 ซม.
  • นำทางมะพร้าวหรือกิ่งไม้ใส่ในกระชัง 3-5 อัน
  • นำเศษใบไม้แห้ง 2-3 กิโลกรัม ใส่ทิ้งไว้ (หากเป็นเศษใบไม้หมัก ให้ใส่หลังการปล่อยพ่อแม่พันธุ์แล้ว)
  • ควรเตรียมบ่อไว้นาน 5-10 ก่อนปล่อยหอย เพื่อให้เกิดตะไคร่น้ำจับที่ทางมะพร้าว

การปล่อยพ่อแม่พันธุ์

  • นำพ่อแม่หอยขมปล่อยลงในกระชัง อัตราการปล่อยที่ 200-300 ตัว/ตารางเมตร โดยใช่พ่อแม่พันธุ์หนัก 60-100 ตัว/กิโลกรัม ขึ้นไป เช่น พื้นที่กระชังกว้าง 4 เมตร ยาว 2 เมตร จะปล่อยพ่อแม่พันธุ์ขนาด 100 ตัว/กิโลกรัม (ไม่นำมาคิดจำนวน แต่สำหรับคิดจำนวนกิโลกรัม) ที่อัตรา 300 ตัว/ตารางเมตร รวมเป็นจำนวน 8×200 เท่ากับ 1,600 ตัว หรือเท่ากับ 16 กิโลกรัม

การเลี้ยง และการดูแล

  • หลังจากการปล่อยพ่อแม่พันธุ์แล้ว ให้นำเศษใบไม้หมัก 5-10 กิโลกรัม ใส่ในกระชัง ซึ่งพ่อแม่หอยขมจะกินอาหารจากตะไคร้น้ำที่จับบนทางมะพร้าวหรือกิ่งไม้ และซากเน่าเปื่อยของใบไม้ด้านล่างกระชัง และจะเริ่มออกลูกจำนวนมาก นอกจากนั้น ภายในบ่อหรือในกระชัง ให้หว่านด้วยปุ๋ยคอกเสริมเล็กน้อยร่วมด้วย

ข้อพึงระวัง ->

  1. หอยขมที่นำมารับประทานควรต้มหรือทำให้สุกเสียก่อน เพราะอาจมีไข่พยาธิติดมาด้วย โดยเฉพาะพยาธิใบไม้ในตับ และพยาธิใบไม้ในลำไส้
  2. หอยขมในแหล่งน้ำใกล้โรงงานอุตสาหกรรมหรือแหล่งน้ำเสียชุมชน ควรหลีกเลี่ยงรับประทาน เพราะอาจปนเปื้อนโลหะหนักได้
  3. การเลี้ยงหอยขม  ระวังอย่าให้น้ำเสีย ควรดูระดับน้ำในบ่ออย่าให้มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก เพราะถ้าระดับน้ำสูงเกินปากกระชัง จะทำให้หอยขมหนี ออกนอกกระชังได้
  4. ศัตรูที่สำคัญของหอยขมโดยเฉพาะลูกอ่อน ได้แก่ ปลาไหล ปลาดุก ตะพาบน้ำ เป็น และยาปราบศัตรูพืช ต้องระมัดระวังในเรื่องนี้ด้วย

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนศูนย์ศีกษาและพัฒนาชุมชนนครศรีธรรมราช
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา