ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทำหญ้าหมัก ฟางหมัก

โดย : นายจำรูญ สีเหลือง วันที่ : 2017-06-30-14:08:59

ที่อยู่ : 71 ม.8 ต.แก้งเหนือ อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การทำหญ้าหมัก หมายถึง พืชอาหารสัตว์ต่าง ๆ ที่นำมาเก็บถนอมไว้ในสภาพอวบ ในภาชนะปิดที่ป้องกัน อากาศจากภายนอกจนเกิดการหมัก ซึ่งจะช่วยทำให้คุณค่า ทางอาหารของพืชเหล่านั้นคงอยู่ สามารถถนอมไว้ใช้ได้ ในช่วงที่ขาดแคลนหญ้าสด พืชอาหารสัตว์ที่นำมาใช้ในการหมัก ได้มาจากพืชอาหารสัตว์ที่มีอยู่มากมายในช่วงฤดูฝน ซึ่งเจริญงอกงามดี และมีปริมาณมากเกินพอสำหรับ เลี้ยงสัตว์ นอกจากนี้ฤดูฝนก็ไม่สามารถเก็บถนอมในการทำ หญ้าแห้งได้ ฉะนั้นการทำหญ้าหมักจึงเป็นตัวช่วยเกษตรกรอีกทางหนึ่ง ซึ่งจะทำให้สัตว์เลี้ยงมีอาหารในยามขาดแคลน

วัตถุประสงค์ ->

การทำหญ้าหมักมีขั้นตอนดังนี้
1. การเลือกพันธุ์หญ้า ควรเลือกพันธุ์หญ้าที่มีแป้งและน้ำตาลมาก เช่น ต้นข้าวฟ่าง ข้าวโพด พืชทั้ง 2 ชนิดนี้ทำหญ้าหมักได้หญ้าคุณภาพดีมาก นอกจากนั้นอาจใช้หญ้าเนเปียร์หญ้ามอริชัส หรือหญ้าอื่นๆ ที่มีลักษณะอวบน้ำแต่การใช้ต้นหญ้าเหล่านี้จำเป็นจะต้องเติมกากน้ำตาลด้วย เพราะว่าหญ้าเหล่านี้มีแป้งเป็นส่วนประกอบน้อย ทำให้มีอาหารสำหรับเชื้อบัคเตรีไม่เพียงพอ ทำให้การหมักได้ผลไม่ดีพอ
2. การเตรียมอุปกรณ์ อุปกรณ์ทำหญ้าหมักประกอบด้วยอุปกรณ์การตัดและหั่นหญ้า หลุมหมัก วัสดุคลุมปิดหลุม เช่น แผ่นผ้าพลาสติก หรือดิน กากน้ำตาล และอุปกรณ์สำหรับขนหญ้าลงหลุมหมัก

อุปกรณ์การตัดและหั่นหญ้า ฟาร์มขนาดเล็กอาจใช้มีดตัดหั่นหญ้าเป็นชิ้นเล็กๆ แต่ฟาร์มขนาดใหญ่มีจำนวนโคมาก จะใช้เครื่องตัดหั่นหญ้าโดยเฉพาะ อุปกรณ์ดังกล่าวใช้กำลังงานจากรถแทรกเตอร์ มีใบมีดตัดต้นพืชและหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วมีเครื่องพ่นชิ้นหญ้าออกจากเครื่อง กล่าวคือ ในอุปกรณ์ชิ้นเดียวกันจะทำงานทั้งการตัดต้นพืช หั่นเป็นชิ้น และพ่นออกจากเครื่องโดยอัตโนมัติ แต่ราคาสูงมาก
3. การเตรียมหลุมหญ้าหมัก หลุมหญ้าหมักมีหลายแบบ เช่น แบบปล่อง แบบร่องในดิน แบบรางบนผิวดิน หรือแบบใช้ผ้าพลาสติกคลุมเหนือผิวดิน
หลุมแบบปล่อง ก่อด้วยคอนกรีตสูง 2-3 เมตร หรือมากกว่า ส่วนความจุมีตั้งแต่ 10-20 ตัน แล้วแต่ขนาดของฟาร์ม หลุมแบบร่องในดินเป็นแบบที่ต้องขุดร่องลึกตามที่ต้องการและสร้างผนังคอนกรีต เป็นร่องป้องกันดินพังทลายความกว้างและความยาวของหลุมขึ้นกับขนาดของฟาร์ม หรือจำนวนสัตว์ที่เลี้ยง ส่วนหลุมแบบรางบนผิวดินมีลักษณะเช่นเดียวกับแบบร่องในดิน แต่สร้างบนผิวดินแทน ปัจจุบันนิยมทำแบบรางบนผิวดิน เพราะสะดวกต่อการทำงาน เช่น การขนหญ้าลงหมัก การกลบดินและการไหลของน้ำเสีย ขนาดของหลุมแบบรางบนผิวดินมีความสัมพันธ์กับปริมาณหญ้าหมัก และคำนวณได้ตามสูตรข้างบนนี้

4. การตัดหญ้า เริ่มจากการตัดต้น ข้าวโพด หรือข้าวฟ่างโดยเลือกตัดเมื่อพืชเหล่านี้เริ่มมีเมล็ดอ่อนๆ เนื้อในเมล็ดยังมีลักษณะเหนียวข้น ไม่ถึงกับเป็นเมล็ดแข็ง ถ้าเลยระยะนี้ไปจะ มีกากมากและน้ำตาลในลำต้นมีน้อย อาหารของบัคเตรีไม่พอ การหั่นต้องหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ขนาดยาว 3-5 นิ้ว เพื่อสะดวกต่อการอัดให้แน่น จากนั้นก็ขนลงหมักในหลุมที่เตรียมไว้แล้ว อัดหญ้าให้แน่นจนเต็มหลุม แล้วจึงกลบหลุมโดยใช้เศษพืชทับรองชั้นหนึ่งแล้วใช้ดินกลบทับจนแน่น ป้องกันอากาศเข้าออก การหั่นหญ้าและการอัดหญ้าให้แน่นเป็นขั้นตอนสำคัญมาก ถ้าหั่นหญ้ายาวเกินไป ทำให้การอัดไม่แน่น ไล่อากาศออกไม่หมดอากาศเข้าออกได้จะทำให้เชื้อราเจริญ และหญ้าเน่ากลายเป็นปุ๋ยหมัก
ถ้าใช้หญ้าชนิดอื่น เช่น หญ้าขน หญ้าเน-เปียร์ จะต้องใช้กากน้ำตาลละลายน้ำประพรมทุกครั้งที่ขนหญ้าสดลงหมักในหลุม โดยใช้กากน้ำตาล 30 กิโลกรัมต่อหญ้า 1,000 กิโลกรัมละลายน้ำแล้วพรมให้ทั่ว กากน้ำตาลจะเป็นอาหารของบัคเตรีที่ช่วยในการหมัก เมื่อกลบดินทิ้งไว้ 3-4 สัปดาห์ ก็จะเริ่มเป็นหญ้าหมัก
 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ฟางแฟ้ง มีด จอบ เสียม พลาสติกสำหรับคลุม แผ่นพลาสติก กากน้ำตาล

อุปกรณ์ ->

หญ้าหมักที่ดีควรมีกลิ่นหอมคล้ายกลิ่นผักดอง หรือมะม่วงดอง สีเขียวอ่อน ไม่ดำคล้ำ มีค่าความเป็นกรดประมาณ 4.3-4.4 คุณค่าอาหารจากหญ้าหมักที่ทำด้วยข้าวฟ่าง คิดเป็นร้อยละ ดังนี้ ความชื้น 70.4 โปรตีน 2.8 ไขมัน 1.3 กาก 8.7 แป้ง 14.7 เถ้า 2.1 และความเป็นกรด 4.5
เนื่องจากหญ้าหมักมีรสเปรี้ยวกว่าอาหารอื่นๆ การใช้เลี้ยงโคจึงมีขีดจำกัด โดยปกติแนะนำให้ใช้หญ้าหมัก 3-3.5 กิโลกรัมต่อน้ำหนักโค 100 กิโลกรัม ใส่รางให้กินภายหลังให้อาหารข้นแล้ว

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา