ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเลี้ยยงโคพื้นเมือง

โดย : นายสมาน พันนาวงศ์ วันที่ : 2017-05-17-14:59:17

ที่อยู่ : 34 หมู่10 ต.หนองอ้ม

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

โคพื้นเมือง ได้มีการเลี้ยงดูมาเป็นเวลานานแล้ว แต่ยังไม่ทราบแน่ชัดในสายพันธุ์ดั้งเดิมและประวัติความเป็นมาในอดีต โคพื้นเมืองจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาคของประเทศ โดยโคพื้นเมืองจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาคของประเทศ โดยโคพื้นเมืองแท้ๆจะอยู่ในเขตภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนทางภาคเหนือและภาคใต้โคพื้นเมืองบางส่วนจะมีรูปต่างแตกต่างกันออกไป เพราะมีสายเลือดโคอื่น โดยเฉพาะโคอินเดียวผสมปนเปไปบ้างแล้ว จึงมีโครงสร้างใหญ่ โดยเฉพาะพ่อโคบางตัวอาจะมีน้ำหนักตัวสูงถึง 480 กิโลกรัม โคพื้นเมืองจัดอยู่ในกลุ่มโคอินเดีย Bos indicus มีขนาดค่อนข่างเล็ก มีขนสั้นเกรียน โดยทั่วไปมีลำตัวสีน้ำตาลแกมแดง แต่อาจมีสีแตกต่างกันหลายสี เช่น ดำ แดง น้ำตาล ขาว เหลือง เป็นต้น หน้ายาวบอบบาง หน้าผากแคบ ตะโหนก (hump) เล็ก เหนียงคอ (dewlap) และหนังใต้ท้องไม่มากนัก ใบหูเล็ก นิสัยเปรียว ตื่นตกใจง่ายรักฝูง จดจำฝูงได้ดี มีความแข็งแรงทนทาน และอดทนมาก จึงเป็นโคสำหรับใช้งานโดยแท้จริง ทนทานต่อสภาพแวดล้อมอากาศร้อนชื้น โรคพยาธิและแมลงได้ดี มีความสามารถใช้อาหารหยาบที่มีคุณภาพต่ำ แต่มีลักษณะด้อย คือ การเจริญเติบโตต่ำ 
โคพื้นเมือง เป็นโคที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของประเทศไทยมาเป็นเวลานาน มีขนาดเล็ก ทนร้อน ทนต่อโรคและแมลง หากินเก่ง ให้ลูกดก สามารถใช้ประโยชน์จากอาหารหยาบได้ดี ซึ่งเหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน ที่กำลังประสบปัญหาการขาดแคลนพืชอาหารสัตว์ตามธรรมชาติ และพื้นที่เลี้ยงสัตว์มีแนวโน้มลดลง การเลี้ยงโคพื้นเมืองจึงถือเป็นทางเลือกหนึ่ง ที่เกษตรกรรายย่อยนำมาเป็นอาชีพเสริมให้กับครอบครัวได้ แต่ ปัญหาที่สำคัญ คือ ปัจจุบันโคพื้นเมืองมีปริมาณลดลง เนื่องจากมีการนำโคสายเลือดยุโรปมาผสมพันธุ์ และมีการขยายพื้นที่เลี้ยงอย่างกว้างขวาง ทำให้ได้โคลูกผสมที่ให้ผลผลิตที่สูงขึ้น ได้คุณภาพเนื้อและราคาที่ดีกว่า ดังนั้นโคพื้นเมืองจึงมีปริมาณลดลง 

วัตถุประสงค์ ->

1.เพื่ออนุรักษ์ พันธุ์พื้นเมืองให้อยู่บ้านเมืองและลูกหลานต่อไป

2.ได้มีรายได้ เพิ่มขึ้น และได้ใช้ประโยชน์จากมูลโค

3.ลดเวลาว่างจากหน้าฤดูการทำนา และใช้พื้นที่การเกษตรให้เกิดประโยชน์

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

-

อุปกรณ์ ->

-

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1.พื้นที่ การเลี้ยงโคต้องใช้พื้นที่ในการเลี้ยง โคเป็นสัตว์ขนาดใหญ่ ดังนั้นคุณจะต้องเตรียมพื้นที่ในการเลี้ยงให้เหมาะสม ถ้าหากเป็นชาวบ้านก็จะเลี้ยงปล่อยตามทุ่งนาทั่วไป ซึ่งต้องมีคนเฝ้าและดูแลวัวตลอดทั้งวัน แต่ถ้าหากเราจะเลี้ยงเป็นฟาร์มก็ต้องมีพื้นที่ ทั้งทำคอก ปลูกหญ้า ต่างๆ 

2. พันธุ์โค สิ่งต่อมาที่ท่านต้องเตรียมก็คือพันธุ์โค เพราะเราต้องรู้ก่อนว่าจะเลี้ยงโคพันธุ์อะไร เลี้ยงเพื่อไปขายที่ไหน วัวมีด้วยกันหลายสายพันธุ์แบ่งเป็นง่ายๆก็ วันพันธุ์เนื้อและวัวนม ในที่นี้ขอยกตัวอย่างวัวพันธุ์เนื้อพื้นเมืองของไทย 
โคพื้นเมือง
โคพื้นเมืองของไทยมีลักษณะใกล้เคียงกับโคพื้นเมืองของประเทศเพื่อนบ้านในแถบเอเชีย ลักษณะรูปร่างกระทัดรัด ลำตัวเล็ก ขาเรียวเล็ก ยาว เพศผู้มีหนอกขนาดเล็ก มีเหนียงคอ แต่ไม่หย่อนยานมาก หูเล็ก หนังใต้ท้องเรียบ มีสีไม่แน่นอน เช่น สีแดงอ่อน เหลืองอ่อน ดำ ขาวนวล น้ำตาลอ่อนและอาจ มีสีประรวมอยู่ด้วยเพศผู้โตเต็มที่หนักประมาณ 300-350 ก.ก. เพศเมีย 200-250 ก.ก.
ลูกโคเป็นผลผลิตหลักของการเลี้ยงแม่โคเนื้อ การเลี้ยงโคเนื้อจะให้ได้กำไรจะต้องสามารถผลิตลูกโคให้ได้จำนวนมาก เช่น แม่โคสามารถให้ลูกได้ปีละตัว เมื่อหย่านมลูกโคมีขนาดใหญ่และมีคุณภาพดีเป็นที่ต้องการของตลาดจึงจะขายได้ราคาดี การที่จะสามารถทำกำไรได้ดีดังกล่าวจะต้องเริ่มตั้งแต่เลือกพันธุ์ที่เลี้ยงให้เหมาะสมกับระบบหรือวิธีการจัดการเลี้ยงดู ให้อาหารให้เหมาะสมกับความต้องการของวัวระยะต่างๆ และมีการจัดการเลี้ยงดูที่เหมาะสม
 

ข้อพึงระวัง ->

1.โรคที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น โรคเท้เปื่อยปากเปื่อย

 

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา