ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การเลี้ยงผึ้ง สายพันธ์อิตาลี

โดย : นายภิรมย์ รักษ์เพชร วันที่ : 2017-03-20-10:17:55

ที่อยู่ : 120/8 ม.3 ต.เพิ่มพูนทรัพย์ อ.บ้านาสาร

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เนื่องจากในหมู่บ้านเป็นศูนย์การเรียนรู้ประกอบกับในอดีตบรรพบุรุษตนเคยทำน้ำผึ้งป่าขายเลยถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงผึ้ง  ประกอบกับได้รับการแนะนำจากเพื่อนฝห้เลี้ยงผึ้งสายพันธ์อิตาลี  ในครังแรก ๆ ได้เริ่มเลี้ยงเพียง 5 ลัง  จนปัจจุบันได้เพิ่มเป็น  300 ลัง

วัตถุประสงค์ ->

  1. ประโยชน์ทางการเกษตร ชวยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร เพราะผึ้งช่วยผสมเกสรของพืชในสถานที่ที่เลี้ยงผึเง 
  2. สามารถนำน้ำผึเงไปข่ยเพื่อเพิ่มรายได้แก่ครัวเรือน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์การทำงานประกอบด้วย

  1. ชุด ใช้รองเท้าบูตยาว, กางเกงยีนส์(หรือผ้าหนาหน่อย)ขายาว ให้ปลายกางเกงอยู่ด้านนอกรองเท้า แล้วเอายางรัดไว้กันผึ้งมุดเข้ากางเกง, เสื้อกันหนาวหนาๆ(หรือแบบที่มีฟองน้ำบุข้างใน), ถุงมือยางแบบหนา, หมวกปีกกว้าง และถุงตาข่ายครอบศีรษะ ใช้ผ้าแบบบางๆที่ใช้ตัดเสื้อก็ได้ ขอให้มองทะลุได้สะดวกก็พอ โดยใส่ยางยืดไว้รัดรอบๆคอเสื้อด้วย
  2. อาวุธประจำกาย
  • เหล็กงัด เป็นแผ่นเหล็กแบน กว้างประมาณ 1 นิ้ว ยาว 1 ฟุต หนาสัก 2 ม.ม. ดัดเป็นรูปตัว L ให้ปลายด้านสั้นยาวประมาณ 2 นิ้ว ใช้สำหรับงัดฝารัง หรือแยกคอนรังออกจากกัน เนื่องจากเวลาผึ้งสร้างรัง มันจะใช้ขี้ผึ้งเชื่อมอุดตามรอยต่อต่างๆ ทำให้ใช้มืองัดยาก หากไม่มีเหล็กกว้าง 1 นิ้วก็ใช้เหล็กกว้าง 1 ซ.ม.มาเชื่อมต่อกัน 2 อันก็ได้
  • เครื่องพ่นควัน จะทำให้ผึ้งไม่บินไปมา เพราะโดยสัญชาติญาณของผึ้ง เมื่อเกิดไฟไหม้มันจะเกาะรอบๆรังเพื่อป้องกันรังและตัวอ่อน(แม้ตัวมันจะต้องตาย) ดังนั้นเครื่องพ่นควันจึงเป็นอาวุธสำคัญของเรา แต่หากเป็นช่วงเช้าๆ หรือค่ำๆอาจไม่ต้องใช้ก็ได้เพราะผึ้งยังไม่ดุ แต่ช่วงสายๆ-บ่าย หรือแดดจัดๆ อากาศร้อนๆ ผึ้งจะค่อนข้างดุ เราจึงจำเป็นต้องใช้เครื่องพ่นควันช่วยทำงาน


เครื่องพ่นควันประกอบด้วย 

  1. กระบอกสูบลม ทำจากไม้ 2 แผ่นยึดด้านล่างเข้าด้วยกัน(แต่ให้พับไปมาได้) มีสปริงตรงกลางเพื่อดันให้แผ่นไม้แยกออกจากกัน ใช้ผ้าพลาสติกหนา(ที่มีผ้าบุข้างในจะทำให้ไม่ฉีกขาดง่าย)หุ้มโดยรอย ด้านล่างแผ่นไม้ด้านหนึ่งเจาะรูเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 นิ้ว เพื่อดูดลมเข้า และเป่าลมออก
  2. กระป๋องควัน ใช้กระป๋องนมผงก็ได้ เจาะรูด้านล่าง(สำหรับลงเข้า) กับด้านบน(สำหรับให้ควันออก) แต่ให้อยู่ตรงข้ามกัน รูด้านบนต่อท่อยื่นออกมาสัก 2 นิ้ว จากนั้นยึดทั้ง 2 ส่วนเข้าด้วยกัน โดยให้เว้นช่องจากกระบอกสูบลมให้ห่างจากช่องของกระป๋องควัน 1 นิ้ว(ห้ามเอาชิดกัน หรือต่อท่อหากันโดยเด็ดขาด เพราะจะไม่มีลมเข้า)

 

อุปกรณ์ ->

  1. รังเลี้ยงผึ้ง (Bee Hive) หรือหีบเลียงผึ้ง หรือกล่องเลี้ยงผึ้ง เป็นกล่องรูป สี่เหลี่ยมผืนผ้า ตรงหัวท้ายด้านบนของกล่อง จะเซาะเป็นร่องสำหรับวางคอนผึ้ง ขนาดตัวรังที่นิยมกันในหมู่นักเลี้ยงผึ้งมี 2 แบบ คือ แบบยุโรป หรือเป็นแบบแลงสตร็อธ และแบบไต้หวัน ลักษณะของหีบเลี้ยงผึ้งทั้งสองแบบคล้ายกัน เพียงแต่ขนาดความยาวต่างกัน โดยแบบไต้หวันจะมีขนาดใหญ่กว่า ใส่เฟรมได้ตั้งแต่ 10-15 คอน แต่นิยมใช้ขนาด 10 คอน และมีหน้าต่างมุ้งลวดด้วย แบบ ยุโรปใส่ได้ 10 คอน
  2. คอนหรือเฟรม (Frame) คอนหรือเฟรมเป็นที่สำหรับผึ้งจะสร้างรวงผึ้ง ประกอบ ด้วยไม้ 4 ชิ้น ไม้ชิ้นบนเป็นคอนบน
  3. แผ่นฐานรวงหรือแผ่นรังเทียม เป็นแผ่นไขผึ้งแท้ปั้มเป็นรอยฐานหกเหลี่ยม สำหรับเป็นฐานให้ผึ้งงานได้สร้างหลอดและรวงรังผึ้งให้รวดเร็ว ประหยัดพลังงานของผึ้ง ปัจจุบันสามารถหาซื้อได้สะดวกเป็นแบบมาตรฐาน
  4. ขาตั้งรังผึ้ง สำหรับตั้งรังผึ้ง เพราะบ้านเรามีความชื้นสูง และมีมดมาก การจะตั้ง รังบนพื้นดินนี้ ไม่สะดวกเหมือนต่างประเทศ อาจทำด้วยไม้ หรือเป็นขาตั้งเหล็กก็ได้
  5. ไม้กั้นหน้ารัง เป็นไม้ที่มีช่องสำหรับให้ผึ้งเข้า-ออก ไม้นี้จะวางอยู่ระหว่างฐานรัง สำหรับปิดทางเข้ารังของผึ้ง ในช่วงที่ผึ้งมีประชากรน้อย โดยบังคับทางเข้า-ออกให้เล็กลงเท่าที่ จำเป็นสำหรับผึ้งเท่านั้น
  6. เครื่องมือพ่นควัน (Smoker) เป็นเครื่องมือสำคัญที่นักเลี้ยงผึ้งทุกคนจะต้องมี และนำไปใช้ทุกครั้ง เวลาทำงานอยู่กับรังผึ้ง ทำด้วยกระป๋องสังกะสี อลูมิเนียม หรือสแตนเลส มีฝาครอบรูปกรวยสำหรับพ่นควันออก ด้านหลังเจาะรูให้ลมเข้าและมีที่ปั้มลม ประกอบด้วยไม้ 2 แผ่นบาง ๆ ที่ปั้มลมทำด้วยผ้าหนังมีช่องลมตรงกับรูของกระป๋อง เวลาบีบลมจากกระเปาะจะพุ่งตรงเข้าไปในกระป๋อง ทำให้เชื้อไฟในกระป๋องติดไฟ เกิดควันพุ่งออกจากกรวย
  7. เหล็กงัดรัง (Hive Tool) เป็นแผ่นเหล็กแบนยาวประมาณ 6-8 นิ้ว ปลายด้าน หนึ่งแบนกว้างประมาณ 1 ? นิ้ว ใช้สำหรับแซะฝารังเวลาเปิดรังผึ้งและใช้ขูดยางเหนียว ๆ ที่ติดตามขอบรัง และคอน เหล็กงัดรังนี้จะต้องถือติดอยู่ในฝ่ามือตลอดเวลาที่ทำงานตรวจรังผึ้ง เช่นเดียวกับเครื่องพ่นควันและหมวกกันผึ้งต่อย
  8. หมวกตาข่ายสำหรับกันผึ้งต่อยหน้า หมวกตาข่ายสำหรับกันผึ้งต่อยบริเวณใบ หน้านั้น
  9. ถุงมือ เป็นถุงมือที่มีขนาดความเหนียวและหนาพอที่จะกันผึ้งต่อยบริเวณมือและ นิ้ว ทำด้วยหนังหรือผ้าที่มีความหนาพอสมควร
  10. ชุดเสื้อผ้าที่สวมใส่เวลาทำงาน เป็นชุดหมีสีขาวแขนยาวรัดข้อมือและข้อเท้า ทำด้วยผ้าหนา ๆ กันผึ้งต่อย ถ้าไม่มีชุดดังกล่าวอาจดัดแปลงใช้เสื้อแขนยาวกางเกงขายาวธรรมดา
  11. อุปกรณ์สลัดน้ำผึ้งออกจากรวงรัง ประกอบด้วย แปรงปัดผึ้ง ถังเหวี่ยง (สลัด) น้ำผึ้ง มีด ตะแกรงกรองน้ำผึ้ง ถังเก็บน้ำผึ้ง
  12. อุปกรณ์อื่น ๆ อุปกรณ์ที่ควรจะมีอยู่ตลอดเวลาในการเข้าไปปฏิบัติงานในการ เลี้ยงผึ้ง คือ กล่องเครื่องมือต่าง ๆ ที่สามารถจะใช้ได้ทันทีในเวลาที่ต้องการ ในกล่องควรมีฆ้อน คีม ตะปู เลื่อย ลวด มีดถากไม้ มีดพับคม ๆ มีดบาง (หรือมีดตัดโฟม) กรรไกรเล็ก ๆ กรรไกรตัดลวด กล่องขังนางพญา ยาหม่อง ฯลฯ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การให้อาหาร ปกติแล้วผึ้งจะออกหาอาหารกินเอง อาหารของพืชแบ่งเป็น 2 อย่างหลักๆ คือน้ำหวาน กับเกสรดอกไม้ ซึ่งในช่วงหน้าหนาวที่มีดอกไม้ออกมา โดยเฉพาะต้นงิ้วจะมีดอกมาก และมีน้ำหวานมากเป็นอันดับหนึ่งของพืชทั้งหมดที่สังเกตมา น้ำผึ้งที่ได้จะมีลักษณะเหลืองใส ไม่ข้นมาก แต่ในช่วงหน้าฝน และหน้าแล้งอาหารจะหายาก เราจะต้องหาอาหารมาให้มัน โดยใช้น้ำตาลมาละลายน้ำ ใส่ในคอนใส่น้ำเชื่อม และให้ถั่วเหลืองผงแทนเกสรดอกไม้

  • คอนใส่น้ำเชื่อม เป็นคอนที่ใช้ไม้อัดประกอบขึ้นมาเป็นกล้องสี่เหลี่ยมแบนๆ มีช่องด้านบน ด้านในจะใช้เทียนหรือขี้ผึ้งต้มให้ละลายแล้วเทเคลือบข้างในกันน้ำเชื่อมซึมออกมา แล้วเอาคอนใส่ในรัง เวลาจะเติมน้ำเชื่อมก็เปิดฝารังแล้วเติมน้ำเชื่อมลงไป
  • ถั่วเหลืองผง ใส่ถาดวางไว้บนโต๊ะหรือเก้าอี้ที่พันขาด้วยผ้าชุบน้ำมันเครื่องกันมดขึ้น และอาจทำหลังคาเผื่อหน้าฝนไว้ด้วย โดยตั้งไว้ใกล้ๆหน้ารังผึ้ง

การเพิ่มคอน  เวลาที่เราซื้อรัง(หรือยืม)มา เราจะมีคอนอยู่ 3-4 คอน เพื่อเลี้ยงไปซักพักจำนวนผึ้งจะเริ่มมากขึ้น หากเห็นว่าผึ้งเกาะกันเต็มทุกคอน หรือสร้างรังขึ้นมาเองนอกคอน แสดงว่าคอนที่มีเริ่มไม่พอ เราก็ต้องทำคอน และใส่แผ่นรังเทียมลงไป รูปแบบของคอนน่าจะทำได้จากคอนต้นแบบที่ได้มาเป็นตัวอย่าง เทคนิคในการทำคอนก็คือ ลวดที่ใช้ควรใช้ลวดปลอดสนิม ไม่งั้นเวลาเอามาใช้ครั้งต่อไปจะต้องได้เปลี่ยนลวดเพราะสนิมขึ้น วิธีการติดรังเทียมใส่คอนก็คือ

  1. หาแผ่นไม้เรียบ หนาสัก 1 ซ.ม. ขนาดเท่ากับรังเทียม(หรือเล็กกว่านิดหน่อย) และทำให้แผ่นไม้ลอยสูงจากพื้นขึ้นมาสัก 1 นิ้ว
  2. วางรังเทียงลงบนแผ่นไม้
  3. วางคอนที่ขึงลวดแล้วลงไปด้านบนของรังเทียม ซึ่งน้ำหนักของคอนจะทำให้ลวดชิดกับผิวรังเทียม
  4. นำแบตเตอร์รี่ขนาด 6 โวลต์ มา 1 ลูก ต่อสายไฟขั้ว + และ – ออกมาขั้วละเส้น ที่ปลายลวดให้เอาไปพันกับตะปูขนาดกลาง ให้เทปพันลวดกับตะปูให้แน่น และอาจพันนิดหน่อยเพื่อกันความร้อน ถ้ามีหม้อแปลงก็สามารถแปลงไฟบ้านมาใช้ได้เลย
  5. ใช้หัวตะปู(ด้านที่บานนะครับ ไม่ใช่ด้านปลายแหลม) ทั้ง 2 อันจิ้มลงไปที่ลวด โดยให้ห่างกันประมาณ 10 – 15 ซ.ม.(แล้วแต่ความร้อน และความชำนาญ) และกดลงไปนิดหน่อย ซึ่งกระแสไฟจะทำให้ลวดร้อน และจมลงไปในรังเทียม ให้ลวดจมลงไปจนถึงกลางแผ่นแล้วจึงยกตะปูออก 1 อัน(อีกอันกดไว้กันลวดเด้งกลับคืน) รอไม่กี่วินาทีให้ขี้ผึ้งเย็นตัว แล้วจึงทำจุดต่อไป

         การเพิ่มคอนจะเพิ่มครั้งละ 1 – 2 คอน ตามจำนวนผึ้ง บางครั้งอาจใช้คอนเก่าที่ปั่นน้ำผึ้งออกไปแล้วก็ได้ ซึ่งจะทำให้ใช้เวลาสร้างน้อยลง ใน 1 กล่องจะใส่คอนได้ประมาณ 10 คอน ถ้ามีมากกว่านี้ก็ต้องขยายรังใหม่

การขยายรัง และการสร้างนางพญา

  • การสร้างนางพญานั้น ปกติเมื่อผึ้งมีปริมาณมากๆมันจะสร้างนางพญา และผึ้งเพศผู้ขึ้นมาเอง การจะสังเกตว่ามีการสร้างนางพญาหรือเปล่านั้นให้เราสังเกตในรังว่ามีช่องตัวอ่อนที่ใหญ่ผิดปกติหรือเปล่า ซึ่งช่องนางพญานั้นจะสังเกตไม่ยากเพราะใหญ่กว่าช่องธรรมดา 2-3 เท่า ใน 1 รังอาจจะสร้างนางพญาเพิ่มขึ้นมา 3-5 ตัว แต่ผึ้งจะสร้างก็ต่อเมื่อมันพร้อมเต็มที่เท่านั้น ดังนั้นเราจะต้องจูงให้ให้มันสร้างนางพญาขึ้นมาให้เรา โดยเมื่อเราเห็นว่าเรามีคอน 6 คอนขึ้นไปเราก็พร้อมที่จะแยกรังแล้ว
  • การจูงใจให้สร้างนางพญา ผมใช้วิธีการสร้างช่องนางพญาเทียมขึ้นมา โดยใช้ดินสอธรรมดานี่แหละ(เอาแบบที่ยังไม่ได้เหลา) โดยเอาขี้ผึ้งมาลนไฟให้พอนิ่ม(ใช้ไฟแช็ค, เตาแก๊ส หรือเตาถ่านที่ไม่มีควัน อย่าใช้เทียนเพราะมีเขม่าควันไฟ ทำให้ผึ้งไม้เข้าใกล้) จากนั้นเอามาโอบใส่ปลายดินสอให้ได้ช่องลึกประมาณ 1.5-2 ซ.ม. จากนั้นเอาไปแปะใส่คอนเปล่าที่ไม่ใส่ลวด โดยหันช่องขึ้น, ลง หรือข้างๆก็ได้ ซึ่งจำนวนช่องที่ทำควรจะมากกว่าจำนวนนางพญาที่ต้องการครึ่งหนึ่ง เช่นต้องการแยกไปอีก 10 รัง ก็ควรทำช่องสร้างนางพญาสัก 15 ช่องขึ้นไปเผื่อบางช่องไม่สร้างนางพญา
  • หลังจากใส่ไปสัก 2-3 วันก็ลองไปส่องดูในช่องที่เราทำ หากมองเห็นไข่วางอยู่ในนั้นก็แสดงว่าน่าจะได้นางพญาแล้ว และภายใน 2 อาทิตย์ก็จะได้นางพญาใหม่
  • การจะแยกรังได้นั้นเราต้องรอให้นางพญาผสมพันธุ์เสร็จก่อน โดยช่วงที่มีนางพญาเพิ่มขึ้นมา ผึ้งจะสร้างผึ้งเพศผู้ขึ้นมาจำนวนมาก(หลายร้อยตัว) ลักษณะผึ้งเพศผู้จะใหญ่กว่าผึ้งงานประมาณครึ่งหนึ่ง ตัวอ้วนป้อม ไม่มีเหล็กใน สังเกตว่าวันไหนที่เห็นผึ้งตัวผู้จำนวนมากออกมาบินบริเวณหน้ารัง(จะเป็นช่วงกลางวันที่อากาศดีๆ) แสดงว่านางพญากำลังผสมพันธุ์ ซึ่งนางพญาจะผสมแค่ครั้งเดียวในชีวิต เมื่อผ่านไป 2-3 วัน จนไม่เห็นผึ้งตัวผู้ออกมาบินอีกแสดงว่าช่วงการผสมพันธุ์เสร็จสิ้นแล้ว นางพญาพร้อมที่จะแยกรังได้ทันที
  • การแยกรังนั้น เราจะต้องเตรียมกล่องใหม่ให้พร้อม ใช้ตาข่ายเหล็กปิดทางออกให้สนิท จากนั้นนำคอนผึ้ง 2-3 คอนแยกไปใส่กล่องใหม่(ต้องแน่ใจว่ากล่องเดิมยังมีนางพญาอยู่) หากในคอนที่แยกไปนั้นมีนางพญาอยู่แล้ว 1 ตัวก็ไม่ต้องหานางพญาจากที่อื่นมาใส่ แค่ปิดทางออกให้สนิทไว้สัก 1-2 วันก็พอแล้ว และในรังจะต้องใส่น้ำเชื่อมไว้ให้เพียงพอด้วย
  • หากเราแยกรังโดยใช้นางพญาจากรังอื่น หรือกรณีที่นางพญารังเก่าตายเราจึงต้องหานางพญาอื่นมาใส่แทน เราต้องสร้างกล่องไม้ขนาด 3x3x6 ซ.ม. ขึ้นมา โดยเปิดช่องด้านบนไว้ 1 ด้าน(อาจใช้ขวดยาพลาสติกที่ตัดด้านข้างออกก็ได้) และใส่ตาข่ายเหล็กปิดช่อง ในกล่องให้ใส่สำลีชุบน้ำเชื่อม แล้วเอานางพญา กับผึ้งงาน(ที่เคยอยู่รังเดียวกับนางพญา) 4-6 ตัวใส่ลงไปในกล่อง และปิดตาข่ายไม่ให้ผึ้งตัวอื่นเข้าไปทำร้าย จากนั้นเอากล่องนางพญาไปใส่ไว้ในกล่องที่ปิดทางเข้า และปล่อยไว้อย่างนั้น 2-3 วันเพื่อให้ผึ้งงานเชื่อฟังนางพญาใหม่ จากนั้นจึงปล่อยนางพญาออกมา โดยในรังจะต้องใส่น้ำเชื่อมไว้ให้เพียงพอด้วย 

 

การเก็บน้ำผึ้ง   การเก็บน้ำผึ้งมี 2 แบบ คือแบบคั้นน้ำผึ้งทั้งคอน กับแบบเปิดหน้าแล้วปั่นน้ำผึ้ง

  • แบบคั้นน้ำผึ้งทั้งคอนเป็นแบบง่ายๆ คือตัดรังทั้งหมดออกมาจากคอน แล้วคั้นด้วยมือ(หรืออุปกรณ์ช่วยอื่นๆ) แล้วกรองเอาเศษต่างออก แบบนี้ทำง่าย ไม่ยุ่งยาก แต่เราไม่สามารถเอารังเก่าไปใช้ได้อีก เราจะต้องเอาคอนไปใส่รังเทียมใหม่ และให้ผึ้งสร้าง(ศัพท์เทคนิคเรียกว่า ดึง)รังขึ้นมาใหม่ ซึ่งเสียเวลาทั้งคนและผึ้ง
  • แบบเปิดหน้าแล้วปั่นน้ำผึ้ง จะใช้เครื่องปั่นแบบเหวี่ยง สามารถเหวี่ยงได้ครั้งละประมาณ 3 คอนพร้อมกัน(แล้วแต่ว่าจะสร้างมาสำหรับใส่ได้กี่คอน) จุดลำบากในการเก็บน้ำผึ้งแบบนี้อยู่ที่การปาดหน้ารัง เพราะเวลาที่น้ำผึ้งถูกเก็บจนเต็มช่อง ผึ้งจะสร้างขี้ผึ้งขึ้นมาปิดช่องเหล่านั้น(คอนไหนไม่ทันสร้างถือว่าโชคดี) เราจะต้องเปิดช่องเหล่านั้นก่อนจึงจะสามารถปั่นเอาน้ำผึ้งออกมาได้ การปาดหน้าจะใช้มีดปลายแหลมเล็กๆ ยาวๆ จุ่มไว้ในน้ำร้อน แล้วปาดเอาขี้ผึ้งที่ปิดหน้ารังออก ส่วนที่ปาดออกก็เอาไปคั้นอีกที โดยมีดจะต้องร้อนอยู่ตลอดเวลา ไม่อย่างนั้นจะปาดได้ไม่ดี ผมเลยประยุกต์ใช้เทคนิคเดียวกับการใส่รังเทียม คือให้ลวดต่อกับแบตมาใช้แทนมีด ซึ่งผมเอาไม้ไผ่มาผ่ากลางทำเป็นรูปตัว Y จากการใช้ก็ใช้ได้ดีพอสมควร ร้อนได้ที่ และไม่ต้องไปจุ่มน้ำร้อนบ่อยๆ จะมีจุดด้อยก็ตรงที่ลวดไม่แข็ง กับปลายไม้ไปขูดกับรัง 
  • หากเราใช้แบบปั่น เราจะสามารถเอารังที่ปั่นน้ำผึ้งออกแล้วมาใช้ได้อีก แต่ไม่ควรใช้เกิน 2 รอบ เพราะดำ และช่องจะเล็กลงเรื่อยๆ

การสกัดขี้ผึ้งจากเศษเหลือ

  • จะใช้วิธีการนึ่งเหมือนนึ่งข้าวเหนียว แต่จะมีถ้วยไว้รองที่ด้านในของหม้อต้มด้วย ขี้ผึ้งที่ได้จากการนึ่งครั้งแรกจะมีน้ำ และกากสีดำปนอยู่ด้วย ให้เรานำมาวางให้เย็นจะสามารถแยกขี้ผึ้งออกจากน้ำได้ ส่วนวิธีการจัดการกากสีดำออกนั้นให้เราเอาไปหลอมให้ละลาย และแยกออกตอนที่ยังละลายอยู่ วิธีการหลอมขี้ผึ้งนั้นห้ามวางหม้อบนไฟตรงๆโดยเด็ดขาด เพราะขี้ผึ้งจะไหม้เป็นสีดำ ให้ใช้การลอยหม้อขี้ผึ้งบนน้ำเดือดจะไม่ทำให้ขี้ผึ้งไหม้

ข้อพึงระวัง ->

ศัตรูผึ้ง

  1. ตัวต่อ จะเข้าไปกินตัวอ่อน แก้ไขได้โดยกำจัดรังต่อโดยไปทำลายรัง(ชาวบ้านคงเต็มใจช่วยเอาลงมากิน) หรือดักจับตัวต่อ แล้วเอามาคลุกใส่ DDT ผงเล็กน้อย(เอา DDT ใส่ถุงนิดหน่อย แล้วเอาต่อใส่ถุง เขย่าพอให้ DDT ติดตัวต่อ แต่ระวังเหล็กในมันด้วย มันสามารถแทงทะลุถุงมือยางได้อย่างสบาย) แล้วปล่อยมันไป เมื่อกลับไปรังก็จะทำให้ต่อในรังตายไปด้วย ทำแบบนี้ไปซักพักก็จะหมดปัญหา
  2. ไรผึ้ง ต้องหายามาฉีดพ่น

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนศูนย์ศีกษาและพัฒนาชุมชนนครศรีธรรมราช
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา