ความรู้สัมมาชีพชุมชน

เทคนิคการจักรสานให้มีความคงทนแข็งแรง

โดย : นายศรีจันทร์ โยธาราช วันที่ : 2017-05-17-10:00:38

ที่อยู่ : 33 หมู่ 10 บ้านหนองเจริญ ต.นาโพธิ์กลาง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

หัตถกรรมเครื่องจักสานเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนที่สำคัญยิ่งต่อการดำรงชีวิตตั้งแต่อดีตตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงปัจจุบัน   หัตถกรรมเครื่องจักสานเป็นตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นภูมิปัญญาอันเฉลียวฉลาดของคนในท้องถิ่น  ที่ใช้ภูมิปัญญาสามารถนำสิ่งที่มีอยู่ในชุมชนมาประยุกต์ทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน  ซึ่งมีประโยชน์ในการดำรงชีวิต  

                 จะเห็นได้ว่าหัตถกรรมเครื่องจักสานมีมานานแล้วและได้มีการพัฒนามาตลอดเวลาโดยอาศัยการถ่ายทอดความรู้จากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง  การดำรงชีวิตประจำวันของชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่ได้เอาการรู้หนังสือมาเกี่ยวข้อง  การเรียนรู้ต่างๆ  อาศัยวิธีการฝึกหัดและบอกเล่าซึ่งไม่เป็นระบบในการบันทึก  สะท้อนให้เห็นการเรียนรู้ ความรู้ที่สะสมที่สืบทอดกันมาจากอดีตมาถึงปัจจุบันหรือที่เรียกกันว่าภูมิปัญญาท้องถิ่น ดังนั้นกระบวนถ่ายทอดความรู้จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่ทำภูมิปัญญาท้องถิ่นนั้นคงอยู่ต่อเนื่องและยั่งยืน

               จากเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น  ผู้วิจัยจึงสนใจทำการศึกษากระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญาหัตถกรรมเครื่องจักสาน  ซึ่งมีความสำคัญยิ่งที่จะให้ภูมิปัญญาท้องถิ่นหัตถกรรมเครื่องจักสานนั้นๆคงอยู่ตลอดไป  ซึ่งผลจากการศึกษากระบวนถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นหัตถกรรมเครื่องจักสานนั้น  จะนำไปเป็นข้อมูลที่จะนำไปไปพัฒนากระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญาในชุมชนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และดำรงอยู่คู่สังคมสืบต่อไป

วัตถุประสงค์ ->

1.เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ให้กับผู้สนใจ

2.สามารถทำเองได้ ไม่ต้องชื้อ ลดรายจ่าย

3.เป็นอาชีพเสริม สร้างรายได้

4.เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน อยากได้ของดีต้องมาที่นี้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

-

อุปกรณ์ ->

วัตถุดิบในการจักสาน ที่ใช้กันทั่วไปมีหลายอย่างได้แก่ ใบเตย ลำเจียกหรือปาหนัน 
ผักตบชวา ย่านลิเพา กระจูด กก ใบตาล ใบลาน หวาย ไม้ไผ่ แต่ที่นิยมนำมาใช้ทำ 
งานจักสานมากที่สุดคือไม้ไผ่และหวาย เนื่องจากคงทน ราคาไม่แพง วัตถุดิบหาได้ 
ง่ายมีอยู่ทั่วไป 
การเตรียมไม้ไผ่ เลือกลำต้นที่มีความตรง ลำปล้องยาว ผิวเรียบเป็นมัน หลังจากตัด 
ออกมาจากกอ นำมาแช่น้ำตลอดทั้ง ลำเพื่อให้ไม้ไผ่มีความสดและป้องกันมด ปลวก 
มอด เจาะไช เมื่อจะนำมาใช้งานจึงตัดเอาตามขนาดที่ต้องการมาผ่าออกแล้วนำไป 
จักเป็นตอกแล้วตากแดดให้แห้ง 
การเตรียมหวาย ต้องแช่น้ำให้หวายอ่อนตัวเพื่อความสะดวกในการทำงาน หวาย 
สามารถใช้ได้ทั้งเส้น นำไปเป็นก้นกระบุง ตะกร้า หรือเลียดให้เป็นเส้นเล็กๆใช้ผูก 
มัด ตกแต่งลวดลาย

การสาน หลังจากเตรียมวัตถุดิบ ในการทำงานจักสานแล้วก็ถึงขั้นลงมือสาน ช่าง 
สานจะต้องรู้ว่า ควรใช้ลายสานแบบใด สำหรับเครื่องจักสานแต่ละชนิดเช่น ป้าน 
น้ำชาใช้ลายหนึ่ง กระบุงใช้ลายสาม กระด้งใช้ลายขอ ช่างจักสานที่มีความชำนาญ 
มากจะสามารถสานลายต่างๆได้อย่างรวดเร็วและคล่องแคล่ว เป็นระเบียบ และสวย

ลวดลายในการจักสาน แบ่งตามลักษณะการใช้งานได้ 3 ลักษณะคือ 
1. ลวดลายพื้นฐาน ถือเป็นลายแม่บท สำหรับการสานทั่วไป มี 6 ลาย คือ 
1.1 ลายขัด 1.2 ลายสอง 1.3 ลายสาม 
1.4 ลายตาหลิ่ว 1.5 ลายขอ 1.6 ลายบองหยอง 
2. ลวดลายพัฒนา เป็นลายที่ช่างจักสานในอดีตได้คิดค้นพัฒนาขึ้นมา ที่ปรากฏทั่ว 
ไป มี 5 ลาย คือ 
2.1 ลายบ้า 2.2 ลายดีด้าน 2.3 ลายเฉลาเกล็ดเต่า 2.4 ลายดอกขิง 2.5 ลายดีหล่ม 
3. ลวดลายประดิษฐ์ เป็นลวดลายที่คิดค้นประดิษฐ์ขึ้นเป็นลักษณะเฉพาะของช่าง

การทำเครื่องจักสานเป็นหัตถกรรมพื้นบ้านโบราณอย่างหนึ่งที่ทำสืบทอดกันมาช้านานแล้วเครื่องมือที่ใช้ทำเครื่องจักสานก็เป็นเครื่องมือพื้นบ้านเพียงไม่กี่ชิ้นที่ชาวบ้านมักทำขึ้นใช้เอง เครื่องมือสำคัญที่ใช้ทำเครื่องจักสานของไทย ได้แก่ เหล็กหมาด คีมไม้

กระบวนการ/ขั้นตอน->

วิธีการจักตอก

1.  การจักตอกปื้น แบ่งไม้ไผ่ออกเป็นชิ้นๆตามขนาดที่ต้องการ ใช้มีดจักตอกเอาส่วนในออก (ขี้ตอก)จักในส่วนที่เหลือออกเป็นเส้นบางๆ แล้วหลาวให้เรียบร้อยตากแดดให้แห้ง

2.  การจักตอกตะแคง ใช้วิธีเดียวกันกับการจักตอกปื้นเบื้องต้น แต่การจักให้เป็นเส้นตอกจะทำการจักทางผิวเป็นเส้นเล็กกว่าตอกปื้น ทำการหลาวให้เรียบร้อย แล้วนำออกตาก

 

การสาน

การสาน เป็นขั้นตอนที่ยาก และต้องใช้ความละเอียดมากที่สุด เริ่มจากการก่อฐานด้านล่างด้วยเส้นตอกสองชนิด คือ ตอกยืน (ตอก-ตั้ง) ซึ่งจะมีลักษณะคอดตรงกลางต่างจากตอกทั่ว ๆ ไป และตอกนอน (ตอกสาน) ที่มีขนาดกว้างเท่ากันเท่ากันทั้งเส้นตากปกติ เหตุที่ตอกยืนมีลักษณะพิเศษ เนื่องมาจากเมื่อสานเสร็จจะได้ตะกร้าที่มีฐานเล็ก และค่อย ๆ บานขึ้นบริเวณปาก

 

การรมควัน

เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการสานเพื่อเพิ่มความแข็งแรง สวยงาม แก่เครื่องจักสานด้วยหวาย  ในส่วนที่ต้องการเสริมเป็นพิเศษได้แก่  ปาก ขา หู การผูกและพันด้วยหวาย  จะเสริมให้เครื่องจักสานเกิดความสวยงาม

การถักและพัน

เมื่อสานตัวเรียบร้อยก็ถึงการรมควันโดยจะทำในวันที่ไม่มีลม  ใช้ฟางพรมน้ำหมาด ๆ เป็นเชื้อเพลิงเพื่อให้เกิดควันมาก รมจนเครื่องจักสานมีสีเหลืองเท่ากันทั้งใบ แล้วนำมาเข้าส่วนประกอบหวาย  มีการผูกปาก  พันขา  ใส่ฐานและหูหิ้ว

 

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา