ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

ลูกประคบสมุนไพร

โดย : นางเรวดี สมศรี วันที่ : 2017-03-13-16:25:34

ที่อยู่ : ๘๖ ม.๓ ต.โนนสวาง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การใช้สมุนไพรรักษาโรคถือว่าเป็นภูมิปัญญาของคนในชุมชนบ้านโนนสังข์มาช้านาน

เมื่อมีกิจกรรมสัมมาชีพ จึงได้มีการทำลูกประคบเพื่อฟื้นฟู ภูมิปัญญา

วัตถุประสงค์ ->

-เพื่อทำไว้ใช้เองในครอบครัว

-เพื่อเพิ่มรายได้

-เพื่อสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

นำไพลสด,  ผิวมะกรูด หรือใบมะกรูดสด,  ตะไคร้สด,  ใบมะขาม หรือใบส้มป่อยสด, ขมิ้นชัน    หรือขมิ้นอ้อยสดหั่นบางๆ ตำพอหยาบๆ

อุปกรณ์ ->

 

ที่

 

ชื่อสมุนไพร

 

น้ำหนัก

(กรัม)

 

สรรพคุณ

1

ไพลสด             

500

แก้ฟกบวม เคล็ดยอก ขับลม ท้องเดิน และช่วยขับระดูนิยมใช้เป็นยาหลังคลอดบุตร

2

ผิวมะกรูดสด

ใบมะกรูดสด

100

ขับลมในลำไส้ ขับระดู ขับผายลมแก้ไอ แก้อาเจียนเป็นโลหิตแก้ช้ำใน ดับกลิ่นคาว

3

ตะไคร้สด

200

บำรุงไฟธาตุ  แก้โรคทางเดินปัสสาวะ ขับลมในลำไส้ทำให้เจริญอาหาร  แก้คาว

4

ใบมะขามแก่สด

ใบส้มป่อยสด

100

ขับเสมหะในลำไส้  แก้บิด แก้ไอ ต้มเอาน้ำโกรกศีรษะเด็กเช้ามืด แก้หวัดคัดจมูกถ่ายเสมหะ ล้างเมือกมันในลำไส้ แก้บิด  ฟอกโลหิตระดู ประคบให้เส้นเอ็นหย่อน

5

ขมิ้นชันสด

ขมิ้นอ้อยสด

100

แก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน สมานแผล ขับลม แก้ท้องร่วง แก้ไข้เพื่อดี คลั่งเพ้อ แก้ไข้เรื้อรังตำพอก แก้ฟกบวม อักเสบ แก้ครั่นเนื้อครั่นตัว สมานลำไส้ ขับปัสสาวะ แก้ระดูขาว

6

พิมเสนเกล็ด

  30

แก้ลมวิงเวียนหน้ามืด บำรุงหัวใจ ทำจิตใจให้ชุ่มชื่น แก้ปวดท้อง แก้แผลสด / เรื้อรัง

7

การบูร

  30

แก้คัน เกลื่อนฝี แก้เคล็ดขัดยอก บวม แก้ปวดข้อ แก้ปวดเส้นประสาท ปวดท้องแก้ปวดตามเส้น บำรุงธาตุ ทำให้อาหารงวด ขับลมในลำไส้ แก้ธาตุพิการ  กระจายลม

8

เกลือแกง

  40

 รักษาผิวหนังให้สะอาดกันกลากเกลื้อนและพยาธิผิวหนัง รักษาท้องไม่ให้อาหารบูด    

รวม

   1,100

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1.   นำไพลสด,  ผิวมะกรูด หรือใบมะกรูดสด,  ตะไคร้สด,  ใบมะขาม หรือใบส้มป่อยสด, ขมิ้นชัน    หรือขมิ้นอ้อยสดหั่นบางๆ ตำพอหยาบๆ

2.  ใส่พิมเสน,  การบูร,  และเกลือแกง  ผสมรวมกัน

3.  ห่อเป็นลูกประคบหนักลูกละ 100 กรัม ด้วยผ้าขาว 

ขนาด 35 ซ.ม. x 35 ซ.ม. มัดด้วยเชือกยาว 1 เมตร

ถ้าหากต้องการลูกประคบหนักลูกละ 150 กรัม  ห่อด้วยผ้าขาว  ขนาด 50 ซ.ม. x 50 ซ.ม.

ข้อพึงระวัง ->

1.      ไม่ควรใช้ลูกประคบที่ร้อนเกินไป โดยเฉพาะบริเวณผิวหนังที่เคยเป็นแผลมาก่อนหรือบริเวณที่มีกระดูกยื่น และต้องระมัดระวังเป็นพิเศษในผู้ป่วย

2.      โรคเบาหวาน อัมพาต ในเด็กและผู้สูงอายุ เพราะมักมีความรู้สึกในการรับรู้และตอบสนองช้าอาจทำให้ผิวหนังไหม้พองได้ง่าย

3.      ไม่ควรใช้การประคบสมุนไพรในกรณีที่มีอาการอักเสบ บวม แดง ร้อน ในช่วง 24 ชั่วโมงแรกเพราะจะทำให้อักเสบบวมมากขึ้นและอาจมีเลือดออกมากตามมาได้

 4. หลังจากประคบสมุนไพร เสร็จใหม่ ๆ ไม่ควรอาบน้ำทันที เพราะจะไปล้างตัวยาจากผิวหนังและร่างกายยังไม่ สามารถปรับตัวได้ทัน อาจทำให้เกิด เป็นไข้ได้

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา