ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การผลิตเครื่องปั้นดินเผาเพื่อการตกแต่ง

โดย : นายกิตติ อนันต์แดง วันที่ : 2017-02-14-14:52:03

ที่อยู่ : ๑๐๔ ตำบลวังตะกอ อำเภอหลังสวน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ในวัยเด็ก พ่อ แม่ มีอาชีพค้าขาย วิถีชีวิตจึงผูกพันอยู่กับธรรมชาติมีความเรียบง่ายและชื่นชอบการทำงานด้านศิลปทั้งงานปั้น วาดภาพ แกะ ตัด แต่ง มีความสุข จากการได้คิดการประดิษฐ์ของเล่นจากสิ่งต่างๆรอบตัวไม่ชอบเลียนแบบใคร รู้สึกเกิดความภาคภูมิใจกับสิ่งใหม่ๆที่ได้คิดสร้างสรรค์ ตั้งข้อสงสัยกับทุกสิ่ง ทุกอย่างคิดและเชื่ออย่างมีเหตุผล

หลังจากจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ถ้าเรียนต่อในชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นรู้สึกผิดหวังกับการเรียนที่เน้นหนักไปทางวิชาการ เมื่อมีโอกาสจึงเลือกเข้าเรียนในห้องเรียนศิลปะและพบว่าวิชาศิลปะเป็นวิชาที่เรียนแล้วมีความสุขที่สุดและมีความเชื่ออยู่เสมอว่าศิลปะมิใช่สิ่งที่แค่มองเห็น จากนั้นจึงเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนไทยวิจิตรศิลป์ โรงเรียนศิลปะแห่แรกที่ทำให้รู้ว่าโลกช่างกว้างใหญ่ศิลปะมีอะไรมากกว่าที่จะจินตนาการถึงงานศิลปะที่พบเจอท้าทายให้เข้าไปค้นหานำพาไปสู่การฝึกฝนไม่สิ้นสุด เทคนิคต่างๆมีความน่าสนใจ การเรียนในห้องอย่างเดียวไม่เพียงพอต่อการอยากรู้ อยากลอง การเข้าเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยทำให้เกิดความรู้สึกผิดหวังอีกครั้ง เนื่องจากต้องเรียนซ้ำซากเดิมๆ จึงใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการทำงานหลังจากเรียนไป ทำงานไปจนสำเร็จการศึกษา จึงเริ่มต้นชีวิตการทำงานอย่างจริงจังโดยมีโอกาสทำงานศิลปะแขนงต่างๆ มากมาย เช่น งานประติมากรรม เขียนป้าย วาดภาพเหมือน งานปั้นเซรามิก และศึกษางานเครื่องปั้นดินเผาพื้นบ้าน

หลังจากได้มีโอกาสทำงานหาประสบการณ์ได้ระยะหนึ่งก็พบว่า “สำเร็จก็ไม่มาก เสียหายก็ไม่น้อย” จึงตัดสินใจเดินทางกลับภูมิลำเนา และเริ่มต้นการคิดค้นและสร้างผลงานของตนเองโดยยึดหลักการทำงาน คือ การไม่ลอกเลียนแบบสร้างเอกลักษณ์งานปั้น

วัตถุประสงค์ ->

  • เพื่อเป็นการสร้างทีมงานด้านศิลปะสอนให้เด็กเรียนรู้ ส่งเสริมงานศิลปะอย่างจริงจังและสร้างแหล่งเรียนรู้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ของคนทำงานศิลปะ

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

  1. ดินเหนียวธรรมชาติ
  2. น้ำ

อุปกรณ์ ->

  1. เครื่องโม่ดิน
  2. จอบ เสียม หรือพลั่ว
  3. ตระแกรงร่อนดิน
  4. แป้นหมุน
  5. อุปกรณ์ในการแกะลวดลาย

กระบวนการ/ขั้นตอน->

  1. นำดินเหนียวธรรมชาติมาซอย (เซี้ยมในให้เป็นแผ่นบาง หมักน้ำโดยประมาณไว้ก่อน) แล้วจึงนำดินมาเข้าเครื่องโม่ (สมัยโบราณใช้วิธีเหยียบและนวดก่อนนำมาปั้น)
  2. เมื่อได้ดินจากการโม่แล้ว จึงนำมาขึ้นรูปด้วยแป้นหมุน ตามแบบและขนาดของเครื่องปั้นที่ต้องการตามรูปต่างๆ เช่น กระปุก หม้อ คนโท ขันน้ำ  พานรอง จนปัจจุบันดัดแปลงมาเป็นโคมสำหรับใช้กับหลอดไฟฟ้า (เพื่อเข้ากับสมัยและยุคปัจจุบันพร้อมทั้งให้ประโยชน์มากยิ่งขึ้น)
  3. นำผลิตภัณฑ์ที่ปั้นแล้วออกผึ่งแดด ผึ่งลม พอความแข็งตัวของเนื้อดินจับยกได้ โดยไม่ทำให้เสียรูปทรง จึงนำขึ้นแป้นขูดแต่งอีกครั้ง เพื่อให้ได้รูปทรงและความหนาบางของเนื้อดินตามแบบและความต้องการจนเสร็จ
  4. จากนั้นจะผึ่งไว้จนเนื้อดินมีความแข็งตัวพอที่จะขัด หรือขูดแต่งให้เรียบร้อยสวยงามอีกครั้งแล้วจึงนำไปเข้าเตาเผา

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนศูนย์ศีกษาและพัฒนาชุมชนนครศรีธรรมราช
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา