ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

ผ้าปาเต๊ะเพ้นท์ลาย หรือผ้าปาเต๊ะปักลูกปัด

โดย : นางหมีหน้า อุสาหะ วันที่ : 2017-02-22-21:13:18

ที่อยู่ : 118/47 ม.6 ต.ป่าคลอก อ.ถลาง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

คำว่าปาเต๊ะ เป็นภาษามลายู แหล่งกำเนิดของผ้าปาเต๊ะในชวา อินเดีย จีน แต่ละแห่งจะแตกต่างกันเล็กน้อย โดนเฉพาะที่เกาะชวาการทำผ้าปาเต๊ะจะมีเทคนิคการทำที่สูงมาก โดยเฉพาะลวดลาย การนย้อมสี ตลอดจนเนื้อผ้าอินโดนีเซียที่ได้รับยกย่องว่าเป็นผ้าปาเต๊ะชั้นสูง
เนื่องจากภาคใต้ ส่วนมากนิยมนำผ้าปาเต๊ะเป็นเครื่องแต่งกายประจำท้องถิ่น โดยเฉพาะจังหวัดภูเก็ต อันเป็นจุดประกายให้ทางกลุ่มไสนใจ ศึกษา รวบรวมข้อมูล และออกแบบสร้างสรรค์ผลงาน โดยมุ่งเน้นออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ผู้คนให้ความนิยมในท้องถิ่นของจังหวัดภูเก็ต เน้นให้มีลวดลายที่โดดเด่น สะดุดตา และสวยงามประณีตต่อผู้พบเห็น วัสดุ สี ลูกปัด วัตถุดิบ ที่เลือกใช้ในงานต้องเป็นวัสดุที่คัดสรรอย่างมีคุณภาพ ด้วยลวดลายที่บ่งบอกถึงความงามที่มาจากภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนอย่างลงตัว ซึ่งเป็นที่นิยมของสตรีทุกวัย

วัตถุประสงค์ ->

  • เพื่อทำให้ทำให้คนในชุมชนมีความผูกพัน รัก สามัคคี ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ร่วมกัน และเป็นการถ่ายทอดประสบการณ์องค์ความรู้จากรุ่นสู่รุ่น อีกทั้งยังเป็นการสร้างรายได้ให้กับครอบครัว และเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ให้กับผู้ที่มีความสนใจ นักเรียน นักศึกษา สามารถนำไปใช้ประกอบการเรียนการสอน บุคคลทั่วไปสามารถนำไปประกอบอาชีพได้เช่นกัน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ผ้าปาเต๊ะเพ้นท์สี

  • ผ้าปาเต๊ะ (เนื้อดี)
  • สีเพ้นท์ (ไดลอน 3D)
  • กระดาษหนังสือพิมพ์
  • น้ำยาล้างเล็บ
  • สำลีก้าน

ผ้าปาเต๊ะปักเลื่อม

  • ผ้าปาเต๊ะ (เนื้อดี)
  • เลื่อมหรือลูกปัดสี (ตามชอบ)
  • ด้าย (สีด้ายให้เข้ากับลูกปัด)
  • ผ้ากาว (สำหรับอัด)

เสื้อยืดเพ้นท์

  • กระดาษแข็ง
  • เข็มกลัดผ้า
  • ดินสอ
  • ยางลบ

อุปกรณ์ ->

ผ้าปาเต๊ะเพ้นท์สี

  • กระดาษหนังสือพิมพ์
  • เข็มหมุด

ผ้าปาเต๊ะปักเลื่อม

  • สลึง
  • เข็มเบอร์ 10
  • กรรไกร

เสื้อยืดเพ้นท์

  • พู่กัน
  • กระดาษแข็ง
  • เข็มกลัดผ้า
  • ดินสอ
  • ยางลบ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ผ้าปาเต๊ะเพ้นท์สี

  1. นำกระดาษหนังสือพิมพ์รองใต้ผ้าปาเต๊ะ ใต้ช่องรูปภาพที่ต้องการเพ้นท์ กลัดด้วยเข็มหมุดตรงตำแหน่งที่ต้องการ เพื่อป้องกันผ้าเคลื่อนและไม่ให้สีที่เพ้นท์ซึมติดเนื้อผ้าในส่วนอื่น
  2. เมื่อเริ่มเพ้นท์ ต้องทำการเทียบสีกับผ้าปาเต๊ะ เพื่อให้สีที่เราต้องการเพ้นท์เกิดความสวยงามสะดุดตา และไม่เพี้ยนเวลาลงสีจริง ให้เริ่มจากด้านบนของผ้าลงมาด้านล่าง เพื่อป้องกันไม่ให้มือเลอะสีขณะกำลังเพ้นท์ เมื่อเราลงสีเพ้นท์เรียบร้อยแล้ว นำผ้ามากางผึ่งไว้ในที่ร่มประมาณ 24 ชม. เพื่อให้สีที่เพ้นท์ไว้แห้งสนิทแล้วจึงค่อยดึงเข็มออก แล้วนำผ้ามาซักตามปกติ โดยไม่ต้องกลัวว่าสีจะหลุดออก จากนั้นนำไปตากผึ่งลมไว้ให้แห้งอีกครั้ง แล้วจึงนำมารีด โดยรีดจากด้านในของผ้า ใช้ความร้อนปานกลาง หากร้อนเกินไปผ้าจะไหม้ ตรวจสอบความสวยงามและความเรียบร้อยอีกครั้ง
  3. ตั้งแต่เริ่มต้นจนผลิตภัณฑ์เสร็จเรียบร้อย เป็นกระบวนการการผลิตที่ใช้เวลาอย่างน้อย 1-2 วัน (หากเป็นผ้าที่มีความละเอียดมากๆ อาจจะต้องใช้เวลาเพ้นท์สีอย่างน้อย 2-3 วัน / ชิ้นงาน) ได้ผลิตภัณฑ์ที่พร้อมออกจำหน่ายต่อไป

 ผ้าปาเต๊ะปักเลื่อม

  1. นำสดึงมารองใต้ช่อรูปภาพบนผ้าปาเต๊ะที่ต้องการปัก สำหรับปักต้องเริ่มปักจากด้านล่างขึ้นไปด้านบน
  2. เมื่อเริ่มปักผ้า ต้องทำการเทียบสีลูกปัดกับผ้าปาเต๊ะ เพื่อให้สีลูกปัดเกิดความสวยงามสะดุดตา ในการปักผ้าให้ออกแบบมาในลักษณะไหน เราต้องใส่ความคิดสร้างสรรค์ ใส่ตามจินตนาการของผู้ปัก อาจจะปักให้ดูอ่อนหวาน เก๋ เปรี้ยว หรือต้องการให้มีความโดดเด่น สามารถเล่นลวดลายได้หลายแบบไม่มีการกำหนดตายตัว สามารถนำสีเพ้นท์เข้ามาเติมแต่งได้ตามชอบ เพื่อเพิ่มความสวยงามแปลกตา และจำเป็นต้องใช้ความชำนาญและประสบการณ์ในการปักด้วย เช่นกัน
  3. ตั้งแต่เริ่มต้นจนผลิตภัณฑ์เสร็จเรียบร้อย เป็นกระบวนการการผลิตที่ใช้เวลาอย่างน้อย 10-12 วัน (หากเป็นผ้าที่มีความละเอียดมากๆ อาจจะต้องใช้เวลาปักอย่างน้อย 12-15 วัน / ชิ้นงาน) ได้ผลิตภัณฑ์ที่พร้อมออกจำหน่ายต่อไป

เสื้อยืดเพ้นท์

  1. นำกระดาษแข็งมารองตรงส่วนของตำแหน่งเสื้อที่จะเพ้นท์ ใช้เข็มกลัดให้ตึงเพื่อสะดวกต่อการร่างแบบและลงสี จากนั้นร่างแบบด้วยดินสอตามต้องการ 
  2. เมื่อร่างแบบเสร็จแล้ว ก็สามารถลงสีได้ โดยการลงสีนั้นเราสามารถทำตามชอบโดยถ้าถนัดแขนขวาให้ลงจากทางด้านซ้ายก่อน ถ้าถนัดแขนซ้ายให้เริ่มลงสีจากทางด้านขวา เพื่อไม่ให้เลอะมือและสีเปื้อนไปถูกตำแหน่งอื่น หรือเริ่มจากบนลงล่างก็ได้ เสร็จแล้วนำไปตากให้สีแห้งสนิท เมื่อแห้งดีนำกระดาษแข็งออก นำผ้ามารีดจากด้านในให้เรียบร้อย
  3. ตั้งแต่เริ่มต้นจนผลิตภัณฑ์เสร็จเรียบร้อย เป็นกระบวนการการผลิตที่ใช้เวลาอย่างน้อย 3-5 วัน (หากเป็นลายที่มีความละเอียดมากๆ อาจจะต้องใช้เวลาลงสีอย่างน้อย 5-7วัน / ชิ้นงาน) ได้ผลิตภัณฑ์ที่พร้อมออกจำหน่ายต่อไป

ข้อพึงระวัง ->

-

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนศูนย์ศีกษาและพัฒนาชุมชนนครศรีธรรมราช
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา