ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การปั้นพระด้วยดินเหนียว

โดย : นาย วิฑูรย์ ณ นคร วันที่ : 2017-04-07-13:43:13

ที่อยู่ : 12 หมู่ที่3 บ้านป่าตึงงาม ตำบลป่าสัก อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เจ้าอาวาสวัดป่าตึงงาม ม.3 ต.ป่าสัก ดำเนินการสร้างพระรอดหลวงคุ้มภัยขนาดที่หน้าตักกว้าง 9 เมตร ณ วัดป่าตึงงาม ภายใต้ฐานพระรอดเป็นอาคารคอนกรีต เป็นที่ประดิษฐ์ฐานพระรอดองค์เล็กขนาดหน้าตัก 3 นิ้ว จำนวน 84,000 องค์ เฉพาะพระรอดองค์เล็กใช้งบดำเนินการประมาณ 4 – 5 ล้านบาท ฉะนั้นจะเป็นการดีกว่าหากจะเอาเงินจำนวนนี้ไปเสริมรายได้ให้กับชาวบ้านแทนการจ้างบุคคลภายนอก โครงการปั้นพระด้วยดินเหนียวจึงเกิดขึ้น

วัตถุประสงค์ ->

          1. เพื่อสร้างอาชีพเสริมให้กับชาวบ้าน และคนว่างงาน

          2. เพื่อให้ครอบครัวมีรายได้เสริมมาจุนเจืออีกทาง

          3. เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้คนทั่วไปรู้จักพระสกุลลำพูนมากยิ่งขึ้น

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

          1. ปูนพลาสเตอร์

          2. ดินเหนียวผสมสำเร็จพร้อมใช้งาน

          3. น้ำยางพาราสำเร็จ

          4. โฟมยาง

อุปกรณ์ ->

          1. ไม้บรรทัดเหล็กขนาด 1 ฟุต

          2. มีด คัตเตอร์

          3.พู่กันปลายกลมเบอร์ 10 ,12

          4. ดินน้ำมัน

          5. กระจกใส 4 มินลิเมตร กว้าง 10 มินลิเมตร ยาว 30 เซนติเมตร

          6. โฟมยาง

          7. กระเบื้องปูพื้นหน้าเรียบลื่น ขนาด 12 x 12 นิ้ว

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ขั้นที่1. การทำแม่พิมพระหน้าตัก 3 นิ้ว นำองค์ต้นแบบมาวางนอนบนกระเบื้องปูพื้น ให้ฐานชนกับกระจกที่กั้นเป็นฉากบนกระเบื้อง ใช้ดินน้ำมันทำแนวกั้นองค์พระเป็น 3 ส่วน ด้านข้าง 2 ส่วน กลาง 1 ส่วน ล้อมด้วยโฟมยางวางเป็นชั้นหนาประมาณ 2 นิ้ว โดยรอบปูนพลาสเตอร์ผสมน้ำพอดีทำเป็นแม่พิมพ์ด้านข้างก่อน แล้วเอาดินน้ำมันออก ทำแม่พิมพ์ส่วนกลางเทปูนพลาสเตอร์ทับเป็นฝาครอบกันแม่พิมพ์ขยับเขยื้อน ทิ้งไว้ 2 -3 วันให้แห้งสนิท ทำการอัดดินเหนียวเป็นองค์พระทิ้งให้แห้งสนิทประมาณ 10 วัน นำไปเข้าเตาได้

          ขั้นที่2. การทำแม่พิมพ์พระสกุลลำพูนองค์เล็กขนาดหัวแม่มือ นำพระองค์ต้นแบบมาวางบนโฟมยางเชื่อมให้สนิทด้วยกาวร้อน ทำคอกล้อมด้วยโฟมยาง กว้าง ยาว หนา ตามความเหมาะสม เทปูนพลาสเตอร์ทำแม่พิมพ์ทิ้งไว้ 1 – 2 วัน จึงปั้นพระได้ ทิ้งไว้ให้แห้งอีก 2 วันเข้าเตาได้

          ขั้นที่3. กรทำแม่พิมพ์ซุมพระสกุลลำพูน วัดขนาดองค์พระเพื่อตัดโฟมยางให้ได้ตามทรงพอดี จัดวางรูปแบบเรียงตามลำดับการสร้างก่อน-หลัง เริ่มจาก พระรอดสูงส่ง พระรอดคงกระพัน พระลือชื่อลือลั่น เสน่ห์นั้นชื่อพระบาง พระเพิมช่วยเสริมพลัง พระลวงล้างอัปปรีย์ พระลมพบคนดี บารมีคุ้มครองภัย นำแม่พิมพ์โฟมยางวางบนกระเบื้อง ทำคอกล้อมด้วยโฟมยางเทปูนพลาสเตอร์ทำแม่พิมพ์ต้นแบบเทยางพาราในแม่พิมพ์ต้นแบบทีละขั้นจนหมาดพอสมควร แห้งสนิทแล้วถอดพิมพ์ยางพาราเพื่อใช้เป็นแม่พิมพ์ถาวร แล้วเทปูนพลาสเตอร์ทับแม่พิมยางพาราเพื่อขยายแม่พิมพ์ปั้นซุ้มพระตามจำนวนที่ต้องการ

          ขั้นที่4. ดินเหนียวที่ปั้นต้องพอดีไม่แฉะติดมือ และไม่แห้งเกินไป หลังจากถอดออกจากแม่พิมพ์ทุกประเภทตกแต่งเสร็จแล้วให้วางบนกระเบื้องเรียบลื่น คลุมด้วยผ้าชุบน้ำบิดหมาดๆ ทิ้งไว้ประมาณ 2 – 3 วัน ให้ดินค่อยๆแข็งตัวป้องกันการแตกร้าว

          ขั้นที่5. ทำพระและซุ้มพระที่แห้งสนิทแล้วไปเผาในเตา ควรอุ่นด้วยไฟอ่อนๆ ประมาณ 1 ชั่วโมง ก่อนปิดฝาแล้วเพิ่มอณุภูมิเรื่อยๆจนดินสุดแดงทั้งเตา

          ขั้นที่6. ตกแต่งองค์พระและซุ้มด้วยสีตามความนิยม

ข้อพึงระวัง ->

1. แม่พิมพ์ปูนพลาสเตอร์ก่อนใช้ต้องแห้งสนิทแล้วใช้ทำความสะอาดด้วยพู่กันปลายกลม หรือ แปรงขนอ่อนห้ามทาด้วยน้ำมัน หรือ แวกส์จะทำให้แม่พิมพ์เสื่อมสภาพและไม่ดูดซับน้ำจากดิน

          2. ขั้นตอนการเผาสำคัญ มากกว่าการปิดฝาเตาต้องอุ่นก่อนไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง ปิดฝาแล้วเพิ่มอณุภูมิทีละนิด ไม่เช่นนั้นองค์พระ ซุ้มพระ จะแตกชำรุดใช้การไม่ได้

ข้อเสนอแนะ

          1. การปั้นพระและซุ้มพระให้ถือเป็นของสูง ต้องทำด้วยความเคารพ ศรัทธา และเชื่อมั่น มีความอดทน ตั้งใจจริง ผลที่ได้รับคืนคือความภาคภูมิใจมากกว่าเงินทอง

          2. พระที่ปั้นด้วยดินเหนียวถ้าจะให้สวยงามควรขัดด้วยใบตองแห้งม้วนเป็นแท่งขนาดนิ้วมือ ขัดจนเป็นเงา เงากว่าการย้อมสี 

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนศูนย์ศีกษาและพัฒนาชุมชนลำปาง
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา