ความรู้สัมมาชีพชุมชน

เทคนิคการเลี้ยงไก่พื้นบ้าน

โดย : นายผล สายเนตร วันที่ : 2017-05-17-09:31:31

ที่อยู่ : 5 หมู่1 บ้านห้วยไผ่ ต.ห้วยไผ่ อ.โขงเจียม

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

         ปัจจุบันไก่พื้นบ้านได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้นมาก เป็นเพราะไก่พื้นบ้านมี เนื้อ รสชาติอร่อยและเนื้อแน่น เป็นที่ถูกปากของผู้บริโภคทั่วไป จนมีแนวโน้มว่า จะสามารถส่งเนื้อไก่พื้นiบ้านออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ แต่ปัญหาคืะอปริมาณไก่ บ้านยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ เพราะเกษตรกริ.1่วนมากประมาณร้อยละ 70 80 เปอร์เซ็นต์ จะเลี้ยงไก่พื้นบ้านแบบหลังบ้านประมาณ 10 20 ตัวต่อครัว เรือน ซึ่งการเลี้ยงก็เป็นการเลี้ยงแบบปล่อยตามยถากรรม จึงเป็นเหตุให้เกิดความสูญเสย พอสมควร แต่ถ้าเกษตรกรสามารถปรับใช้เทคนิคการเลี้ยงแบบเรือนโรงมาผสม ผสานกับการเลี้ยงแบบพื้นบ้านและมีการปรับปรุงพันธุ์ลูกผสมระหว่างไก่บ้านกับไก่ พันธุ์แท้แล้วย่อมส่งผลทำให้จำนวนไก่บ้านที่จะออกสู่ตลาดมีปริมาณที่สูงขึ้นอย่าง แน่นอน

วัตถุประสงค์ ->

1.เพื่อเป็นความรู้แก่ผู้ที่สนใจ

2.เพื่อป้องกันการตายของไก่ เนื่องจากอากาศเปลียนแปล

3.เพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน

4.ชุมชนเป็นแหล่งส่งออกไก่พื้นบ้าน 

5.ชุมชนเกิดการพัฒนา มีอาชีพเสริม สร้างรายได้ให้กับชุมชน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

-แกลบ

อุปกรณ์ ->

-

กระบวนการ/ขั้นตอน->

สำหรับรูปแบบการเลี้ยง ก็คล้ายกับไก่พื้นเมืองทั่วไป สามารถปล่อยเลี้ยงให้ไก่หาอาหารกินได้อย่างอิสระ ดังนั้นเกษตรกรที่อยู่ตามชนบทสามารถเลี้ยงติดบ้านไว้ 10-20 ตัว เพื่อเป็นอาหารหรือไว้จำหน่ายในท้องถิ่นก็ทำได้ แต่ทว่าถ้าต้องการให้ได้ผลผลิตที่มีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งลดโอกาสสูญเสีย ควรมีการจัดการที่เป็นระบบและแยกส่วนเลี้ยงไก่กับที่อยู่อาศัยออกจากกัน อย่างชัดเจน

 

สำหรับโรงเรือนที่ เหมาะสมสำหรับเลี้ยงไก่พื้นเมืองในปัจจุบัน สามารถก่อสร้างตามต้นทุนหรือวัสดุที่มีในท้องถิ่น ให้เป็นที่อยู่อาศัย หลบแดด ลม ฝนได้ดี ภายในโรงเรือนมีรังไข่ มีขอนสำหรับให้ไก่เกาะนอนตอนกลางคืน มีอุปกรณ์ให้น้ำ ให้อาหาร ขณะเดียวกันรอบ ๆ โรงเรือนจำเป็นต้องมีอาณาบริเวณให้ไก่สามารถออกมาคุ้ยเขี่ย และแสดงพฤติกรรมทางธรรมชาติได้ตามปกติ เนื่องจากปัจจุบันการเลี้ยงสัตว์ ต้องให้สัตว์มีสวัสดิภาพที่ดี ซึ่งทำให้ไก่ไม่เครียด ยิ่งถ้าบริเวณที่ปล่อยออกมาเป็นแปลงหญ้าหรือสวนก็ยิ่งดี เพราะไก่จะได้จิกกินหญ้าหรือวัชพืชต่าง ๆ ช่วยให้ระบบการย่อยทำงานได้ดี ซึ่งมีผลต่อสุขภาพของไก่โดยตรง ทว่าบริเวณที่ปล่อยนั้น จำเป็นต้องมีรั้วหรือตาข่ายล้อมรอบให้มิดชิด เพื่อป้องกันสัตว์พาหะที่นำโรคมาสู่ไก่ รวมถึงสัตว์เลี้ยงที่เข้ามาทำลายไก่ด้วย

 

“รูปแบบของโรงเรือนและสถานที่สำหรับเลี้ยงไก่ มีความเกี่ยวข้องกับระบบมาตรฐานการเลี้ยงโดยตรง ทว่าปัจจุบันยังไม่มีมาตรการควบคุมเรื่องนี้อย่างจริงจังนัก ส่วนใหญ่เป็นการแนะนำให้เกษตรกรต้องจำกัดพื้นที่การเลี้ยง พร้อมทั้งมีอ่างน้ำยาฆ่าเชื้อจุ่มเท้าก่อนเข้าในบริเวณเลี้ยง รวมถึงมีการทำความสะอาดเล้า พักเล้า ซึ่งเป็นขั้นตอนเดียวกันกับการเลี้ยงไก่ในระบบอุตสาหกรรม แต่ความเข้มงวดน้อยกว่า ทางกรมปศุสัตว์ก็พยายามชี้ให้เกษตรกรเห็นถึงความสำคัญเพื่อจะได้ปรับปรุงรูป แบบการเลี้ยงไก่พื้นเมืองเข้าสู่มาตรฐานมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันได้ให้เกษตรกรพัฒนาการเลี้ยงเข้าสู่ระบบมาตรฐานบ้างแล้ว”

 

 คุณดารุณี บอกอีกว่าสิ่งสำคัญที่ทำให้การเลี้ยงไก่พื้นเมืองประสบความสำเร็จ คือ ความรู้ด้านการจัดการฟาร์ม ตั้งแต่การเลี้ยงลูกไก่ ที่ต้องมีการกกให้ความอบอุ่นในอุณหภูมิที่เหมาะสม ระยะเวลาการกกที่ไม่มากหรือน้อยเกินไป ลูกไก่ควรได้รับวิตามินเสริมในน้ำกินอยู่เสมอ ส่วนอาหารที่ใช้ก็ต้องมีโภชนาการครบถ้วนตามความต้องการของไก่ในแต่ละช่วง อายุ พร้อมกับได้รับในปริมาณที่เพียงพอด้วย ตลอดจนการคัดเลือกไก่ในฝูงเพื่อทำเป็นพ่อแม่พันธุ์ ซึ่งเกษตรกรต้องเข้าใจในลักษณะพันธุ์ ความสมบูรณ์พันธุ์ ขนาดต้องเหมาะสม ความสม่ำเสมอของฝูง สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นเรื่องสำคัญที่เกษตรกรต้องทำความเข้าใจ

 

 

“ยิ่งถ้าต้องเลี้ยงในระบบฟาร์ม ที่มีแม่ไก่ 200-300 ตัวขึ้นไป ความรู้ด้านการจัดการฟาร์มก็ต้องมีมากขึ้นตาม เนื่องจากการเลี้ยงไก่พื้นเมืองให้ได้ผลผลิตที่ดีจำเป็นต้องมีเทคโนโลยีเข้า มาช่วย โดยเฉพาะเครื่องฟักไข่ ที่ทำให้ประสิทธิภาพการเพาะและขยายพันธุ์เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว ดังนั้นเกษตรกรต้องมีความรู้ความเข้าใจด้านการจัดการโรงฟักไข่ด้วย”

 

 เครื่องฟักไข่นับเป็นเทคโนโลยีที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับเกษตรกรที่ เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ ทั้งนี้การเลี้ยงไก่พื้นเมืองที่ปล่อยให้แม่ไก่ฟักไข่ตามธรรมชาติ มักมีผลผลิตต่ำ เนื่องจากแม่ไก่ต้องเสียเวลากกไข่และเลี้ยงลูก อีกทั้งลูกไกที่ฟักโดยธรรมชาติมีอัตราการเกิดและอัตราการรอดค่อนข้างน้อย ทำให้เฉลี่ยต่อปีแม่ไก่ให้ผลผลิตประมาณ 30 ฟอง / ตัวเท่านั้น ขณะที่ถ้าเกษตรกรใช้เครื่องฟักไข่ ในกรณีไก่ประดู่หางดำเชียงใหม่ ที่ให้มากถึงปีละ 150 ฟอง / ตัว และมีอัตราการฟักเป็นตัวสูงถึง 85 เปอร์เซ็นต์ ถ้าเกษตรกรมีการจัดการที่ดี มีการส่องไข่ก่อนเข้าตู้ฟัก ทำให้มีอัตราการฟักและเลี้ยงรอดสูง แม่พันธุ์ตัวหนึ่งให้ผลผลิตได้มากถึง 80-90 ตัวเลยทีเดียว ซึ่งการนำเทคโนโลยีเข้าไปช่วยสามารถพัฒนาผลผลิตให้เพิ่มขึ้นได้มาก

 

“การใช้เครื่องฟัก ไข่ในระดับเกษตรกร อาจเริ่มจากเครื่องฟักขนาดเล็ก 50-100 ฟอง ซึ่งมีราคาถูก หลังจากนั้นค่อนเพิ่มขนาดเครื่องฟักตามจำนวนไก่และต้นทุนที่มีภายหลังก็ได้”

ข้อพึงระวัง ->

1. ควรมีการคัดเลือกลักษณะไก่ที่ดีเอาไว้ทำพันธุ์ เพื่อทดแทนพ่อแม่พันธุ์รุ่น แรก ๆ อยู่ตลอดเวลา ปกติผู้เลี้ยงไก่มักจะมีการคัดเลือกลักษณะนี้ในทางกลับกัน คือ ไก่ตัวไหนที่โตเร็วแข็งแรงแทนที่จะถูกเก็บไว้เป็นพ่อแม่พันธุ์ต่อไป มักจะถูกฆ่า เพือใช้บริโภคก่อน เหลือแต่พวกที่มีลักษณะไม่ดีไว้ทำพันธุ์ต่อไป ทำให้ ด้ลูกในรุ่น ต่อ ๆ ไปมีลักษณะเลวลง

2. ไม่ควรปล่อยให้พ่อพันธุ์ตัวหนึ่งตัวใดคุมฝูงนานเกินไป เนื่องจากจะทำให้ เกิดปัญหาเกี่ยวกับการผสมเลือดชืดมากขึ้น ซึ่งได้แก่ปัญหาอัตราการฟักออกเป็นตัวต่ำ ปริมาณไข่ลดลงกว่าปกติและมีอัตราการตายของลูกไก่สูงขึ้น เป็นต้น ถ้าไก่พ่อพันธุ์มีจำนวนจำกัด อาจใช้วิธีแลกเปลี่ยนพ่อพันธุ์กับเพื่อนบ้านก็ได

3. ควรมีการคัดพ่อแม่พันธุ์ที่อายุมาก ๆ ออกจากฝูง ทั้งนี้เพี่อปัองกันไม่ให้ อัตราการผสมติดของไก่ในฝูงต่ำ

4. มีอัตราส่วนระหว่างพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ที่เหมาะสมคือ ตัวผู้ต่อตัวเมีย ประมาณ 1 : 5 ถึง 1 : 10 ไม่ควรเกินกว่านี้ เพราะจะทำให้มีไข่ที่ไม่มีเชื้อมากขึ้น

การสร้างเรือนโรงไก่จะมีจุดประสงค์หลัก ๆ ดังนี้คือ

  1. ใช้เป็นที่กกลูกไก่แทนแม่ไก่
  2. ให้ใก่หลบพักผ่อนในช่วงกลางคืน
  3. เป็นที่ให้อาหารและน้ำในช่วงภาวะอากาศแปรปราน เช่น ฝนตกหนัก
  4. ใช้เป็นที่ขังไก่เพื่อทำวัคซีน
  5. ใช้เป็นที่ขังไก่เพื่อให้ยาหรือยาปฎิชีวนะป้องกันรักษาโรค

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา