ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การปลูกถั่วฝักยาวไร้สาร

โดย : นายลำพูล ผาแก้ว วันที่ : 2017-05-17-08:26:45

ที่อยู่ : 20 ม.3 ต.แก้งเหนือ อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ถั่วฝักยาวถือเป็นผักที่เป็นที่นิยมรับประทานของคนทั่วไป  สามารถประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู  เป็นผักสวนครัวที่ปลูกง่าย  สามารถปลูกเป็นอาชีพเสริมเพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัวได้อีกทางหนึ่งด้วย

วัตถุประสงค์ ->

1.  เพื่อสร้างรายได้ให้เกิดขึ้นในครอบครัว

2.  เพื่อใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

3.  เพื่อส่งเสริมอาชีพเกษตรกรให้คงอยู่คู่ชุมชนต่อไป

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.  จอบ

2.  เสียม

3.  เมล็ดพันธุ์ถั่วฝักยาว

4.  ปุ๋ยคอก

อุปกรณ์ ->

1.  จอบ

2.  เสียม

3.  คราด

 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

 1. เตรียมเมล็ดพันธุ์ เนื้อที่ 1 ไร่ควรใช้เมล็ดพันธุ์ 3-4 กิโลกรัม คัดเมล็ดพันธุ์ที่ดี ไม่แตกหรือมีจำหนิ หรือมีสภาพไม่เหมาะกับการปลูกออกแยกไว้แล้วนำไปคลุกด้วยสารเคมีป้องกันกำจัดแมลงก่อนเพื่อป้องกันการโดนทำลาย

2. เตรียมหลุมปลูก ให้ได้ระยะห่างระหว่างแถว 0.8-1เมตร ระหว่างหลุมต่อหลุม 0.5 เมตร (หรือแล้วแต่พิจารณา) โดยให้หลุมลึกประมาณ 5-6 นิ้ว ใช้ใบคูน หรือใบหางนกยูงแห้ง โรยก้นหลุม 1 กำมือ แล้วใช้ปุ๋ยเคมีสูตรที่เหมาะสมกับถั่วฝักยาว เช่น 15-15-15, 13-13-21,12-24-12, 5-10-5 หรือ 6-12-12 ใส่หลุมละ 1/2 ช้อนแกง (10-15 กรัม) คลุกเคล้าให้เข้ากันปิดทับด้วยดินบางๆ

3. หยอดเมล็ดลงหลุม หลุมละ 3-4 เม็ดแล้วกลบดินลงหลุมประมาณ 5 เซนติเมตรแล้วรดน้ำทันที การให้น้ำระยะ 1-7 วัน ควรให้น้ำทุกวัน วันละ 1 ครั้ง ทั้งนี้ให้พิจารณาสภาพภูมิอากาศ และสภาพดินด้วย

4. ดูแลต้นกล้า ประมาณ 1 อาทิตย์ เมล็ดจะเริ่มงอกให้เห็นยอดอ่อน เมื่อมีใบจริงประมาณ 3-4 ใบให้ถอนแยกคัดเอาเฉพาะต้นที่แข็งแรงเอาไว้ 2 ต้นต่อ 1 หลุม และทำการกำจัดวัชพืชบริเวณรอบๆ หลุมให้หมด นำใบคูน หรือใบหางนกยูงแห้ง หรือแกลบโรบกลบรอบโคนหลุมหนาประมาณ 1 นิ้ว แล้วรดน้ำให้ฉ่ำ เนื่องจากถั่วฝักยาว เป็นพืชที่ต้องการการดูแลรักษาอย่างใกล้ชิด การดูแลรักษาที่ดีจะมีผลต่อปริมาณและคุณภาพของผลผลิตเป็นอย่างมาก จึงแนะนำขั้นตอนการดูแลรักษาดังนี้ การดูแลรักษาแปลงถั่วฝักยาว 1. การให้น้ำ โดยทั่วไป พืชตระกูลถั่วต้องการน้ำอย่างสม่ำเสมอ แต่ไม่ควรแฉะเกินไป ระยะเจริญเติบโตหลังจากทำการถอนแยกแล้วควรให้น้ำทุกๆ 4-6 วันต่อครั้ง หากไม่ได้ทำการโรยแกลบ หรือใบคูน ใบหางนกยูงไว้รอบๆ เพื่อรักษาความชื้น ควรให้น้ำทุก 3-5 วันต่อครั้ง ให้ตรวจสอบความชื้นในดินให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโต ระบบการให้น้ำอาจใช้วิธีการใส่น้ำเข้าตามร่อง หรืออาจจะใช้วิธีการตักรดโดยตรง ขึ้นอยู่กับแหล่งน้ำที่มี สภาพพื้นที่ปลูกและความชำนาญของ การปลูกถั่วฝักยาวของผู้ปลูกเป็นหลัก 2. การปักค้าง ถั่วฝักยาวเป็นพืชที่ต้องอาศัยค้าง หรือนั่งร้าน เพื่อเกาะพยุงลำต้นให้เจริญเติบโต ไม้ที่ใช้สำหรับทำไม้ค้างนั้นใช้ไม้ไผ่ หรือไม้อื่น ๆ ที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น โดยความยาวของไม้มีความยาวประมาณ 2.5-3 เมตร หรือตามความเหมาะสม หรืออาจจะสร้างโครงเสาแล้วใช้ลวดขึงด้านบน และใช้เชือกห้อยลงมายังลำต้นถั่วฝักยาวให้เลื้อยขึ้น ระยะเวลาการใส่ค้างถั่วฝักยาวนั้นจะเริ่มใส่หลังจากงอกแล้ว 15-20 วัน โดยจับต้นถั่วฝักยาวให้พันเลื้อยขึ้นค้างในลักษณะ ทวนเข็มนาฬิกา ทำไมต้องทวนเข็ม เนื่องจากเป็นวิธีที่ทำให้ลำต้นแข็งแรงและโตไวที่สุด ในแหล่งที่หาค้างยาก ผู้ปลูกควรใช้เชือกแทนค้าง การปลูกถั่วฝักยาวควรมีการทดสอบ การใช้เชือกแทนค้างเพื่อหาข้อมูลสำหรับการลดต้นทุนการผลิต

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา