ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ (ปุ๋ยน้ำ)

โดย : นายประชาชน ทันงาน วันที่ : 2017-03-08-11:52:47

ที่อยู่ : บ้านบากสัก 77/5 ม.8 ตบางม่วง อ.ตะกั่วป่า

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การทำปุ๋ยอินทรีย์ได้ไปอบรมเกี่ยวกับการทำนาข้าวอินทรีย์  การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ  การทำน้ำปุ๋ยหมักชีวภาพ   การทำน้ำหมักปราบศัตรูพืชและแมลง  และการเลี้ยงกบ  เลี้ยงปลา  ต่าง  ๆ    และเกษตรกรส่วนใหญ่ก็หันมาทำเกษตรอินทรีย์เยอะพอสมควรเพราะต้องการลดสารเคมีในพื้นที่การเกษตรของตนเองและปรับสภาพหน้าดินด้วยดูแลความปลอดภัยของสภาพแวดล้อมและดูแลชีวิตของตนเองและครอบครัวให้ห่างไกลจากสารเคมี 

 

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุประสงค์ของการคิดค้น "น้ำหมักชีวภาพ" ขึ้นมา เพื่อใช้ประโยชน์ทางการเกษตรโดยเฉพาะ แต่ช่วงหลังก็มีการนำน้ำหมักชีวภาพ มาประยุกต์ใช้ประโยชน์ในด้านอื่นเช่นกัน คือ

-ด้านการเกษตร น้ำหมักชีวภาพ มีธาตุอาหารสำคัญ ทั้งไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปแตสเซียม แคลเซียม กำมะถัน ฯลฯ จึงสามารถนำไปเป็นปุ๋ย เร่งอัตราการเจริญเติบโตของพืช เพิ่มคุณภาพของผลผลิตให้ดีขึ้น และยังสามารถใช้ไล่แมลงศัตรูพืชได้ด้วย

- ด้านปศุสัตว์ สามารถช่วยกำจัดกลิ่นเหม็น น้ำเสียจากฟาร์มสัตว์ได้ ช่วยป้องกันโรคระบาดต่าง ๆ ในสัตว์แทนการให้ยาปฏิชีวนะ ทำให้สัตว์แข็งแรง มีความต้านทานโรค ช่วยกำจัดแมลงวัน ฯลฯ

- ด้านการประมง ช่วยควบคุมคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ ช่วยแก้ปัญหาโรคพยาธิในน้ำ  ช่วยรักษาโรคแผลต่าง ๆ ในปลา กบ จระเข้ได้ ช่วยลดปริมาณขี้เลนในบ่อ ช่วยให้เลนไม่เน่าเหม็น สามารถนำไปผสมเป็นปุ๋ยหมักใช้กับพืชต่าง ๆ ได้ดี

- ด้านสิ่งแวดล้อม น้ำหมักชีวภาพ สามารถช่วยบำบัดน้ำเสียจากการเกษตร ปศุสัตว์ การประมง โรงงานอุตสาหกรรม ชุมชน และสถานประกอบการทั่วไป แถมยังช่วยกำจัดกลิ่นเหม็นจากกองขยะ การเลี้ยงสัตว์ โรงงานอุตสาหกรรม และชุมชนต่าง ๆ นอกจากนี้ยังช่วยปรับสภาพอากาศที่เสียให้สดชื่น และมีสภาพดีขึ้น

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. เศษพืชผัก ผลไม้ หรือเศษอาหารที่ยังไม่บูดเน่า 

2. กากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายแดง

อุปกรณ์ ->

1.ถังสำหรับหมัก / ถังน้ำหมักที่มีฝาปิดสนิท ควรเป็นถังพลาสติก หรือกระเบื้องเคลือบ ไม่ควรใช้ถังประเภทโลหะหรือปูนซิเมต์เพราะน้ำหมักจะเข้าไปกัดกร่อนภาชนะ

2.มีด

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. นำวัตถุดิบมาสับ บด โขลก หรือหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ
2. บรรจุลงในภาชนะ
3. เติมกากน้ำตาล หรือน้ำตาลทรายแดง และส่วนผสมอื่น ๆ ลงไป ตามอัตราส่วน
4. คนหรือคลุกเคล้าให้เข้ากัน ปิดฝาภาชนะ หมักไว้ 7-15 วัน
5. ครอบตามกำหนดปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพจะมีกลิ่นหอม
6. สำหรับปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพถั่วเหลือง และปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพปลาสดหรือหอยเซลรี่ ควรหมักอย่างน้อย 1 เดือน จึงนำไปใช้ได้ และระหว่างหมักให้หมั่นคนส่วนผสมทุกวัน
7. หากมีกลิ่นเหม็นหรือบูดเน่าให้เติมกากน้ำตาลหรือน้ำตาลทราย แล้วคนให้เข้ากันทิ้งไว้ 3-7 วัน กลิ่นเหม็นหรือกลิ่นบูดเน่าจะหายไป
8. การแยกกากและน้ำชีวภาพ โดยใช้ถุงอาหารสัตว์ ถุงปุ๋ยเคมี หรือมุ้งเขียว รองรับกากและน้ำชีวภาพจะไหลลงภาชนะที่เตรียมไว้ และกากที่เหลือนำไปคลุมโคนพืช หรือคลุมแปลงต่อไปได้อีก

ข้อพึงระวัง ->

1.การใช้ควรผสมในอัตราส่วนเจือจางน้อย ๆ ไปหามาก

2.การใช้ปุ๋ยน้ำชีวภาพสามารถใช้บ่อย ๆ ได้

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนศูนย์ศีกษาและพัฒนาชุมชนนครศรีธรรมราช
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา