ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การเพาะเห็ดนางฟ้า

โดย : นางสาววริญญา พยอม วันที่ : 2017-02-06-13:07:05

ที่อยู่ : 17 หมู่ที่ 7 ตำบลปอน อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน 55130

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เนื่องจากเกษตรกรกลุ่มเพาะเห็ดบ้านป่าเปือย  หมู่ที่ 7  ตำบลปอน  อำเภอทุ่งช้าง  จังหวัดน่าน  มีอาชีพหลักคือทำนาข้าวและปลูกผักเป็นอาชีพเสริม  แต่รายได้ไม่เพียงพอกับสมาชิกในครัวเรือน  จึงเข้ารับการฝึกอบรมและฝึกปฏิบัติจากศูนย์ส่งเสริมอาชีพจากวิทยาลัยการเกษตรเชียงราย  และเกิดความคิดว่าน่าจะทำรายได้ดีให้กับครอบครัวได้ในช่วงที่เว้นจากการทำนาจึงจัดตั้งกลุ่มในเครือญาติ  โดยได้ดำเนินการผลิตก้อนเชื้อเห็ดเพื่อเปิดดอกและจำหน่ายเป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้  และเกษตรกรสามารถพึ่งตนเองได้

วัตถุประสงค์ ->

1.      เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรในกลุ่ม

2.      เพื่อสร้างอาชีพให้แก่เกษตรกรในหมู่บ้าน

3.      เพื่อสร้างโอกาสให้แก่เกษตรกรในหมู่บ้านให้มีความรู้เรื่องการผลิตก้อนเชื้อเห็ดและการเพาะเห็ด

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.      ขี้เลื่อย

2.      หัวเชื้อเห็ด

อุปกรณ์ ->

1.      เชื้อเห็ดนางฟ้า

2.      ขี้เลื่อยยางพารา (จะให้ผลดี)

3.      ปูนขาว

4.      ดีเกลือ

5.      ถุงร้อนท้ายจีบ ขนาด 61/2" x  121/2”

6.      คอขวดพลาสติกสำเร็จรูป พร้อมฝาจุกพลาสติก

7.      ถังนึ่ง ขนาด 200 ลิตร (ควรมีตะแกรงรองด้านในก้นถัง)

8.      หนังสือพิมพ์

9.      ยางสำหรับรัดปากถุง

10.  แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ

11.  บัวรดน้ำหรือสายยาง

12.  โรงเรือนสำหรับเพาะเห็ดนางฟ้า

 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. การเตรียมโรงเรือนสำหรับเพาะเห็ดนางฟ้า  ควรเป็นแบบที่สร้างง่ายจากวัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่น

เช่น  หญ้าแฝก  ไม้ไผ่  เป็นต้น

         2. การทำก้อนเชื้อเพาะเห็ดนางฟ้า  จำเป็นต้องหาวัสดุที่ได้ผลดี ได้แก่ ขี้เลื่อยยางพารา  การหยอดเชื้อเห็ดและการเพาะบ่มเห็ดนางฟ้า  เมื่อทำก้อนเชื้อเสร็จแล้วนำก้อนเห็ดที่ได้มานึ่งฆ่าเชื้อ  โดยใช้ถัง 200 ลิตร นึ่งแบบลูกทุ่งหรือนึ่งแบบไอน้ำใช้อุณหภูมิ 100 องศา  ประมาณ 3-5 ชั่วโมง  ผ่านการฆ่าเชื้อแล้วพอเย็นหยอดเชื้อเห็ดลงในก้อนเชื้อประมาณ 20-25 เม็ดต่อก้อน  ใช้สำลีปิดปากขวดพร้อมใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ปิดก้อนเชื้อรัดด้วยยาง

         3. การเก็บเกี่ยวผลผลิตเห็ดนางฟ้า  เป็นช่วงระยะของการเปิดดอกมีความชื้นสูงอากาศไม่ร้อน  เมื่ออากาศเย็นจะออกดอกได้ดี  การเก็บต้องโยกดอกเห็ดขึ้นลงเพื่อให้ดอกเห็ดหลุดง่ายจะได้ไม่ขาดและเน่า ดอกเห็ดที่ควรเก็บดอกไม่ควรแก่หรืออ่อนเกินไป

         4. ปัญหาที่พบในการเพาะเห็ดนางฟ้า ได้แก่ เชื้อในถุงไม่เดินขณะหยอดเชื้ออ่อนเกินไป  ก้อนเชื้อร้อนเกิน  ลืมหยอดเชื้อ  ขณะหยอดเชื้อต้องมีสติและสมาธิ  หนอนแมลงหวี่กินเส้นใย สาเหตุ แมลงหวี่ไข่ไว้ที่ฝาจุกหรือสำลี  เชื้อเดินแต่หยุดมีกลิ่นบูดมีน้ำเมือก  มีสีเหลือง  สีเขียว  สีดำ  สาเหตุ มีราหรือแบคทีเรียปนเปื้อนนึ่งฆ่าเชื้อไม่หมด  เชื้อเดินเต็มก้อนแต่ไม่ออกดอก สาเหตุ เชื้อเป็นหมันเชื้อไม่ดี  สภาพในโรงเรือนไม่เหมาะสม  เห็ดเกิดดอกแต่ก้านยาวหมวกดอกไม่แผ่ออก  สาเหตุ แสงไม่เพียงพอ  ควรปรับแสงให้มากขึ้นจัดอากาศถ่ายเทให้ดีขึ้น  เกิดหน่อมากแต่ดอกโตน้อย  สาเหตุ เชื้ออ่อนแออาหารในก้อนเชื้อไม่เพียงพอหรือไม่มีคุณภาพ  เกิดดอกเพียงรุ่นเดียวต่อไปไม่เกิด  สาเหตุ อาหารในก้อนเชื้อไม่เพียงพอเกิดการปนเปื้อน และการจัดโรงเรือนไม่ดี

ข้อพึงระวัง ->

         1. น้ำที่ใช้รดควรเป็นน้ำที่สะอาด  

         2. ตำแหน่งที่รดน้ำควรรดก้อนที่อยู่บนสุด น้ำจะค่อย ๆ ไหลลงมายังก้อนที่เรียงอยู่ด้านล่าง

         3. ความถี่ของการรดน้ำอยู่ที่อากาศและสภาพเป็นองค์ประกอบ

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนศูนย์ศีกษาและพัฒนาชุมชนพิษณุโลก
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา