ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การเลี้ยงผึ้งพันธุ์อิตาเลียน

โดย : นายณรงค์ สุดจิตร วันที่ : 2017-02-09-23:24:58

ที่อยู่ : 15/1 ม.1 ต.โทรขึง อ.พระแสง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ขออนุมัติจากดครงการประชารัฐ 500,000 บาทซึ่งมติในที่ประชุมของหมู่บ้านลงมติ เลี้ยงผึ้งอิตาเลียน  ซึ่งเป็นผึ้งที่มีลำตัวสีเหลือง ลำตัวอวบอ้วน ใหญ่กว่าผึ้งโพรงไทย ช่วงท้องเรียว และมีแถบสีเหลืองหรือสีทอง มีขนบนลำตัวสีทอง โดยเฉพาะในตัวผู้จะมีสีทองเด่นชัดมากกว่าตัวเมีย เป็นพันธุ์ที่มีนิสัยเชื่อง เลี้ยงง่าย ไม่ดุร้าย ให้ผลผลิตสูง แต่ใช้น้ำผึ้งเลี้ยงตัวอ่อนมากกว่าพันธุ์สีดำ พันธุ์นี้นิยมเลี้ยงทั่วโลก เรียกชื่อพันธุ์หลายชื่อตามถิ่นที่มีการปรับปรุงพันธุ์ เช่น พันธุ์อเมริกัน พันธุ์ไต้หวัน พันธุ์ญี่ปุ่น พันธุ์ออสเตรเลีย เป็นต้น

วัตถุประสงค์ ->

  1. เพื่อให้ประชาชนเกิดรายได้เพิ่มขึ้นเนื่องมาจาก  ผึ้งโพรงเป็นผึ้งที่มีอยู่ในธรรมชาติสามารถเลี้ยงได้ทั่วทุกภาค นิยมเลี้ยงกันมากในพื้นที่ภาคใต้ ปัจจุบันปริมาณการผลิตน้้าผึ้งจากผึ้งโพรง ไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค และจ้าหน่ายน้้าผึ้งได้ในราคาสูง ขวดละประมาณ 200-300 บาท (น้้าผึ้งพันธุ์ ราคาขวดละ 100-150 บาท ) สามารถเลี้ยงผึ้งโพรงเป็นอาชีพในเสริมท้องถิ่น โดยเลือกพื้นที่ที่มีอาหารผึ้งสมบูรณ์ในธรรมชาติ เช่น สวนมะพร้าว ปาล์ม ยางพารา เงาะ กาแฟ สาบเสือ ล้าไย ลิ้นจี่ นุ่น ทานตะวัน ข้าวโพด เป็นต้น
  2. เกษตรกรมีรายได้จากการขายน้้าผึ้งและไขผึ้ง โดยมีผลตอบแทนที่ได้จากผลผลิตน้้าผึ้ง 10-15 กิโลกรัม/รัง/ปี ส้าหรับไขผึ้งของผึ้งโพรงสามารถเก็บผลผลิตได้ประมาณ 1 กิโลกรัม/รัง/ปี เกิดรายได้เพิ่มแก่ครอบครัวและชุมชน เพิ่มคุณภาพชีวิต
  3. ผึ้งโพรงมีประโยชน์ในการช่วยผสมเกสรเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ทั้งปริมาณและคุณภาพ ตลอดจนเป็นตัวบ่งชี้ความปลอดภัยของการผลิตพืชอาหาร เนื่องจากผึ้งจะเก็บน้้าหวานและเกสรจากพืชที่ปลอดภัยจากสารเคมี และการผลิตเมล็ดพันธุ์พืช สร้างความสมดุลทางธรรมชาติ และรักษาสภาพแวดล้อมให้ยั่งยืน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

  1. ผึ้งพันธ์  อิตาเลียน

อุปกรณ์ ->

วัสดุอุปกรณ์ในการเลี้ยงผึ้งอื่น ๆ ที่ จำเป็น นอกจากตัวผึ้งและนางพญาผึ้งแล้ว ผู้เลี้ยงผึ้งจะต้องใช้ในการเลี้ยงผึ้งเพื่อให้การเลี้ยงผึ้งประสบความสำเร็จได้ โดยเรียงลำดับความสำคัญมีรายละเอียดดังนี้

  1. รังเลี้ยงผึ้ง (Bee Hive) หรือหีบเลียงผึ้ง หรือกล่องเลี้ยงผึ้ง เป็นกล่องรูป สี่เหลี่ยมผืนผ้า ตรงหัวท้ายด้านบนของกล่อง จะเซาะเป็นร่องสำหรับวางคอนผึ้ง ขนาดตัวรังที่นิยมกันในหมู่นักเลี้ยงผึ้งมี 2 แบบ คือ แบบยุโรป หรือเป็นแบบแลงสตร็อธ และแบบไต้หวัน ลักษณะของหีบเลี้ยงผึ้งทั้งสองแบบคล้ายกัน เพียงแต่ขนาดความยาวต่างกัน โดยแบบไต้หวันจะมีขนาดใหญ่กว่า ใส่เฟรมได้ตั้งแต่ 10-15 คอน แต่นิยมใช้ขนาด 10 คอน และมีหน้าต่างมุ้งลวดด้วย แบบ ยุโรปใส่ได้ 10 คอน
  2. คอนหรือเฟรม (Frame) คอนหรือเฟรมเป็นที่สำหรับผึ้งจะสร้างรวงผึ้ง ประกอบ ด้วยไม้ 4 ชิ้น ไม้ชิ้นบนเป็นคอนบน
  3. แผ่นฐานรวงหรือแผ่นรังเทียม เป็นแผ่นไขผึ้งแท้ปั้มเป็นรอยฐานหกเหลี่ยม สำหรับเป็นฐานให้ผึ้งงานได้สร้างหลอดและรวงรังผึ้งให้รวดเร็ว ประหยัดพลังงานของผึ้ง ปัจจุบันสามารถหาซื้อได้สะดวกเป็นแบบมาตรฐาน
  4. ขาตั้งรังผึ้ง สำหรับตั้งรังผึ้ง เพราะบ้านเรามีความชื้นสูง และมีมดมาก การจะตั้ง รังบนพื้นดินนี้ ไม่สะดวกเหมือนต่างประเทศ อาจทำด้วยไม้ หรือเป็นขาตั้งเหล็กก็ได้
  5. ไม้กั้นหน้ารัง เป็นไม้ที่มีช่องสำหรับให้ผึ้งเข้า-ออก ไม้นี้จะวางอยู่ระหว่างฐานรัง สำหรับปิดทางเข้ารังของผึ้ง ในช่วงที่ผึ้งมีประชากรน้อย โดยบังคับทางเข้า-ออกให้เล็กลงเท่าที่ จำเป็นสำหรับผึ้งเท่านั้น
  6. เครื่องมือพ่นควัน (Smoker) เป็นเครื่องมือสำคัญที่นักเลี้ยงผึ้งทุกคนจะต้องมี และนำไปใช้ทุกครั้ง เวลาทำงานอยู่กับรังผึ้ง ทำด้วยกระป๋องสังกะสี อลูมิเนียม หรือสแตนเลส มีฝาครอบรูปกรวยสำหรับพ่นควันออก ด้านหลังเจาะรูให้ลมเข้าและมีที่ปั้มลม ประกอบด้วยไม้ 2 แผ่นบาง ๆ ที่ปั้มลมทำด้วยผ้าหนังมีช่องลมตรงกับรูของกระป๋อง เวลาบีบลมจากกระเปาะจะพุ่งตรงเข้าไปในกระป๋อง ทำให้เชื้อไฟในกระป๋องติดไฟ เกิดควันพุ่งออกจากกรวย
  7. เหล็กงัดรัง (Hive Tool) เป็นแผ่นเหล็กแบนยาวประมาณ 6-8 นิ้ว ปลายด้าน หนึ่งแบนกว้างประมาณ 1 ? นิ้ว ใช้สำหรับแซะฝารังเวลาเปิดรังผึ้งและใช้ขูดยางเหนียว ๆ ที่ติดตามขอบรัง และคอน เหล็กงัดรังนี้จะต้องถือติดอยู่ในฝ่ามือตลอดเวลาที่ทำงานตรวจรังผึ้ง เช่นเดียวกับเครื่องพ่นควันและหมวกกันผึ้งต่อย
  8. หมวกตาข่ายสำหรับกันผึ้งต่อยหน้า หมวกตาข่ายสำหรับกันผึ้งต่อยบริเวณใบ หน้านั้น
  9. ถุงมือ เป็นถุงมือที่มีขนาดความเหนียวและหนาพอที่จะกันผึ้งต่อยบริเวณมือและ นิ้ว ทำด้วยหนังหรือผ้าที่มีความหนาพอสมควร
  10. ชุดเสื้อผ้าที่สวมใส่เวลาทำงาน เป็นชุดหมีสีขาวแขนยาวรัดข้อมือและข้อเท้า ทำด้วยผ้าหนา ๆ กันผึ้งต่อย ถ้าไม่มีชุดดังกล่าวอาจดัดแปลงใช้เสื้อแขนยาวกางเกงขายาวธรรมดา
  11. อุปกรณ์สลัดน้ำผึ้งออกจากรวงรัง ประกอบด้วย แปรงปัดผึ้ง ถังเหวี่ยง (สลัด) น้ำผึ้ง มีด ตะแกรงกรองน้ำผึ้ง ถังเก็บน้ำผึ้ง
  12. อุปกรณ์อื่น ๆ อุปกรณ์ที่ควรจะมีอยู่ตลอดเวลาในการเข้าไปปฏิบัติงานในการ เลี้ยงผึ้ง คือ กล่องเครื่องมือต่าง ๆ ที่สามารถจะใช้ได้ทันทีในเวลาที่ต้องการ ในกล่องควรมีฆ้อน คีม ตะปู เลื่อย ลวด มีดถากไม้ มีดพับคม ๆ มีดบาง (หรือมีดตัดโฟม) กรรไกรเล็ก ๆ กรรไกรตัดลวด กล่องขังนางพญา ยาหม่อง ฯลฯ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ผึ้งที่ซื้อมาเลี้ยงควรเป็นผื้งที่มีความสมบูรณ์สูง และมีครบทุกวัยทำงาน มีปริมาณเกสรน้ำผึ้งมาก นางพญาวางไข่ดี

ขั้นตอนการเลี้ยงผึ้ง

  1. จัดมาเลี้ยงในคอน โดยเลี้ยงในพื้นที่เดิม 2-3 วัน แล้วเคลื่อนย้ายไปสถานที่ต้องการใน เวลากลางคืน
  2. การเพิ่มจำนวนของผึ้งในแต่ละรัง ต้องคัดเลือกนางพญาผึ้งให้มีการวางไข่ได้อย่างสม่ำเสมอมีการตัดแต่งรัง การรวมรัง และการขยายวงจรในการวางไข่
  3. เพิ่มความแข็งแรงและความสมบูรณ์ให้กับรังด้วยการให้อาหารเสริมในช่วงที่ผึ้ง ขาดแคลนอาหาร บางครั้งจะต้องเคลื่อนย้ายรังไปยังแหล่งที่มีอาหารสมบูรณ์ เช่น สวนมะพร้าวหรือมะม่วงที่กำลังออกดอก
  4. การเก็บน้ำผึ้งจากคอน ให้สังเกตดูที่ส่วนบนของคอน ถ้าพบว่ามีสีขาวขุ่นแสดงว่ามีน้ำผึ้งอยู่ภายใน ใช้มีดกรีดรวงผึ้งเป็นรูปตัวยูแล้วเลือกส่วนบนที่ติดกับสันคอนออก นำไปใส่ผ้ากรองที่มีถังรองรับ คอนฝึ้งที่ถูกตัดน้ำผื้งออก ให้นำกลับไปเลี้ยงตามเดิม หลังจากนั้นผึ้งก็จะสร้างรวงขึ้นมาใหม่ภายใน 1-2 เดือนค่ะ

ข้อพึงระวัง ->

  • ในฤดูกาลที่ผึ้งอาจจะหาอาหารได้น้อย เราก็ช่วยหาอาหาร และน้ำไปวางใกล้ๆ รังของเขา ในบริเวณเลี้ยงผึ้งถ้ามีแหล่งน้ำจะดีมากเป็นความเสี่ยงมาก หากผึ้งต้องบินผ่านสวนคนอื่นๆ เพื่อไปยังแหล่งน้ำ เราก็ไม่อาจรู้ได้ว่า สวนนั้นกำลังพ่นยาฆ่าหญ้า หรือยากำจัดแมลงหรือไม่ ซึ่งจะเป็นอันตราต่อผึ้งโดยตรง

รูปประกอบ -> image1 image2

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนศูนย์ศีกษาและพัฒนาชุมชนนครศรีธรรมราช
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา