ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

จักสานจากติวไผ่

โดย : นายแพง แก้วใส วันที่ : 2017-03-14-15:32:25

ที่อยู่ : 22 ม.5 บ้านท่าล้ง ต.ห้วยไผ่

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

กระติบข้าวเป็นเอกลักษณ์ของคนในภาคอีสานที่มีมาแต่บรรพบุรุษซึ่งอาศัยพืชจากป่าที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ

วัตถุประสงค์ ->

1. สืบทอดภูมิปัญญาจากบรรพบุรุษสู่รุ่นลูกหลาน

2. เพื่อได้ขยายการทำกระติบข้าว

3. เพื่อได้รู้ถึงการทำกระติบข้าว

 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

          ไม้ไผ่ที่เป็นทรัพยากรที่มีอยู่มากมายในพื้นที่  ส่วนใหญ่ชาวบ้านจะนำมาจากป่าภูสีฐานซึ่งอยู่ใกล้บ้าน  และมีการปลูกทดแทนอยู่ในพื้นที่ไร่สวนของตนเอง  เพื่อเป็นการป้องกันการสูญหายของทรัพยากร

 

 

อุปกรณ์ ->

        1. ด้ายไนล่อน

        2. เข็มเย็บผ้าขนาดกลาง

        3.   กรรไกร

        4. มีดโต้

        5. เลื่อย

        6. เหล็กหมาด (เหล็กแหลม)

        7. ก้านตาล

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ขั้นตอนที่ ๑ การเตรียมไม้ไผ่

             ๑. ตัดไม้ไผ่ไร่(เพราะมีคุณสมบัติเนื้อจะเหนียวกว่าไม่ไผ่ชนิดอื่นๆ) เป็นท่อน ๆละ ขนาดความยาว  ๔๐ ซ.ม.

          ๒. ตัดข้อไม้ไผ่ให้เรียบ

          ๓. ขูดเปลือกสีเขียวของไม้ไผ่ออกให้หมด

          ๔. ผ่าไม้ไผ่แบ่งครึ่ง  ต่อจากนั้นผ่าเป็น ๔ ซีก  ผ่าออกเป็น  ๘ ซีก  และผ่า ๑๖ ซีก  ตามลำดับ  ซึ่งไม้ ๑ ท่อนจะแบ่งออกได้  ๑๖ ซีก

          ๕. เหลาเส้นตอก  โดยกำหนดขนาดตามที่ต้องการ

          ๖. นำเส้นตอกมารีดโดยการใช้เครื่องรีดเส้น  เพื่อให้เส้นคมทั้งสองด้าน  ทำให้เวลาสานเส้นจะได้ชิดกันและมีความละเอียดสวยงาม

          ๗. คละเส้นตอกผสมกัน  แล้วมานับตอกครั้งละ ๓ เส้น  นับเป็น ๑  ถ้านับเส้นตอกได้ ๓๐ คู่ จะเท่ากับ ๑ ฝา  ซึ่งกระติบข้าว ๑ กล่อง เท่ากับ ๒ ฝาที่จะนำมาประกบกันเป็นกระติบข้าว  เท่ากับต้องใช้เส้นตอกจำนวน  ๖๐ คู่  เทคนิคในการสานคือถ้าต้องการเส้นละเอียด  จะต้องใช้เส้นตอกไม่น้อยกว่า ๒๘ คู่ขึ้นไป

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ขั้นตอนที่ ๒ วิธีการสาน

๑. เริ่มการสานโดยก่อนับตอก ๕ เส้น  ใช้เป็นตัวตั้ง ๕ เส้น  ตัวสาน ๕ เส้น  นับจากซ้ายไปขวา

 สานเส้นที่ ๑ ยกตัวตั้ง ๑,๒,๕

สานเส้นที่ ๒ ยกเส้นที่ ๒ ,๓

สานเส้นที่ ๓ ยกเส้นที่ ๓,๔

สานเส้นที่ ๔ ยกเส้นที่ ๑,๔,๕

สานเส้นที่ ๕ ยกเส้นที่ ๑,๒,๕

          ๒. เริ่มสานเส้นตอกตามลาย ๒ ในแนวนอน

          ๓. เอาลาย ๒ แนวนอนมาจดกัน  แล้วสานให้ต่อกันเป็นลาย ๒ แนวนอนทั้งหมด

          ๔. สานลาย ๒ แนวตั้ง  โดยสานทีละข้างสานขึ้นมา ๖-๘ ลาย แล้วทำลาย ๒ แนวนอนจนครบเส้นตอก  แล้วจึงเริ่มลาย ๒ แนวนอนอีก ๕ ลายแล้วม้วนตอก  โดยทำเหมือนกันทั้ง ๒ ด้าน เสร็จแล้วจึงตัดเส้นตอกส่วนเกินที่เหลือออกจากลาย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                                                                                     

 

 

 

 

 

ขั้นตอนที่ ๓  วิธีการตัด

 

 

 

 

 

 

 

๑.     วางมีดตามขอบแล้วม้วนเส้นตอก  หลังจากนั้นจึงจับเส้นตอกที่ต้องการตัดดึงกลับด้านหลัง

๒.    พับครึ่งให้เป็น ๒ ชั้น  โดยดึงปากขอบให้เข้าไปข้างใน  แล้วพรมน้ำ เพื่อป้องกันไม่ ให้ไม้ไผ่แห้ง  เพราะจะทำให้ไม้ไผ่หักได้  และพับให้ปากขอบเสมอกัน

๓.    พับเป็นลิ้นใส่ฝา ( พับลาย ๒ แนวนอน  ให้ตรงกันเป็นวงรอบ  แล้วนำมาทุบเพื่อให้เป็นลวดลายเสมอกัน)

 

ขั้นตอนที่ ๔  การสานฝา

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

๑.     นำไม้ไผ่บ้านมาสานเป็นลาย ๓  หรือที่คนท้องถิ่นเรียกกันว่าลายตาแหลว  หรือเริ่มจากการก่อลายขัดก็ได้

๒.    สานเสร็จแล้ว  นำมาวัดเส้นผ่าศูนย์กลางของฝา  แล้วพับครึ่งใช้เข็มแทงตรงจุดศูนย์กลาง  ทำวงเวียนรัศมีเป็นวงกลม

๓.    ตัดตามรอยขีดให้เป็นวงกลม

๔.    ดึงลิ้นชั้นนอกขึ้นแล้วใส่ฝา  โดยพลิกด้านทางลาย ๓ ออกด้านนอก  แล้วจึงพับลิ้นชั้นนอกเข้า  หลังจากนั้นพับลิ้นชั้นในลงไป  แล้วใช้ด้ามพร้าทุบ  ต่อจากนั้นจึงใช้สายยางรัดไว้

๕.    เย็บแบบด้นถอยหลัง  โดยใช้หวายเย็บข้ามที่ละ ๓ เส้นตอก

ขั้นตอนที่ ๕  การทำฐานกระติบข้าว

๑.     โค้งฐานกระติบข้าว  ซึ่งทำจากไม้เนื้ออ่อน เช่น ไม้มะกอก ,ไม้งิ้วผา .ไม้ยอ

๒.    เย็บต่อฐานกับตัวกระติบข้าว

 

ขั้นตอนที่ ๖  การอบรมควันกระติบข้าว

๑.นำกระติบข้าวมาอบรมควันในถังแดง  เพื่อป้องกันมอด ปลวก  และเพื่อเพิ่มสีสันให้กับเส้นไม้ไผ่  โดยใช้เวลารมควันประมาณ ๓๐  นาที  ซึ่งเทคนิคในการอบนั้นต้องเปิดฝากระติบข้าวออก

 

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา