ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การผลิตก้อนเชื้อเห็ดภูฐาน

โดย : นายอภิภู พลพัตธนดล วันที่ : 2017-02-03-16:42:14

ที่อยู่ : 83 หมู่ 6 ตำบลบ้านพราน อำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เห็ดเป็นสินค้าเกษตรที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภค มีรดชาดที่เป็นเอกลักษณ์ และมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ตลาดมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง การเพาะเลี้ยงเห็ดจึงถือว่าเป็นอาชีพที่มีความสำคัญสามารถนำไปสร้างรายได้อย่างดียิ่ง

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ถึงกระบวนการในการผลิตก้อนเชื้อเห็ดภูฐานอย่างถูกขั้นตอนเพื่อดอกเห็ดที่ออกมามีคุณภาพและความสมบูรณ์

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1)     ขี้เลื่อยยางพารา              100      กิโลกรัม

2)     รำละเอียด                       5        กิโลกรัม

3)     แร่ภูไมท์                        1        กิโลกรัม

4)     แร่ไดโลไมท์                     1        กิโลกรัม

5)     แป้งข้าวเหนียว                 1        กิโลกรม

6)     ยิบซั่ม                           0.5     กิโลกรัม

7)     ดีเกลือ                          7        ขีด

8)     น้ำ ทำความชื้น

อุปกรณ์ ->

1)      ถุงพลาสติกทนร้อนขนาด 7X11 นิ้ว

2)      คอขวดพลาสติกและจุกแบบประหยัด (ใช้ตอนนึ่งก้อนเชื้อ)

3)     สำลีหรือใยฝ้าย และยางรัด

4)     หัวเชื้อเห็ดชนิดที่จำทำ

5)     หม้อนึ่งหรือเตานึ่งความดันสูง

 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. นำขี้เลื่อยไม่ยางพารา 100 กก. มาทำกอง หรือใส่เครื่องผสม

2. นำวัสดุทั้งหมดที่เตรียมไว้มาผสมคลุกเคล้ากับขี้เลื่อยไม้ยางพาราให้เข้ากัน

3.  นำดีเกลือละลายในน้ำ 1 ถุงสีแล้วเทใส่ในกองขี้เลื่อยผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน

4. เติมน้ำลงไปให้ได้ความชื้นประมาณ 70% โดยกำดูส่วนผสมว่าได้ความชื้นขนาดที่ต้องการหรือไม่ โดยดูจากการกำแล้วปล่อยถ้าส่วนผสมแตกไม่มากถือว่าใช้ได้

5. นำไปบรรจุใส่ถุง กดหรือทุบให้แน่น ใส่คอขวดพลาสติกดึงปากถุงให้แน่นแล้วเอาสำลีหรือใยฝ้ายอุดให้แน่นแล้วใส่จุกพลาสติก

6. นำก้อนเชื้อทั้งหมดเข้าหม้อนึ่งหรือเตานึ่งความดันสูงโดยนึ่งที่อุณหภูมิ 90-100 องศา ประมาณ 4 ชั่วโมงปล่อยให้เย็น นำไปเก็บในที่ปลอดภัยจากเชื้อโรค และแมลง ใช้ผ้าคลุมอีกชั้นหนึ่งเพื่อกันแมลงเข้ากัดกิน

7. นำก้อนไปเข้าห้องเขี่ยเชื้อ โดยใส่เชื้อพอประมาณแล้วปิดด้วยสำลีหรือใยฝ้าย ปิดด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์แล้วใช้ยางรัดให้แน่น

8. นำไปพักเพื่อให้เชื้อเดินพร้อมที่จะนำไปเข้าโรงเรือนเพื่อเปิดดอกหรือจำหน่าย

ข้อพึงระวัง ->

1)     เวลาเขี่ยเชื้อต้องล้างมือให้สะอาด ไม่เปิดพัดลมใส่

2)     โรงเรือนต้องไม่มืดทึบ ควรปล่อยให้อากาศเข้าได้และถ่ายเทได้สะดวก

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนศูนย์ศีกษาและพัฒนาชุมชนเพชรบุรี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา