ความรู้สัมมาชีพชุมชน

ปลาร้าแจ่วบอง

โดย : นางสุดใจ มหาไชย วันที่ : 2017-05-03-15:35:17

ที่อยู่ : 21 หมู่ 1 ต.โขงเจียม

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

         ปลาร้าเป็นอาหารคู่ครัวของคนอิสาน แต่ว่าคนต่างจังหวัด หรือว่าภาคอื่นๆก็ใช่ว่าจะไม่ติดใจในรสชาติของปลาร้าน่ะค่ะ ไม่ว่าจะนำไปปรุงกับอาหารชนิดไหนก็แซ่บไปส่ะทุกเมนู และปลาร้านั้นจะเป็นอาหารที่ คนอิสานบ้านเฮาชอบนำไปดัดแปลงเป็นอาหารได้หลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น ปลาร้าทอดทรงเครื่อง หรือหลนปลาร้า หรือแม้กระทั่งนำไปทำแจ่วปลาร้าและก็จะมีการปรุงรสชาติได้ออกมา แบบหลากหลายรสชาติและสามารถทำเป็นอาชีพ ก็มีหลายเมนูเช่นกันที่ทำมาจากปลาร้า

     เหตุผลที่ทำ เป็นหมู่บ้าน ชุมชนที่อยู่ใกล้กับแหล่งน้ำ คือแม่น้ำมูล คนในชุมชนส่วนใหญ่แต่ก่อนมีอาชีพเป็นชาวประมงน้ำจืด อาชีพจับปลาซึ่งในการจับปลาแต่ละครั้งบางทีได้มาก นำไปประกอบอาหารแล้วยังเหลือจึงมีการแปรรูปจากปลาเป็นปลาร้าเพื่อเก็บไว้กินได้นาน และสามารถนำไปปรุงอาหารได้ได้อย่าง และสามารถนำไปแปรรูปเป็นปลาร้าบองได้อีกด้วย

วัตถุประสงค์ ->

1. เป็นอาหารของคนอิสาน

2. สร้างอาชีพให้คนในชุมชน ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้

3. เกิดกลุ่มขึ้นภายในชุมชน 

4. คนในชุมชนมีอาชีพ รายได้ ชุมชนมีการพัฒนา

5. พออยู่ พอกิน ประเทศเกิดการพัฒนา

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

ปลาร้า

อุปกรณ์ ->

1. ปลาร้า 1 กก. (เอาแต่ตัวน่ะค่ะไม่เอาน้ำ)

2. ตะไคร้ 10 ต้น 

3. หอมแดง 1 ถ้วย

4. กระเทียมไทย 1 ถ้วย

5. ใบมะกรูด 30 ใบหรือ 1 ถ้วย

6. ข่าแก่ 2 แง่ง หรือ ซอยละเอียดแล้วให้ได้ 1 ถ้วย1.พริกแห้ง 2 ถ้วย (ชอบทานเผ็ด แต่ท่านไหนไม่ค่อยชอบเผ็ดค่อยๆใส่ก็ได้น่ะค่ะไม่ต้องใส่หมด)

7. น้ำตาลปิ๊บ 1 ช้อนโต๊ะ

8. น้ำมะขามเปียก 2 ทัพพี

9. ผงปรุงรส แล้วแต่ความชอบในรสชาติความนัวค่ะ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

          1.ตรียมพริกกันก่อน นำพริกไปคั่วให้สุกและหอมใส่เกลือไปด้วยนิดหนึ่งน่ะค่ะครึ่งช้อนชาก็ได้จะได้ไม่ฉุนหรือจามค่ะ พอพริกแห้งสุกก็ให้นำมาโคลกหรือตำให้ละเอียดแล้วก็พักไว้ (หาอะไรปิดไว้ด้วยไม่งั้นเข้าตาอาจจะร้องไห้ไปตำน้ำพริกไป)

     2.นำปลาร้ามาสับให้ละเอียด วันนี้ผู้เขียนใช้ปลาร้าตัวขนาดกลางไม่ใหญ่มาก ก้างก็จะไม่ค่อยมี แต่ถึงมีก็สามารถสับให้ละเอียดเข้ากันได้ทั้งตัวเลย สับทีละตัวน่ะค่ะค่อยๆสับใช้มีดสับที่คมหน่อยจะได้ละเอียด สับละเอียดแล้วก็หาจานหรืออะไรก็ได้ปิดพักไว้

     3.ทีนี้มาถึงเครื่องสมุนไพรไทยเราแล้วค่ะ ให้นำข่า,ตะไคร้,ใบมะกรูด ล้างทำความสะอาด แล้วหั่นบางๆ ใส่ถ้วยเตรียมไว้ สำหรับหอมแดงก็ปอกเปลือกล้างน้ำแล้วก็หั่นเป็นแว่นๆกระเทียมก็แกะเป็นกลีบๆไว้

     4.เมื่อเราหั่นเครื่องได้ครบเรียบร้อยแล้ว ก็ให้นำมาคั่วทีล่ะอย่าง ไม่ต้องคั่วพร้อมกันเพราะว่าเครื่องบางอย่างอาจจะสุกไม่พร้อมกัน คั่วใช้ไฟอ่อนน่ะค่ะไม่งั้นเครื่องจะไหม้และจะทำให้ขมไม่หอมอร่อย ใจเย็นๆค่ะคั่วไปร้องเพลงไปก็ได้ รสชาติอาหารจะได้ออกมาอร่อยๆ  ข่า,ตะไคร้,และก็ใบมะกรูดตอนที่ยังไม่นำไปคั่วก็จะเต็มถ้วยเหมือนกับกระเทียมกับหอมแดง แต่พอไปคั่วแล้วหดลงนิดหน่อย

     5.เมื่อได้เครื่องครบแล้วเราก็มาออกกำลังแขนกันเลย ใส่ข่ากับตะไคร้ลงไปโคลกหรือตำก่อนค่ะเพราะค่อนข้างจะตำยากกว่าเพื่อนนิดหนึ่ง พอละเอียดแล้วก็ตามด้วยกระเทียม โคลกให้ละเอียด แล้วก็ใส่ใบมะกรูดลงไป โคลกต่อเลย ให้เครื่องทุกอย่างเข้ากันและให้ละเอียด แล้วค่อยใส่หอมแดงลงไปโคลกต่อเป็นอันสุดท้าย เพราะหอมแดงค่อนข้างจะแฉะ โคลกไปเรื่อยๆ ให้เครื่องทุกอย่างเข้ากันและละเอียด

     6.โคลกหรือตำจนเครื่องละเอียดแล้วก็ถึงขั้นตอนสำคัญแล้ว ให้ใส่ปลาร้าสับลงไปตามด้วยพริกที่คั่วและโคลกไว้แล้ว พริกค่อยๆใส่อย่าพึ่งใส่ทีเดียวหมดใส่ไปปรุงไปโคลกไปค่ะจะได้เข้ากัน

     7.โคลกจนได้ที่แล้วก็ให้ปรุงรสด้วย น้ำมะขามเปียกที่ต้มไว้แล้ว 1 ทัพพี กับน้ำตาลปิ๊บ 1 ช้อนโต๊ะ และก็ผงปรุงรส แล้วก็โคลกต่อให้เครื่องปรุงเข้าเนื้อกันให้ทั่ว โคลกไปชิมไป ว่ารสชาติใช้ได้ยัง สำหรับสูตรนี้ผู้เขียนไม่ชอบเค็มมากก็เลยเพิ่มน้ำตาลอีก ครึ่งช้อนชา และ ก็น้ำมะขามเปียกอีก 1 ช้อนโต๊ะ รสชาติก็กลมกล่อมแบบลงตัวเลยทีเดียว

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา