ความรู้สัมมาชีพชุมชน

ความรู้สัมมาชีพชุมชนการเลี้ยงกบ

โดย : นายประสาน ประเสริฐสังข์ วันที่ : 2017-09-22-21:54:35

ที่อยู่ : 38 หมู่ 2 ตำบลห้วยแก้ง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

กบเป็นอาหารตามธรรมชาติของมนุษย์ มักจะเจอตามลำห้วย หนอง บึง ท้องนา แต่ด้วยทุกวันนี้มีการใช้สารเคมีในการเกษตร มีโรงงานเพิ่มมากขึ้น จนทำให้ระบบนิเวศที่กบเคยอาศัยอยู่ได้เปลี่ยนไป อีกทั้งความต้องการบริโภคกบก็สูงขึ้น ทำให้การจับกบไม่ได้คำนึงถึงว่าจะต้องปล่อยให้ตัวเล็ก ๆ ได้มีโอกาสเติบโตขยายพันธุ์ต่อไป จับมาขายทั้งตัวเล็กตัวใหญ่ ทำให้จำนวนกบตามธรรมชาติลดน้อยลงเรื่อย ๆเกษตรกรจึงมองเห็นโอกาสที่จะสร้างรายได้จากความต้องการกบเพื่อการบริโภค เพราะกบเป็นสัตว์เลี้ยงง่าย ใช้เวลาไม่มาก ลงทุนน้อย และคุ้มค่า มีการทำฟาร์มเลี้ยงกบหลากหลายรูปแบบ ทั้งการเลี้ยงกบแบบธรรมชาติ การเลี้ยงกบในขวด การเลี้ยงกบคอนโด แบบบ่อซีเมนต์ ฯลฯ และก็มีบางส่วนที่ไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากยังขาดข้อมูลสำคัญอยู่ เช่น นิสัยใจคอของกบ พื้นที่ที่เหมาะกับการเลี้ยงกบ เป็นต้น

วัตถุประสงค์ ->

ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

กบ

อุปกรณ์ ->

บ่อ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. การเลี้ยงกบควรเลือกพื้นที่เป็นที่สูงหรือที่ดอน มีลักษณะราบเสมอ มีแหล่งน้ำ และทางระบายน้ำที่สะดวกต่อการเปลี่ยนถ่ายน้ำเสียออกจากบ่อ
          2. สร้างบ่อปูพื้นด้วยพลาสติกหนาที่สามารถขังน้ำได้ ขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 1.5 เมตร สูง 0.5 - 1 เมตร เพื่อใช้เป็นบ่อ พ่อ-แม่พันธุ์กบ จำนวน 2 บ่อ และสร้างบ่อขนาดกว้าง 3 เมตร ยาว 4 เมตร จำนวน3-4 บ่อ เพื่อเป็นบ่อเพาะเลี้ยงกบแยกตามอายุตามความเหมาะสม
          3. พันธุ์กบที่จะเพาะเลี้ยง ควรเลือกกบนา เพราะเจริญเติบโตเร็ว และเป็นที่นิยมของผู้บริโภค
กบนาตัวผู้มีขนาดเล็กกว่าตัวเมีย เมื่อจับพลิกหงายขึ้นจะเห็นกล่องเสียงอยู่ใต้คางแถวมุมปากส่วนตัวเมียมองไม่เห็นกล่องเสียง
4. การเพาะพันธุ์กบ ล้างบ่อพลาสติกให้สะอาด ใส่น้ำลงไปให้ได้ความลึกประมาณครึ่งฟุต แล้วหาวัชพืชน้ำ เช่น ผักตบชวา ผักบุ้ง จอกหูหนู เป็นต้น มาใส่ไว้เพื่อให้เป็นที่ไข่กบเกาะ จากนั้นนำพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์กบ 1 คู่ ใส่ไว้เพื่อให้ผสมพันธุ์กัน ประมาณ 2 - 3 คืน กบจะผสมพันธุ์และวางไข่ในช่วงเวลา 04.00-06.00 น.
เมื่อเห็นว่ากบออกไข่แล้วให้นำพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์ออกจากบ่อ เพื่อป้องกันไม่ให้แพไข่แตกกระจาย
การอนุบาลลูกกบวัยอ่อน
          เมื่อไข่กบฟักออกเป็นตัวอ่อนแล้ว ช่วง 2 วันแรกไม่ต้องให้อาหาร เพราะลูกอ๊อดยังใช้ไข่แดงที่ติดมาเลี้ยงตัวเอง หลังจากนั้นจึงเริ่มให้อาหารเม็ดสำหรับลูกกบวันละ1 ครั้ง ครั้งละประมาณ 1 กำมือ หรืออาจให้
ไข่แดงบดเป็นอาหารแทนก็ได้ ซึ่งเฉลี่ยแล้วใช้วันละ 2-3 ฟองต่อลูกอ๊อด 1 ครอกเมื่อลูกอ๊อดมีอายุ 20-30 วัน
จึงเป็นลูกกบเต็มวัย ในช่วงนี้ต้องนำทางมะพร้าว หรือไม้ไผ่มาทำเป็นแพ หรือวัชพืชน้ำลอยน้ำ เพื่อให้ลูกกบเต็มวัยขึ้นไปอาศัยอยู่ เพราะลูกอ๊อดจะโตเต็มวัยไม่พร้อมกัน ดังนั้น จึงต้องลงมือคัดลูกกบขนาดตัวยาว 2 เซนติเมตร ไปเลี้ยงในบ่อที่เตรียมไว้ บ่อละ 1,000 ตัว โดยไม่ให้จำนวนประชากรกบต่อบ่อมากเกินไป

การดูแลและเลี้ยงกบเต็มวัยจนเป็นกบโต
          ให้คัดลูกกบ เพื่อนำไปเลี้ยงในบ่อที่เตรียมวัชพืชน้ำ หรือวัสดุลอยน้ำ เช่น แพไม้ไผ่  หรือแผ่นโฟมเพื่อให้กบขึ้นไปเกาะอาศัยอยู่ และนำทางมะพร้าวมาคลุมบ่อเพื่อบังแดด ในช่วงที่คัดลูกกบลงบ่อใหม่ ๆ  ให้อาหารเม็ดเล็ก ๆ สำหรับเลี้ยงลูกกบไประยะหนึ่งก่อนเมื่อกบโตขึ้นจึงค่อยให้อาหารเม็ดใหญ่สำหรับเลี้ยงกบโตวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ในอัตรา 3% ของน้ำหนักตัวกบ คือ ถ้ากบน้ำหนัก 100 กิโลกรัม ก็ให้อาหารวันละ
3 กิโลกรัม ใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 4 เดือน ก็สามารถจับกบจำหน่ายได้

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนศูนย์ศีกษาและพัฒนาชุมชนอุบลราชธานี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา