ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การปลุกพักปลอดสารพิษ

โดย : นางอวยพร พลอยศรี วันที่ : 2017-07-25-11:07:54

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 225 หมู่ 3 ตำบล ชมพู อำเภอ เมืองลำปาง จังหวัด ลำปาง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

พืชผักเปนพืชอาหารที่คนไทยนิยมนํามาใชรับประทานกันมากเนื่องจากมีคุณคาทางอาการทั้ง วิตามินและแรธาตุตางๆ ที่เปนประโยชนตอรางกายสูง แตคานิยมในการบริโภคผักนั้น มักจะเลือก บริโภคผักที่สวยงามไมมีรองรอยการทําลายของหนอนและแมลงศัตรูพืช จึงทําใหเกษตรกรที่ปลูกผัก จะตองใชสารเคมีปองกันและกําจัดแมลงฉีดพนในปริมาณที่มาก เพื่อใหไดผักที่สวยงามตามความ ตองการของตลาด เมื่อผูซื้อนํามาบริโภคแลวอาจไดรับอันตรายจากสารพิษที่ตกคางอยูในพืชผักนั้นได เพื่อเปนการแกปญหาดังกลาว เกษตรกรจึงควรหันมา ทําการปลูกผักปลอกภัยจากสารพิษ โดยนําเอา วิธีการปองกันและกําจัดศัตรูพืชหลายวิธีมาประยุกตใชรวมกัน เปนการทดแทนหรือลดปริมาณการใช สารเคมีใหนอยลง เพื่อความปลอดภัยของเกษตรกร ผูบริโภคและสิ่งแวดลอม

วัตถุประสงค์ ->

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

เมล็ดพันธ์พืช

 

อุปกรณ์ ->

1 จอบ เสียม

2. สายยางรดน้ำ
3.  ซ้อมพรวนดิน

4. มีด

กระบวนการ/ขั้นตอน->

วิธีการปลูกผักปลอดสาร • ขั้นตอนแรกควรเลือกสถานที่ที่เหมาะสมกอน เชน บริเวณหลังบานที่ใดที่หนึ่ง ที่มีแสงแดดสงถึง หรือบริเวณใกล แหลงน้ำ ขนาดพื้นที่เทาไรก็ไดตามความตองการของผูปลูก • การทําแปลงผักมีหลายรูปแบบตามความเหมาะสม และความชอบของแตละคน เชน

          ๑. ปลูกในภาชนะ เชน ปลูกในลังกระดาษ ถังเกา ๆ ลังโฟม ในกระถางเปนตน

           ๒. ปลูกโดยการทําแปลงเพาะแบบธรรมดาทั่วไป เชน การยกรองแปลงเพาะ และปลูกเปนแถว ๆ

          ๓. ปลูกในกะบะ เชน กะบะที่ทําดวยไมเปนรูป สี่เหลี่ยม หรือกะบะที่กั้นดวยเศษอิฐ กอนหิน หรือแมแต สังกะสีเกา ๆ และกระเบื้องเกา ๆ ก็สามารถนํามากั้นทําเปน กะบะไดทั้งนั้น

          ๔. ปลูกโดยการขุดเปนหลุม หรือรองลึกประมาณ ๑- ๒ คืบ แลวเอาปุยหมักผสมกับหนาดินลงไปในหลุม หรือรอง กอนปลูก

          การเตรียมดิน • ขุดดินหรือไถตากทิ้งไว 7 วัน เพื่อฆาเชื้อโรคและ กําจัดวัชพืช ขนาดแปลงเพาะ กวาง 1 ม.- ยาว 1.5 -2 ม. • ปรับสภาพดินดวยปูนขาว การเตรียมเมล็ดพันธุ • เลือกซื้อเมล็ดพันธุที่เราตองการควรเลือกซื้อตราที่ เชื่อถือได เชน ตราศรแดง • นําเมล็ดพันธุที่ซื้อมาไปเพาะในแปลงเพาะที่เตรียม ไวกรณีเปนผักคะนาหรือผักกาด

          การปลูก • นําเมล็ดที่เตรียมไวนําไปหยอดหลุมๆละ 2-3 เมล็ด ถาเปนถั่วฝกยาวใชระหวางตน 40 ซม. ระหวางแถว 80 ซม. คะนา ผักกาด ใชระหวางตน - แถว 15 ซม. • กอนปลูกควรใชปุยหมักผสมดินในแปลงปลูก • เมื่อปลูกเสร็จใชฟางขาวคุมแปลงปลูก การดูแลรักษา • ใชน้ำหมักชีวภาพจากการหมักที่ใชเชื้อ พด.2 ใน อัตรา 2-3 ซอนตอน้ำ 10 ลิตร พนทุกๆ 7 วัน • การกําจัดวัชพืชใชวิธีการถอน การเก็บเกี่ยว • เก็บตามอายุของผัก ถั่วฝกยาว ประมาณ 45-60 วัน, คะนา 45-55 วัน, ผักกาด 30-35 วัน การจําหนาย • จําหนายตลาดในหมูบาน • มีแมคาจากตลาดในอําเภอมารับที่แปลงปลูก

ข้อพึงระวัง ->

เกษตรกรต้องหมั่นตรวจ

แปลงปลูกพืชของตนอย่างสมํ่าเสมอ เพื่อเป็นการพยากรณ์สถานการณ์ของศัตรูพืชในแปลงของตน เมื่อ

ทราบสถานการณ์แล้วจึงพิจารณาเลือกใช้วิธีการป้องกันและกำ จัดที่เหมาะสม แต่ในกรณีที่ไม่สามารถ

ควบคุมหรือไม่มีวิธีการควบคุมใดที่ใช้ได้ผลแล้ว เกษตรกรอาจใช้สารเคมีในการควบคุมศัตรูพืชนั้นๆ คือ

1. เป็นสารเคมีที่เหมาะสมกับศัตรูพืชชนิดนั้น

2. สารเคมีนั้นสลายตัวได้เร็ว

3. ใช้ในอัตราที่เหมาะสมตามคำ แนะนำ

4. เว้นระยะการเก็บเกี่ยวผลผลิตตามคำ แนะนำ

ทั้งนี้เพื่อไม่ก่อให้เกิดอันตราย หรือมีสารพิษตกค้างในพืชผักนั้น และมีความปลอดภัยต่อ

ผู้บริโภค

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนศูนย์ศีกษาและพัฒนาชุมชนอุบลราชธานี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา