ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเพาะพันธุ์ลูกอ๊อด

โดย : นายธนธานต์ ขำตา วันที่ : 2017-03-07-16:03:42

ที่อยู่ : 236 หมู่ที่ 4 ตำบลหนองบก

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การทำการเกษตรเพาะพันธุ์ลูกอ๊อด เป็นการทำเกษตรที่ง่ายใช้เนื้อที่ไม่มาก

วัตถุประสงค์ ->

1. เพื่อเป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. พ่อพันธุ์ แม่พันธุ์กบ

2. อาหารกบ

3. ไข่แดง

อุปกรณ์ ->

1. บ่อเลี้ยง

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การคัดพ่อ-แม่พันธุ์

1. แม่พันธุ์ตัวที่มีไข่ส่วนท้องจะขยายใหญ่ และจะมีปุ่มสากข้างลำตัวทั้ง 2 ข้าง เมื่อเราใช้นิ้วสัมผัสจะรู้สึกได้ และแม่พันธุ์ตัวที่พร้อมมากจะมีปุ่มสากมาก แต่เมื่อไข่หมดท้องปุ่มสากนี้ก็จะหายไป

2. การคัดเลือกพ่อพันธุ์ เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์กบตัวผู้จะส่งเสียงร้องเสียงดังและกล่องเสียงที่ใต้คางก็จะพองโปน ลำตัวจะมีสีเหลืองเข้มและเมื่อเราใช้นิ้วสอดที่ใต้ท้อง กบจะใช้เท้าหน้ากอดรัดนิ้วเราไว้แน่

การเตรียมบ่อเพาะพันธุ์    

1. ล้างทำความสะอาดบ่อเพาะพันธ์ก่อนที่จะทำการเพาะด้วยด่างทับทิม แช่ทิ้งไว้ประมาณ 1 – 2 ชั่วโมง จากนั้นล้างทำความสะอาดให้หมด

2. เติมน้ำสะอาดใส่บ่อให้ลึกประมาณ 5-7 ชั่วโมง ไม่ควรให้ระดับน้ำสูงกว่านี้ เพราะไม่สะดวกในการที่กบตัวผู้จะโอบรัดตัวเมีย ขณะที่กบตัวเมียเบ่งไข่ออกมาจากท้อง มันจะต้องใช้ขาหลังยันที่พื้น ถ้าน้ำลึกมากไปขาหลังจะยันพื้นไม่ถึงและจะลอยน้ำทำให้ไม่มีพลัง เป็นเหตุให้ ไข่ออกมาไม่มาก

การผสมพันธุ์

1. ปล่อยพ่อ-แม่พันธุ์ลงในบ่อที่เตรียมไว้แล้ว โดยใช้อัตราส่วนตัวผู้ต่อตัวเมีย จำนวน 1/1 ต่อพื้นที่ตารางเมตร และจะต้องทำการปล่อยกบผสมพันธุ์กันในตอนเย็น

2. เมื่อปล่อยกบลงไปแล้ว กบจับคู่ผสมพันธุ์ ซึ่งจะอยู่ในช่วงเวลาประมาณ 17.00 น ถึง 22.00 น

3. กบจะจับคู่ผสมพันธุ์และจะปล่อยไข่ตอนเช้ามืด

การลำเลียงไข่กบจากบ่อผสมไปใส่บ่ออนุบาล 

1. หลังจากกบปล่อยไข่แล้วในตอนเข้าจะต้องทำการจับกบขึ้นจากบ่อ จากนั้นจะต้องค่อย ๆ ลดน้ำออกจากบ่อ โดยใช้วิธีเปิดวาลล์ที่ท่อน้ำระบาย และใช้สวิงผ้านิ่ม ๆ รอบงรับไข่ที่ไหลตามน้ำออกมา และควรทำด้วยความระมัดระวังเพื่อไม่ให้ไข่แตก และจะต้องทำในตอนเช้า ขณะที่ไข่กบยังมีวุ้นเหนียงหุ้มอยู่

2. นำไข่ที่รวบรวมได้ไปใส่บ่ออนุบาลโดยใช้ถ้วยตวงตักไข่ โรยให้ทั่วบ่อ แต่ต้องระวังไม่ให้ไข่กบซ้อนทันกันมากเพราะจะทำให้ไข่กบเสียและไม่ฟักเป็นตัว เนื่องจากขาดออกซิเจน

3. ระดับน้ำที่ใช้ในการฟักไข่ประมาณ 7-10 เซนติเมตร ไข่จะฟักเป็นตัวภายใน 24 ชั่วโมง

การอนุบาลลูกกบ 

      เมื่อไข่กบฟักออกเป็นตัวแล้ว ช่วงระยะ 2 วันแรกยังไม่ต้องให้อาหารเพราะยังมีไข่แดงที่ติดมาเลี้ยงตัวเองอยู่ หลังจากนั้นจึงเริ่มให้อาหาร เช่น ไข่แดง ไข่ตุ๋น อาหารเม็ด ตามลำดับ

การเปลี่ยนถ่ายน้ำ    

1. เมื่อลูกอ๊อดฟักออกเป็นตัวจะต้องเพิ่มระดับน้ำในบ่อขึ้นเรื่อย ๆ จนกว่าน้ำจะอยู่ที่ระดับความลึก 30 เซนติเมตร

2. ลูกอ๊อดอายุครบ 4 วัน จะต้องทำการย้ายบ่อครั้งที่ 1 และระดับน้ำที่ใช้เลี้ยงควรอยู่ที่ระดับ 30 เซนติเมตร

3. เปลี่ยนถ่ายน้ำทุกวัน

4. ทุก ๆ 3-4 วัน ควรทำการย้ายบ่อพร้อมคัดขนาดลูกอ๊อด

5. เมื่อลูกอ๊อดเริ่มเข้าระยะที่ขาหน้าเริ่มงอกต้องลดน้ำในบ่อลงมาอยู่ที่ระดับความลึกประมาณ 5-10 เซนติเมตร และจะต้องใส่วัสดุที่ใช้สำหรับให้กบได้เกาะอาศัยลงในบ่อ เช่น ทางมะพร้าว แผ่นโฟม เป็นต้น

การคัดขนาดลูกกบ

1. ลูกอ๊อดในบ่อเดียวกันเมื่อเลี้ยงได้ประมาณ 1 สัปดาห์หลังฟังออกจากไข่จะเริ่มมีขนาดไม่เท่ากัน เนื่องจากการที่กบกินอาหารไม่ทันกัน ดังนั้นจึงต้องทำการคัดขนาด เมื่อลูกอ๊อดอายุได้ประมาณ 7 – 10 วัน โดยการใช้ตะแกรงคัดขนาดที่ทำจากตาข่ายพลาสติกที่มีขนาดช่องตา ขนาดต่าง ๆ กัน ซึ่งเราสามารถเลือกซื้อตามขนาดของลูกอ๊อด ระยะต่าง ๆ ได้

2. ทุก 3-4 วันทำการคัดขนาด แยกบ่อ

3. ในระยะที่ลูกอ๊อดบางตัวเริ่มมีขาหน้างอกออกมาใช้ตะแกรงคัดขนาดไม่ได้แล้ว เนื่องจากลูกอ๊อดจะเกาะติดอยู่ที่ตะแกรงและไม่ลอดช่องลงไปจึงต้องเปลี่ยนมาใช้กาละมังเติมน้ำให้เต็มแล้วคัดลูกกบที่มี 4 ขาออกไปใส่บ่อเดียวกัน

4. เมื่อลูกกบอายุประมาณ 1 เดือน ลูกกบจะเป็นตัวเต็มวัยไม่พร้อมกัน บางตัวที่หางยังไม่ครบก็จะอยู่ในน้ำ บางตัวที่หางหดแล้วเป็นตัวเต็มวัยก็จะอยู่บนบก ในระยะนี้จะต้องคัดแยกลูกกบที่ตัวเต็มวัยออกไปใส่บ่ออื่น และยังต้องคัดขนาดลูกกบที่โตไม่เท่ากันออกจากกัน การเตรียมบ่อเพาะพันธุ์    
1. ล้างทำความสะอาดบ่อเพาะพันธ์ก่อนที่จะทำการเพาะด้วยด่างทับทิม แช่ทิ้งไว้ประมาณ 1 – 2 ชั่วโมง จากนั้นล้างทำความสะอาดให้หมด
2. เติมน้ำสะอาดใส่บ่อให้ลึกประมาณ 5-7 ชั่วโมง ไม่ควรให้ระดับน้ำสูงกว่านี้ เพราะไม่สะดวกในการที่กบตัวผู้จะโอบรัดตัวเมีย ขณะที่กบตัวเมียเบ่งไข่ออกมาจากท้อง มันจะต้องใช้ขาหลังยันที่พื้น ถ้าน้ำลึกมากไปขาหลังจะยันพื้นไม่ถึงและจะลอยน้ำทำให้ไม่มีพลัง เป็นเหตุให้ ไข่ออกมาไม่มาก
การผสมพันธุ์
1. ปล่อยพ่อ-แม่พันธุ์ลงในบ่อที่เตรียมไว้แล้ว โดยใช้อัตราส่วนตัวผู้ต่อตัวเมีย จำนวน 1/1 ต่อพื้นที่ตารางเมตร และจะต้องทำการปล่อยกบผสมพันธุ์กันในตอนเย็น
2. เมื่อปล่อยกบลงไปแล้ว กบจับคู่ผสมพันธุ์ ซึ่งจะอยู่ในช่วงเวลาประมาณ 17.00 น ถึง 22.00 น
3. กบจะจับคู่ผสมพันธุ์และจะปล่อยไข่ตอนเช้ามืด
การลำเลียงไข่กบจากบ่อผสมไปใส่บ่ออนุบาล 
1. หลังจากกบปล่อยไข่แล้วในตอนเข้าจะต้องทำการจับกบขึ้นจากบ่อ จากนั้นจะต้องค่อย ๆ ลดน้ำออกจากบ่อ โดยใช้วิธีเปิดวาลล์ที่ท่อน้ำระบาย และใช้สวิงผ้านิ่ม ๆ รอบงรับไข่ที่ไหลตามน้ำออกมา และควรทำด้วยความระมัดระวังเพื่อไม่ให้ไข่แตก และจะต้องทำในตอนเช้า ขณะที่ไข่กบยังมีวุ้นเหนียงหุ้มอยู่
2. นำไข่ที่รวบรวมได้ไปใส่บ่ออนุบาลโดยใช้ถ้วยตวงตักไข่ โรยให้ทั่วบ่อ แต่ต้องระวังไม่ให้ไข่กบซ้อนทันกันมากเพราะจะทำให้ไข่กบเสียและไม่ฟักเป็นตัว เนื่องจากขาดออกซิเจน
3. ระดับน้ำที่ใช้ในการฟักไข่ประมาณ 7-10 เซนติเมตร ไข่จะฟักเป็นตัวภายใน 24 ชั่วโมง
การอนุบาลลูกกบ  
      เมื่อไข่กบฟักออกเป็นตัวแล้ว ช่วงระยะ 2 วันแรกยังไม่ต้องให้อาหารเพราะยังมีไข่แดงที่ติดมาเลี้ยงตัวเองอยู่ หลังจากนั้นจึงเริ่มให้อาหาร เช่น ไข่แดง ไข่ตุ๋น อาหารเม็ด ตามลำดับ
การเปลี่ยนถ่ายน้ำ    
1. เมื่อลูกอ๊อดฟักออกเป็นตัวจะต้องเพิ่มระดับน้ำในบ่อขึ้นเรื่อย ๆ จนกว่าน้ำจะอยู่ที่ระดับความลึก 30 เซนติเมตร
2. ลูกอ๊อดอายุครบ 4 วัน จะต้องทำการย้ายบ่อครั้งที่ 1 และระดับน้ำที่ใช้เลี้ยงควรอยู่ที่ระดับ 30 เซนติเมตร
3. เปลี่ยนถ่ายน้ำทุกวัน วันละ 50 %
4. ทุก ๆ 3-4 วัน ควรทำการย้ายบ่อพร้อมคัดขนาดลูกอ๊อด
5. เมื่อลูกอ๊อดเริ่มเข้าระยะที่ขาหน้าเริ่มงอกต้องลดน้ำในบ่อลงมาอยู่ที่ระดับความลึกประมาณ 5-10 เซนติเมตร และจะต้องใส่วัสดุที่ใช้สำหรับให้กบได้เกาะอาศัยลงในบ่อ เช่น ทางมะพร้าว แผ่นโฟม เป็นต้น
การคัดขนาดลูกกบ
1. ลูกอ๊อดในบ่อเดียวกันเมื่อเลี้ยงได้ประมาณ 1 สัปดาห์หลังฟังออกจากไข่จะเริ่มมีขนาดไม่เท่ากัน เนื่องจากการที่กบกินอาหารไม่ทันกัน ดังนั้นจึงต้องทำการคัดขนาด เมื่อลูกอ๊อดอายุได้ประมาณ 7 – 10 วัน โดยการใช้ตะแกรงคัดขนาดที่ทำจากตาข่ายพลาสติกที่มีขนาดช่องตา ขนาดต่าง ๆ กัน ซึ่งเราสามารถเลือกซื้อตามขนาดของลูกอ๊อด ระยะต่าง ๆ ได้
2. ทุก 3-4 วันทำการคัดขนาด แยกบ่อ
3. ในระยะที่ลูกอ๊อดบางตัวเริ่มมีขาหน้างอกออกมาใช้ตะแกรงคัดขนาดไม่ได้แล้ว เนื่องจากลูกอ๊อดจะเกาะติดอยู่ที่ตะแกรงและไม่ลอดช่องลงไปจึงต้องเปลี่ยนมาใช้กาละมังเติมน้ำให้เต็มแล้วคัดลูกกบที่มี 4 ขาออกไปใส่บ่อเดียวกัน
4. เมื่อลูกกบอายุประมาณ 1 เดือน ลูกกบจะเป็นตัวเต็มวัยไม่พร้อมกัน บางตัวที่หางยังไม่ครบก็จะอยู่ในน้ำ บางตัวที่หางหดแล้วเป็นตัวเต็มวัยก็จะอยู่บนบก ในระยะนี้จะต้องคัดแยกลูกกบที่ตัวเต็มวัยออกไปใส่บ่ออื่น และยังต้องคัดขนาดลูกกบที่โตไม่เท่ากันออกจากกัน


 

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา