ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การผลิตและแปรรูปอาหารเพื่อสุขภาพ

โดย : นาย ณรงค์ พิลารัตน์ วันที่ : 2017-05-17-12:17:34

ที่อยู่ : 88 หมู่7 ต. นาห่อม

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

มีประสบการณ์ทำงาในอุตสาหกรรมการผลิต เคยทำงานเป็นวอฃิศวกรในโรงงานผลิตยา อาหารเสริมและเครื่องสำอางค์ มีความเชี่ยวชาญพิเศษเกี่ยวกับการวางแผนและควบคุมการผลิต การหารการผลิต ระบบควบคุมคุณภาพ การเพิ่มผลผลิต หลังจากได้ลาออกจากงานประจำแล้วก็ได้นำเอาแก่นตะวัน พืชอาหารสมุนไพรเพื่อสุขภาพเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2556 หลังจากนั้นตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนศรีอุดมก้าวหน้าเมื่อเดือนเมษายน 2556โดยมีกลุ่มสมาชิก 10 ราย เพื่อการผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภันฑ์จากพืชอาหารสมุนไพรเพื่อสุขภาพ ซึ่งแก่นตะวันก็เป็นผลิตภัณฑ์หลักของกลุ่ม มีลูกค้า อยู่ทั่วประเทศ มีการทำการตลาดทั้งแยบบ ออฟไลน์ และออนไลน์

 

วัตถุประสงค์ ->

-เพื่อสร้างกลุ่มอาชีพเป็นการส่งเสริมรายได้ ให้กับชุมชน

-เพื่อผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากพืชอาหารสมุนไพรเพื่อสุขภาพ

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

-

อุปกรณ์ ->

-

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1.การเตรียมหัวพันธื สำหรับปลูก มีกระบวนการบ่มหัวพันธ์ในที่เย็นอย่างน้อย 2-3สัปดาห์ก่อนปลูกเพื่อกระตุ้นการงอกแก่นตะวัน

2.การเตรียมดิน ปรับปรุงดินก่อนปลูก พื้นที่ปลูกแก่นตคะวันจะต้องเป็นพื้นที่สูง น้ำไม่ท่วมขัง เตรียมดินโดยการหว่ายปูนโดโลไมท์ 400-500 กิโลกรัมต่อไร่ และหว่านปุ๋ยขี้ไก่อัดเม็ด 300-500กิโลกรัมต่อไร่ไถ่กลบดินไว้15 วัน หลังจากนั้นไถพรวนและทำการไถปั่นดินให้ละเอียด

3.การปลูกแก่นตะวัน

3.1การเพาะต้นกล้า ทำได้2 วิธีคือ การปลูกด้วยหัววพันธุ์ลงดินกับการเพาะต้นกล้าในถาดเพาะ60หลุม หรือถุงชำขนาด 2*5 นิ้ว เป็นระยะเวลา20-25 วันก่อการย้ายลงแปลงปลูก

3.2 วิธีการปลูก ขุดดินลึก1หน้าจอบ ระยะห่างต่อหลุม 50-60 เซ็นติเมตร ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ 1กำมือ เกลี่ยดินกลบปุ๋ย แล้วย้ายต้นกล้าปลูกกดดินให้แน่ รดน้ำเช้าเย็นช่วงสัปดาหืแรกให้ต้นกล้าแข็งแรง จากนั้นรดน้ำวันละครั้ง

3.3 การใส่ปุ๋ย การดูแลรักษา ใส่ปุ๋ยครั้งที่1 รอบโคนต้นเมื่อแก่นตะวันอายุได้30-35 วันหลังปลูก ใส่ปุ๋ยครั้งที่2เมื่อแก่นตะวันอายุได้50-55 วัน

4.การเกี่ยวผลผลิต แก่นตะวันอายุได้110-120 วันก็สามารถขุดได้โดยเมื่อขุดได้โดยเมื่อขุดแล้วเอาหัวแก่นตะวันมาล้างน้ำให้สะอาดตัดแต่งหัว แล้วเอาเข้าที่เย็นเก็บไว้รอจำหน่าย

 

 

 

ข้อพึงระวัง ->

1.เรื่องโรคพืช ได้แก่โรครากเน่า 2. การเลือกสายพันธุ์แก่นตะวันให้เหมาะกับสภาพดิน

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา