ความรู้สัมมาชีพชุมชน

ย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติ

โดย : สะอาด หารสุโพธิ์ วันที่ : 2017-05-03-15:58:39

ที่อยู่ : 74 หมู่ 4 ต.ห้วยไผ่

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

     การย้อมสีธรรมชาติ เป็นการลดการใช้สารเคมี ที่ทำให้เกิดโรคต่างๆ ในระบบทางเดินหายใจ โรคมะเร็ง โรคผิวหนัง ที่เกิดจากการสะสมของสารเคมี จากการย้อมผ้าด้วยสีเคมี ที่มีกลิ่นฉุน แสบจมูก ทำให้เกิดอาการวิงเวียน เป็นโรคพิษสำแดง ไม่สามารถที่จะย้อมไหมต่อไปได้ จนทำให้กลุ่มสตรี แม่บ้านหันกลับมาย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติ เพราะสีธรรมชาติเป็นสีที่บริสุทธิ์ ไม่มีพิษต่อร่างกาย ไม่ก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บ และผ้าที่ได้มีความโดดเด่นเฉพาะ เวลาทอขึ้นเงา สีไม่ตก ใส่สบาย แต่ขั้นตอนการทำยุ่งยากและวุ่นวาย ต้องอาศัยทักษะ ความอดทน ความชำนาญ และประสบการณ์ ในการย้อมสีแต่ครั้งให้เหมือนกัน

การจัดกลุ่มของสีธรรมชาติชนิดต่างๆ แยกเป็นโทนสี ดังนี้

     โทนสีแดง ได้จากครั่ง รากยอป่า  มะไฟ  แก่น  เมล็ดคำแสด  แก่นฝาง  เปลือกสมอ  ไม้เหมือด  เม็ดสะตีใบสัก  เปลือกสะเดา  ดอกมะลิวัลย์  แก่นกะหล่ำ  แก่นประดู่  เปลือกส้มเสี้ยว

     โทนสีเหลือง  ได้จาก  หัวขมิ้นชัน  ขมิ้นอ้อย  แก่นไม้พุด  ดอกกรรณิการ์  รากฝาง  ใบมะขาม  ผลดิบมะตูม  เปลือกมะขามป้อม  เปลือกผลมังคุด  ดอกผกากรอง  เปลือกประโหด  แก่นเข  ใบเสนียด  แก่นแค  แก่นฝรั่ง  หัวไพร  แก่นสุพรรณิการ์  แกนต้นปีบ  ต้นมหากาฬ  ใบขี้เหล็ก  แก่นขนุน  ลูกมะตาย  ต้นสะตือ  ใบเทียนกิ่ง

     โทนสีน้ำตาล  ได้จาก  เปลือกไม้โกงกาง  เปลือกสีเสียด  เปลือกพยอม  เปลือกผลทับทิม  เปลือกคาง  เปลือกโป่งขาว  เปลือกสนทะเล  เปลือกแสมดำ  เปลือกนนทรี  เปลือกฝาดแดง  เปลือกมะหาด  เปลือกเคี่ยม  เปลือกติ้วขน  ผลอาราง  แก่นคูณ

     โทนสีน้ำเงิน  ได้จาก  ใบบวบ  ใบหูกวาง  เปลือกเพกา  เปลือกต้นมะริด  เปลือกสมอ  เปลือกกระหูด  ใบเลี่ยน  เปลือกสมอภิเภก  ใบตะขบ

     โทนสีดำ  ได้จาก  ผลมะเกลือ  ผลสมอภิเภก  ใบกระเม็ง  ผลมะกอกเลื่อม  เปลือกรกฟ้าผลตับเต่า  เปลือกมะเขือเทศ

วัตถุประสงค์ ->

1. ลดการใช้สารเคมี

2. ผู้บริโภคมีความปลอดภัยในการสวมใส่

3. วัตถุดิบหาได้ง่ายภายในชุมชน ลดต้นทุน

 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

.  เตรียมวัตถุดิบให้สี   เช่น   ใบไม้   ดอกไม้   เปลือกไม้   กิ่ง  ก้านใบ  แก่นใบ ผลไม้  รากไม้  ที่ให้สีในโทนที่ต้องการมาจำนวนพอประมาณ ซึ่งขึ้นอยู่กับระดับน้ำ หม้อที่ใช้ต้ม และจำนวนผ้าที่ต้องการย้อมด้วย นำวัตถุดิบดังกล่าวมาหั่นเล็กๆ ขนาดพอเหมาะกับภาชนะต้ม 

2.  เตาขนาดใหญ่ หรือก้อนเส้าที่สูงเล็กน้อยเพื่อตั้งหม้อต้มน้ำ พร้อมกับถ่านหรือฝืนที่จะก่อไฟ 

3.  ผ้าฝ้าย ขนาดตามต้องการ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการใช้ 

 4. หนังยาง   เชือก ฟาง  หรือ เข็มกับด้วย เพื่อเอาไว้มัดลวดลาย 

5.  ปีบ  กะละมังหรือหม้อขนาดใหญ่เพื่อเอาไว้ต้มสีย้อมผ้าจาก ธรรมชาติ 

6.  ถุงผ้า หรือ ตาข่าย สำหรับใส่หรือห่อวัตถุดิบที่ให้สี เพื่อป้องกันไม่ให้เศษไม้ กระจายไปติดกับผ้าที่เราจะย้อม 

            7.  ไม้ไผ่ผ่าซีกแบนเรียบ ไม้ไอศกรีม  ก้อนหิน หรือวัตถุขนาดต่างๆ เพื่อ เอาไว้ทำเป็นแม่แบบกดทับผ้าเพื่อให้เกิดลายตามจินตนาการ 

            8.  เกลือ เอาใส่ในหม้อต้มน้ำเพื่อให้สีติดทนนานขึ้น

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1.  นำผ้าฝ้ายสีขาวมาตัดตามขนาดที่ต้องการ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการใช้ว่าจะทำอะไร เช่น ผ้าเช็ดตัว ผ้าปูโต๊ะ ผ้าห่ม ผ้าปูที่นอน เป็นต้น 

2.  นำไปเย็บริมให้เรียบร้อยเพื่อป้องกันการหลุดลุ่ยของชายผ้า หรือนำมาตัดชายผ้าแล้วดึงปมออกให้เป็นชายเพื่อพันให้เป็นเกลียวก็ได้ 

4.  นำผ้าฝ้ายไปซักในน้ำสะอาด เพื่อให้แป้งที่ติดมากับผ้าหลุดออกและเพื่อให้ผ้านุ่มและดูดสีมากขึ้น 

5.  มัดลวดลายตามจินตนาการ

ขั้นตอนการทำผ้ามัดย้อมจากสีธรรมชาติ  มีดังนี้ 

1. ต้มน้ำให้เดือด  ในภาชนะที่ใหญ่พอประมาณ (ขึ้นอยู่กับจำนวนผ้า ที่จะย้อมด้วย) ใส่เกลือลงไปพร้อมกับน้ำเพื่อให้สีติดทนนานและสีสดขึ้น 

2. นำวัตถุดิบให้สีที่เตรียมไว้มาสับๆ ให้เล็กพอประมาณ แล้วใส่ ใน ถุงผ้าหรือ ตาข่ายที่เตรียมไว้ แล้วนำเอาไปต้มกับน้ำที่เดือด  เพื่อสกัดเอาสารที่มี อยู่ในนั้นออกมา ให้สังเกตสีที่ออกมาจากถ้าสีเข้มแล้วจึง 

3. นำผ้าที่ผูกลายเสร็จลงไปในหม้อต้มสี ให้กลับด้านผ้าหรือกวน ให้ตลอดเพื่อให้สีผ้าดูดสีสม่ำเสมอกันทั้งผืน  ให้สังเกตสีที่ซึมเข้าไปในเนื้อผ้า ถ้าพอใจหรือเหมาะสมแล้วจึงนำออกมา วางให้เย็นก่อน (ประมาณ 30 นาที ขึ้นอยู่กับอุณหถูมิของน้ำ)

4.  แล้วค่อยเอาลงล้างขยี้เบาๆ ในน้ำตัวทำปฏิกิริยาเพื่อทำให้เกิดสีใหม่   เช่น   น้ำสนิม  น้ำสารส้ม   น้ำปูนใส   น้ำด่างขี้เถ้า  (ในขณะที่แช่ผ้าในตัวทำปฏิกิริยาแต่ละชนิดให้สังเกตถึงความต่างและการเปลี่ยนแปลงสีของแต่ละชนิดไว้ด้วยเพราะแต่ละตัวจะให้สีแตกต่างกัน) ถ้าพอใจแล้วให้แกะลายออกแล้วนำไปตากแดดให้แห้ง หรือถ้ายังไม่พอใจในสีที่ปรากฏให้นำไปล้างน้ำ สะอาดแล้วนำกลับไปย้อมกับตัวทำปฏิกิริยาชนิดอื่นๆ อีก   แต่ข้อควรระวัง คือในระหว่างที่นำผ้าเปลี่ยนตัวทำปฏิกิริยาให้ล้างน้ำเปล่าก่อน เพื่อไม่ให้ผสมกัน หรือถ้าไม่พอใจอีกอาจนำไปต้มกับน้ำเปลือกไม้อีกครั้ง  เพื่อย้อมใหม่ จนเป็นที่พอใจแล้วแก้ผ้าที่มัดไว้นำไปตากแดดให้แห้ง

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา