ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การผูกผ้าและการจับจีบผ้า

โดย : น.ส.สกุลรัตน์ รัตตโอภาส วันที่ : 2017-02-24-10:30:47

ที่อยู่ : 9/1 ม.4 ต.สินปุน อ.พระแสง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

       ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีธรรมชาติ สวยงาม มีพรรณไม้ดอก ไม้ประดับหลากหลาย ซึ่งคนไทยนิยมนำทรัพยากรธรรมชาติเหล่านั้นมาใช้ประดับตกแต่งสถานที่ ในงานพิธี หรืองานเทศกาลและการจัดงานต่าง ๆ แต่ปัจจุบันทรัพยากรเหล่านั้นมีจำนวนลดน้อยลง หายากขึ้น เนื่องจากความเจริญทางวัตถุได้รุกล้ำพื้นที่ที่เป็นธรรมชาติมากขึ้น จึงมีการนำวัสดุอื่น ๆ มาใช้ในการตกแต่งทดแทน เช่น การใช้ลูกโป่ง การใช้ผ้า เป็นต้น
       สำหรับการใช้ผ้าเป็นวัสดุที่ใช้ในการตกแต่งสถานที่ กำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบัน เพราะเป็นวัสดุที่สามารถนำกลับมาใช้ได้ในภายหลัง และสามารถเลือกสีของผ้า และรูปแบบของการตกแต่งได้ตามลักษณะของงาน จึงทำให้มีผู้ศึกษาวิธีการตกแต่งสถานที่ด้วยการผูกผ้าและจับจีบผ้าเพิ่มมากขึ้น

วัตถุประสงค์ ->

  1. เพื่อการนำผลงานไปใช้ให้ตอบสนองความต้องการของงานนั้นๆ ได้อย่างเหมาะสม
  2. เพื่อใช้ในการจัดตกแต่งสถานที่ในงานประเภทต่างๆ เช่น งานแต่งงาน งานสาธิตต่างๆ การประชุมสัมมนา การจัดเลี้ยงแบบบุฟเฟ่ต การจัดเลี้ยงโต๊ะจีน โต๊ะลงทะเบียน 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ผ้า คือ วัสดุที่เป็นผืนทำมาจากเส้นใยธรรมชาติและเส้นใยสังเคราะห์ซึ่งแต่ละประเภทมีคุณสมบัติทางกายภาพที่เหมาะสมต่อการนำมาใช้ในการสร้างงานต่างกัน ดังนี้

ผ้าเส้นใยธรรมชาติ น้ำหนัก ยับง่าย จับจีบคงรูปได้ถาวร มีความมันน้อย ใยผ้ายืดหยุ่นตัวน้อย ได้แก่ ผ้าฝ้าย ผ้าลินิน ผ้าป่าน   

ผ้าเส้นใยสังเคราะห์ มีน้ำหนักเบา ผิวสัมผัสอ่อนนุ่ม เรียบมันสะท้อนแสงได้ดี ทำให้ดูแพรวพราวระยิบระยับ เหนียวและยืดหยุ่นได้ดี  ไม่ยับง่าย แต่จับจีบไม่ค่อยอยู่ตัว ได้แก่ ผ้าไนล่อน ผ้าอาซิเตด  ผ้าโพลีเอสเตอร์ ผ้าออร์ลอน ผ้าไฮเกรด

                            

อุปกรณ์ ->

  1.  ลวด ใช้ผูกรัดผ้าให้คงรูปหลังจับจีบ จัดกลีบประกอบดอกตลอดจนมัดแขวนประกอบเข้ากับโครงสร้างที่ตกแต่งนั้น ๆ การใช้ลวดแทนด้ายหรือเชือก เนื่องจากสามารถรัดได้โดยฟั่นเกลียวเป็นรอยพับหรือบิดโดยต่อเนื่องเวลาแกะหรือแก้ก็สะดวกไม่ยุ่งยาก ลวดที่ใช้ควรมีขนาดของเส้นพอเหมาะไม่ใหญ่จนแข็งยากแก่การบิดงอ หรือเล็กจนไม่สามารถมัดผ้าให้คงรูปลักษณะตามที่ต้องการได้
  2. ตะปู แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ตะปูตอกไม้และตะปูตอกคอนกรีต ตะปูทั้ง 2 ประเภท ใช้ตอกยึดติดอาคารตามอาคารที่ใช้ เพื่อยึดงานผ้าให้แขวนติดกับโครงสร้างที่ต้องการตกแต่งนั้น ๆ ในกรณีที่ไม่สามารถใช้ลวดยึดติดกับโครงสร้างได้ ขนาดที่ใช้ 1 1/2 นิ้ว หรือ 2 นิ้ว  เข็มหมุดหัวมุก ใช้สำหรับยึดผลงานให้คงรูป เช่น ยึดกลีบดอกยึดระย้า
  3. ค้อน เป็นอุปกรณ์ใช้สำหรับตอกตะปูให้ยึดติดกับอาคารหรือโครงสร้าง ที่ต้องการตกแต่งนั้น ๆ คีมตัดลวด เป็นอุปกรณ์ใช้สำหรับตัดลวด และคีบลวดบิดพันเกลียวให้กระชับในกรณีที่มือไม่สามารถทำได้ตลับเมตร เป็นสายวัดสำหรับช่างไม้และช่างอุตสาหกรรมทำจากโลหะสำหรับวัดความยาวหรือความกว้างของโครงสร้างที่จะตกแต่งและแบ่งเนื้อที่ความยาวหรือความกว้างให้เป็นส่วนย่อยขนาดเท่า ๆ กัน โดยการกดเข้าด้านในให้ต่ำลง  กดให้เสมอกันทุกกลีบ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การมัดดอก 2 ชั้น 2 สี   เป็นการจับจีบดอกด้วยผ้า 2 ผืน ชั้นในและชั้นนอกของดอกต่างสีกัน ขั้นตอนการทำคือการใช้ผ้า  2   ผืน ต่างสีกัน   เพื่อทำกลีบดอก 2 ชั้น 2 สี ใช้ลวดมัดรวมกันในจุดที่ต้องการทั้ง 2 ผืน เริ่มจับจีบดอกชั้นในด้วยผ้าผืนที่ 1 จนครบจำนวนกลีบที่ต้องการ แล้วรวบกลีบสุดท้ายเข้ากลีบแรกใช้ลวดมัดรวมกันเป็นดอกชั้นใน แล้วจึงนำผ้าผืนที่ 2 มาจับจีบดอกชั้นนอก ให้ได้จำนวนกลีบมากกว่าจำนวนกลีบดอกชั้นในตามที่ต้องการ รวบกลีบสุดท้ายเข้าหากลีบแรกโดยให้โอบรอบดอกชั้นใน ใช้ลวดมัดโคนกลีบก็จะได้ดอก 2 ชั้น 2  สี ตามต้องการ ดังนี้

  • ขั้นที่ 1 นำผ้าที่เตรียมไว้แล้ว 2 ผืนจับจีบผ้าผืนที่ 1 ทบไปทบมาจนหมดหน้าผ้าตามความกว้าง ใช้ลวดมัดต่ำจากปลายผ้าเล็กน้อยตรงจุดหลักที่ต้องการ และนำผ้าที่ 2 ทำเช่นเดียว กับผืนที่ 1 ใช้ลวดมัดติดกับผืนที่ 1
  •  ขั้นที่ 2 จับจีบผ้าส่วนที่ถัดไปของผืน ที่ 2 ทบไปทบมาจนหมดหน้าผ้าตามความกว้าง พับทบเป็นกลีบดอกชั้นในขนาดเท่าที่ต้องการ ใช้ลวดมัดติดกับจุดหลัก
  • ขั้นที่ 3 จับจีบผ้าผืนที่ 2 ทำเช่นเดียวกับขั้นที่ 2 จนได้กลีบดอกครบตามต้องการ รวบกลีบสุดท้ายเข้าหากลีบที่ 1 ใช้ลวดมัดรวมกัน
  • ขั้นที่ 4 ผ้าผืนที่ 1 จับจีบผ้าส่วนที่ถัดไปทบไปทบมาจนหมดหน้าผ้าตามความกว้าง พับทบเป็นกลีบที่ 1 ของดอกชั้นนอก ควรมีความยาวของกลีบดอกมากกว่ากลีบดอกชั้นที่ 1ใช้ลวดมัดโคนกลีบ
  •  ขั้นที่ 5 จับจีบผ้าส่วนที่ถัดไป ทบไปทบมาจนหมดหน้าผ้าตามความกว้างพับเป็นกลีบดอกเช่นเดียวกับกลีบที่ 1ของดอกชั้นนอก ทำเช่นนี้ไปจนครบกลีบดอกที่ต้องการ (8 กลีบ) มัดด้วยลวดให้ติดกัน
  • ขั้นที่ 6 มัดกลีบดอกชั้นนอก โอบรอบโคนดอกชั้นในใช้ลวดมัดติดกัน
  • ขั้นที่ 7 คลี่กลีบดอกชั้นในก่อนแล้วจึงคลี่กลีบดอกชั้นนอก แล้วจัดให้สวยงาม

ลายลูกศรสับประรด  ขั้นตอน

  • ปูผ้าสีขาวและปูทับด้วยผ้าสีอีกชั้นหนึ่ง
  • จับริมผ้าที่เกินออกมาตรงมุมโต๊ะ  วางขนานขอบโต๊ะ  แล้วใช้เข็มหมุดกลัดยึด(ทำทั้งซ้ายและขวา)
  • ดึงผ้าไปทางขวามือแล้วตรึงไว้ด้วยเข็มหมุด
  • ติดเข็มหมุดเพื่อยึดผ้าไว้ทางมุมขวาบน
  • จับจีบผ้ากะระยะสัก 12 cm.  จับจับแล้วกลัดตรึงด้วยเข็มหมุด  จับทั้งหมด 5จีบ
  • (เป็น 1ชุด)
  •  ดึงผ้าให้ตรึงกับขอบโต๊ะยาวประมาณ 20 cm. แล้วกลัดเข็มหมุดตรึงยึดไว้
  • จับจีบผ้าเหมือนขั้นตอนแรก 1ชุด
  • กะระยะ 15 cm.  ตรึงผ้า
  • ทำซ้ำจนรอบโต๊ะ
  • กะระยะลงมา 50 cm. แล้วรวบกลีบทั้ง 5กลีบ  กลัดหมุดติดกัน
  • จับ 2 จีบด้านข้างมารวบติดกัน  แล้วกลัดหมุดตรึง ทำจนหมดแถว (จะเหลือ 1กลีบตรงกลางทุกช่อ)
  • จับจีบด้วยวิธีเดียวกับที่ผ่านมาทั้งแถว เป็นแถวที่ 2
  • แถวที่ 3ทำแบบเดียวกับที่ผ่านมา
  • ดันเหลี่ยมปลายกลีบให้มน  โดยการกดเข้าด้านในให้ต่ำลง  กดให้เสมอกันทุกกลีบ

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนศูนย์ศีกษาและพัฒนาชุมชนนครศรีธรรมราช
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา