ความรู้สัมมาชีพชุมชน

ปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้

โดย : นายสุนทร สอาดฤทธิ์ วันที่ : 2017-02-12-19:49:22

ที่อยู่ : 156 ม.1 ต.ดอนสัก อ.ดอนสัก

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เนื่องจากชาวบ้านมีปัญหาการว่างงานไม่มีรายได้ที่เพียงพอ จึงได้ร่วมกันจัดทำ “โครงการปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้เพื่อนำไปสู่อาชีพ” ขึ้น  เนื่องจากผักเป็นพืชที่ปลูกได้ง่าย และผักยังเป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ให้ผู้ปลูกได้เป็นอย่างดี เพราะผักเป็นอาหารที่มีประโยชน์และมีคุณค่าทางอาหารสูง สามารถนำไปปรุงเป็นอาหารได้หลายอย่าง และมีราคาค่อนข้างถูกเมื่อเปรียบเทียบกับอาหารชนิดอื่น สามารถบริโภคได้ทุกเพศทุกวัย  ดังนั้นผักจึงเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคเป็นจำนวนมาก จึงให้เกษตรกรที่ว่างงานมีความรู้ความสามารถและทักษะในการประกอบอาชีพ  เป็นการแก้ปัญหาการว่างงานและส่งเสริมความเข้มแข็งให้แก่เศรษฐกิจชุมชนและนำไปเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพในอนาคตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน

วัตถุประสงค์ ->

  1. เพื่อกระจายรายได้ในระดับหมู่บ้าน   
  2.  เป็นการสร้างอาชีพ และเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร
  3. เพื่อเพิ่มมูลค่าเพิ่มของทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นเดิม

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

  • เมล็ดพันธ์ผักสวนครัว
  • เศษสิ่งของที่ไม่ใช้แล้ว  เช่นถุง  ถัง  กะละมัง  ล้อยางหรือลำไม้ไผ่   ฯลฯ

อุปกรณ์ ->

  • กระสอบปุ๋ยหลายใส
  • ดินผสมปุ๋ยอินทรีย

กระบวนการ/ขั้นตอน->

กระบะปลูกเป็นตัวช่วยที่ดีสำหรับปลูกผักสวนครัว เพราะนอกจากช่วยให้ง่ายสำหรับการดูแลแล้วพืชผักในแปลงแล้ว ยังสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตและจัดการคลุมดินกลบผักเป็นปุ๋ยหมักได้ง่ายอีกด้วย โดยวัสดุมีให้เลือกมากมายส่วนมากที่ใช้กันคือไม้และบล็อกอิฐชนิดต่างๆทั้งดินเผาและคอนกรีต โดยกระบะไม้มีข้อดีคือสามารถรื้อถอนได้ง่าย เหมาะกับการปลูกผักหลายชนิดที่ต้องปรับเปลี่ยนไปได้เรื่อยๆ วัสดุและขั้นตอนในการก่อสร้างก็ง่าย สามารถทำได้ด้วยตนเอง โดยใช้ไม้เนื้อแข็งขนาดประมาณ 1 – 1.80 เมตร สูงประมาณ 20 เซนติเมตร ปักหมุดหรือตอกเสาไม้ลงดินลึกประมาณ 20-30 เซนติเมตรเป็นมุมทั้งสี่ด้าน หรือห่างกันประมาณ 50 เซนติเมตร และนำแผ่นไม้ตีทับด้วยตะปูหรือเครื่องผูก โดยเราสามารถตีแผ่นไม้ได้ตามความสูงที่เราต้องการได้ถึง 1 เมตร เพื่อให้ง่ายต่อการเก็บเกี่ยว เช่นเดียวกับกระบะปลูกที่ทำจากอิฐบล็อกหรืออิฐมอญที่ก่อสร้างโดยการขุดหลุมบริเวณที่จะสร้างกระบะลึกไปประมาน 20 เซนติเมตร จากนั้นก็ก่ออิฐฉาบปูเป็นกรอบกระบะรอบๆ ซึ่งจะมีความทนทานกว่าการใช้ไม้ เมื่อทำกระบะเสร็จควรใส่เศษฟางแห้งให้ทั่วและคลุมด้วยหญ้าสดอีกชั้นหนึ่ง ก่อนจะโรยปุ๋ยหรือมูลสัตว์ตากแห้งผสมกับเศษเปลือกไข่ เพื่อเติมแร่ธาตุและแคลเซียมในดินใส่ปุ๋ยหมักอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพลงไปให้ทั่วกระบะประมาณ 1 บัวรดน้ำ และจึงใส่ดินปลูกปกติลงไป ก่อนปลูกผักที่ต้องการลงไป

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนศูนย์ศีกษาและพัฒนาชุมชนนครศรีธรรมราช
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา