ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

เพ้นผ้าปาเต๊ะ

โดย : นางหมีหน้า อุสาหะ วันที่ : 2017-02-17-15:47:02

ที่อยู่ : 118/47 ม.6 ต.ป่าคลอก อ.ถลาง จ.ภูเก็ต เพ้นผ้าปาเต๊ะ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

"ผ้าปาเต๊ะ" เครื่องนุ่งห่มอันเป็นเอกลักษณ์ของชายหญิงแดนใต้ ด้วยสีสันและลวดลายที่สดใสสวยงาม บ่งบอกถึงวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี ซึ่งแม้กรรมวิธีการผลิต การวาดลวดลายจะไม่แตกต่างกับผ้าบาติกมากนัก หากแต่ผ้าปาเต๊ะมีลวดลายที่ประณีตซับซ้อนกว่า และมีมากกว่าสองลายขึ้นไปบนผ้าผืนเดียว 

นั่นจึงทำให้ผ้าปาเต๊ะมีความโดดเด่นสะดุดตา ผสมผสานกับฝีมือการเล่นสีอะคริลิก ผสมสีกากเพชร แต่งแต้มลวดลายตามจินตนาการ ยิ่งช่วยเพิ่มมูลค่าให้ผ้าปาเต๊ะยิ่งดูมีคุณค่า กลายเป็นผ้าที่มีราคา และเป็นที่ต้องการของคนทั่วไป 

วัตถุประสงค์ ->

  1. เพื่ออนุรัษ์การแต่งกาย
  2. เพิ่มรายได้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

1.ผ้าฝ้าย,ผ้าไหม,ผ้าเรยอง,หรือผ้าที่ทำจากใยธรรมชาติ
2.ขี้ผึ้ง
3.ปากกาเขียนเทียน,ลูกตุ้ม,หรือ กรวยที่เรียกว่าซานติ้ง
4.ภู่กันกลม No.12 ภู่กันแบน No.12 หรือ No.22 ภู่กันปากแหลมหรือแปรงขนกระต่าย
5.กรอบไม้สี่เหลี่ยมสำหรับขึงผ้า และหัวหมุด
6.กระป๋องเคลือบขนาด 1 ลิตร สำหรับใส่ขี้ผึ้งตั้งไฟ
7.ดินสอดำ 4B,6B สำหรับร่างลาย
8.กระดาษบรูชสำหรับร่างลาย ปากกาเมจิกสำหรับเขียนลาย
9.สำหรับระบายหรือเพ้นท์บาติก น้ำยาเคลือบ (Fixative)
10.กระปุกพลาสติกสำหรับใส่สีมีฝาปิด แก้วพลาสติกสีขาว
11.กระปุกหรือแก้วขนาดใหญ่ สำหรับใส่น้ำล้างภู่กัน

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. เตรียมลาย โดยร่างลายลงบนกระดาษ แล้วใช้ปากกาเมจิกเขียนลายให้คมชัด นำผ้าขาวมาวางบนลายแล้วลอกลายด้วยดินสอดำ 4B,6B เขียนเส้นดินสอเบาๆ

2. การเตรียมน้ำเทียน โดยใช้ขี้ผึ้งอย่างดีที่มีคุณสมบัติเหนียว ใส่กระป๋องเคลือบตั้งบนไฟจนขี้ผึ้งละลายใช้ปากกาเทียนเรียกว่า ซานติ้ง (Tjanting) จะเป็นลูกตุ้ม กรวย หรือแปรง แล้วแต่ถนัด ถ้าต้องการให้เส้นเทียนใหญ่ก็ใช้ลูกตุ้ม แต่ถ้าต้องการให้เส้นเทียนเล็กก็ใช้กรวย แล้วแต่ความเหมาะสมของลวดลาย จุ่มหรือตักให้น้ำเทียนหยดจนเกือบหมด แล้วจึงนำมาเขียนตามลาย ที่ล่างเอาไว้ด้วยดินสอ เวลาเขียนเทียนด้วยน้ำเทียน
ต้องระวังให้เส้นเทียนต่อเนื่องอย่าให้เส้นขาด เพราะจะทำให้สีที่ระบายซึมออกมา
น้ำเทียนต้องไม่ร้อนจัดเกินไป เพราะจะทำให้เส้นเทียนใหญ่และกระจายมากเกินไป อย่าให้สีซึมผ่านออกจากลาย แต่ถ้าน้ำเทียนเย็นเกินไปก็จะทำให้น้ำเทียนลอยอยู่บนผ้า ไม่ทะลุผ่านผ้าไปด้านหลังเวลาระบายสีก็จะทำให้สีซึมผ่านเส้นเทียนได้อีกเช่นกัน

3.การเตรียมสี หรือเพ้นท์สี ใช้สีผง 1 g หรือ 1 ช้อนกาแฟเล็ก น้ำเปล่าบริสุทธิ์ หรือน้ำร้อน ประมาณ 3-10 ช้อนโต๊ะ นำสีและน้ำมาผสมกันให้ได้ความเข้มข้น กวนสีให้ละลายและเทสีใส่กระปุกที่มีฝาปิด สีที่ละลายแล้วเมื่อใช้เสร็จแล้วควรจะปิดฝาให้สนิท ถ้าสีแห้งให้เติมน้ำลงไปก็จะใช้ได้อีกตลอดจนกว่าสีจะหมด สีที่ผสมแล้วสามารถเก็บไว้ได้เป็นเดือนถ้าไม่เสื่อมคุณภาพ หากต้องการให้สีอ่อนก็หาแก้วพลาสติกเทสีใส่แล้วเติมน้ำลงไปอีก

4.วิธีระบาย หรือเพ้นท์
1.ใช้พู่กัน No.20,22 จุ่มน้ำระบายให้ทั่วลายแล้วทิ้งไว้ให้หมาดๆ
2.ใช้พู่กัน No.12 จุ่มสีระบายตามความต้องการ
3.จุ่มสีใหม่แต่ละครั้งก่อนระบายควรล้างภู่กันให้สะอาด 2 น้ำ
4.เช็ดภู่กันให้แห้ง แล้วจึงจุ่มระบายสีต่อได้
5.เคลือบน้ำยากันสีตก เมื่อผ้าที่เพ้นท์แห้งแล้ว
6.ใช้แปรงขนกระต่ายจุ่มน้ำยาเคลือบ (โซเดียมซิลิเกต) โดยทาหรือระบายให้ทั่ว
7.ตรวจดูทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
8.ทิ้งไว้ประมาณ 3-6 ช.ม. หรือมากกว่านั้นยิ่งดี
9.นำผ้าไปล้างในน้ำสะอาดหลายๆน้ำ ให้แช่ผ้าไว้ในน้ำตลอด
10.วิธีการต้มผ้าเอาเทียนออกต้มน้ำให้เดือดใส่ผงซักฟอกลงไป นำผ้าลงไปต้มประมาณ 10-20 นาที แล้วนำผ้าขึ้นมาซักในน้ำสะอาด (ทำอย่างนี้ 2-3 ครั้ง จนกว่าเส้นเทียนจะละลายออกไปหมด) จึงนำผ้าไปตาก

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนศูนย์ศีกษาและพัฒนาชุมชนนครศรีธรรมราช
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา