ความรู้สัมมาชีพชุมชน

เตาประหยักพลังงาน

โดย : นายมานะ พัดนวน วันที่ : 2017-02-14-21:54:23

ที่อยู่ : 17 ม.2 ต.พะแสง อ.บ้านตาขุน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

จาการดำเนินการทำศาลาประจำหมู่บ้านเพื่อช่วยให้ชาวบ้านได้จัดงานศพ  งานพิธีต่าง ๆ และเมื่อมีงานต้องมีการหุงข้าว  ทำอาหาร  โดยกระทะใบบัวจึงต้องการประหยัดพลังงานในการหุงข้าว  ทำกับข้าว  จึงได้ออกแบบก่อเตาประหยัดพลังงาน  เพื่อประหยัดเชื้อเพลิง

วัตถุประสงค์ ->

  1. เพื่อประหยัดพลังงานในการหุงข้าว/ทำกับข้าว
  2. เพื่อสร้างรายได้แก่กลุ่มช่างก่อเตาประหยัดพลังงาน
  3. เกิดการสร้างงาน  สร้างอาชีพ/ลดค่าใช้จ่ายผู้ที่จะสร้างเตา

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

  1. อิฐแดง
  2. ปูนซิเมนต์
  3. หินทราย
  4. น้ำ
  5. เหล็กเส้น
  6. กระเบื้อปูพื้น  ฉนวนกันความร้อน
  7. ท่อซิเมนต์

อุปกรณ์ ->

  • เครื่องมือ - อุปกรณ์ช่างก่อสร้าง

กระบวนการ/ขั้นตอน->

  1. ปรับพื้นที่ที่จะใช้สำหรับสร้างเตาและเทคานรับน้ำหนัก ซึ่งคานรับน้ำหนักนี้มีลักษณะและขนาดต่างกันได้ตามลักษณะของพื้นที่ ความแน่นของชั้นดิน และน้ำหนักโดยรวมของโครงสร้างเตา
  2. เทพื้นปูนซีเมนต์สูง 15 เซนติเมตร กว้างกว่าขนาดของเตาออกมาด้านละ 15  เซนติเมตร แล้วจึงเริ่มสร้างฐานเตา โดยใช้อิฐแดงก่อด้านละ 30–35 เซนติเมตร เว้นช่องกลางไว้ 30–35 เซนติเมตร ยาว 430 เซนติเมตร
  3. ก่อผนังเตาให้สูงขึ้นด้วยอิฐแดง ให้เว้นช่องว่างตรงกลางเตาตาลไว้ในระยะที่วางกระทะ เมื่อก่อผนังเตาได้ความสูงตามต้องการ (40–45 เซนติเมตร) แล้วใช้อิฐแดงทรงกระดูกวางพาดด้านบนให้ได้ตามระยะของการวางกระทะ
  4. ก่ออิฐแดงและฉาบปูนซีเมนต์ด้านบนเตาโดยเว้นช่องวางกระทะไว้ ฉาบผิวด้านในเตาตาลด้วยดินเหนียว
  5. ก่อช่องใส่ฟืนหรือช่องเผาไหม้ที่บริเวณด้านหน้าและด้านบนของเตา โดยใช้อิฐซีเมนต์สำเร็จรูปทรงตัวซีวางเฉียงลง ก่ออิฐแดงโดยรอบ ให้เว้นช่องไว้สำหรับใส่ไม้ฟืนที่ด้านบน  ด้านในของช่องใส่ฟืนใช้แท่งลวดเสียบไว้สำหรับวางไม้ฟืน ส่วนด้านล่างที่หน้าเตาใต้ช่องใส่ฟืนให้ก่ออิฐแดงโดยเว้นช่องไว้เหมือนอุโมงค์ สำหรับให้เศษเถ้าไม้ที่เกิดจากการเผาไหม้ของไม้ฟืนหล่นลงมาและจัดเก็บไปใช้งานได้
  6. ก่อกำแพงรอบช่องใส่ไม้ฟืนเพื่อป้องกันเศษไม้และเศษเถ้าไม้ที่เกิดจากการเผาไหม้ลงไปปนเปื้อนในขณะทำอาหาร
  7. ปรับระยะช่องทางเดินลมร้อนและสร้างกำแพงไฟบริเวณท้ายเตา โดยเริ่มจากการถมดินที่พื้นท้ายเตาเพื่อลดขนาดช่องทางเดินลมร้อนก่อนออกทางปล่องเตา และใช้เป็นกำแพงไฟให้ลมร้อนปะทะย้อนกลับเข้าใต้กระทะก่อนหมุนวนออกทางปล่องเตา
  8. ก่อฐานของปล่องเตา โดยปิดด้านบนของช่องทางเดินลมร้อน หลังจากนั้นก่อฐานของปล่องเตาโดยเว้นช่องตรงกลางไว้สำหรับให้ลมร้อนออก และเว้นช่องด้านหลังไว้สำหรับดูไฟ รวมทั้งใช้อำนวยความสะดวกในการเขี่ยเศษเถ้าไม้เมื่อใช้งานไประยะเวลาหนึ่ง​​​​​​

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนศูนย์ศีกษาและพัฒนาชุมชนนครศรีธรรมราช
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา