ความรู้สัมมาชีพชุมชน

จักสานกระติบข้าว(ไม้ไผ่)

โดย : นายเจือสุข พึ่งป่า วันที่ : 2017-05-03-15:09:13

ที่อยู่ : 20 หมู่ 8 ต.โขงเจียม

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

    เนื่องจากภาคอีสานนิยมรับประทานข้าวเหนียวเป็นข้าวหลักเพราะรับประทานง่ายไม่ต้องใช้ภาชนะสำหรับรับประทานมากมาย ใช้เพียงมือในการบริโภค แต่เดิมภาชนะที่ใช้บรรจุข้าวเหนียวชาวบ้านนำต้นไม้ต้นเล็กๆ มาเจาะลำต้นให้กลวงแล้วตัดเป็นท่อนขนาดสั้นๆเป็นกระบอก มีฝาปิด หรือบางครั้งก็ใช้ไม้ไผ่มาตัดเป็นกระบอกสั้นๆนำมาเป็นภาชนะบรรจุข้าวเหนียว  ต่อมาเห็นว่าไม้ไผ่ในพื้นที่มีมากมายแต่ถ้านำมาทั้งต้นแบบเดิมไม้ไผ่ก็คงจะหมดได้และทั้งรูปแบบเดิมก็เทอะทะ พกพาไม่สะดวกในการเดินทางไกลพอดีมีคนนำเอาไม้ไผ่มาผ่าซีกเล็ก ๆ มาเหลาเป็นแผ่นบางๆ นำมาจักสานเป็นตะกร้ากระบุง บรรจุข้าวสาร จึงได้พัฒนานำไม้ไผ่มาจักสานเป็นภาชนะบรรจุข้าวเหนียว ซึ่งเบาและระบายอากาศได้ดี ทำให้ข้าวยังมีความร้อนและข้าวไม่แฉะ พกพาก็ง่ายเพราะมีสายสะพาย มีหลายรูปแบบ รูปทรงกลม รูปทรงรี ขนาดเล็กรับประทานคนเดียวขนาดใหญ่รับประทาน 2-3 คน ขนาดใหญ่มากรับประทานทั้งครอบครัวภาคอีสานจะเรียกว่า “กระติบข้าว”แต่ทางภาคกลางจะเรียกว่า “กระติ๊บข้าว" 

วัตถุประสงค์ ->

1. เพื่อให้ทุกคนทำเป็นและใช้ในครัวเรือนตัวเอง ไม่ต้องซื้อ

2. ทุกคนทำเป็นเกิดการรวมกลุ่ม เพื่อรวบรวมสินค้าและนำไปจำหน่าย

3. เกิดรายได้ภายในชุมชน ครัวเรือนเกิดความอบอุ่น

4. เป็นอาชีพเสริม ไม่ต้องไปทำงานต่างพื้นที่

5. ชุมชนเกิดการพัฒนา อยู่ดีกินดี ประเทศชาติมั่นคง

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

-

อุปกรณ์ ->

1. ไม้ไผ่บ้าน 
2. ด้ายไนล่อน
3. เข็มเย็บผ้าขนาดใหญ่ 
4. กรรไกร
5. มีดโต้ 
6. เลื่อย
7. เหล็กหมาด (เหล็กแหลม) 
8. ก้านตาล
9. เครื่องขูดตอก 
10. เครื่องกรอด้าย

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. นำปล้องไม้ไผ่มาตัดหัวท้าย ตัดเอาข้อออก ผ่าเป็นซีกทำเส้นตอกกว้างประมาณ2-3 ม.ม. ขูดให้เรียบและบาง
2. นำเส้นตอกที่ได้มาสานเป็นรูปร่างกระติบข้าว หนึ่งลูกมี 2 ฝา มาประกอบกัน
3. นำกระติบข้าวที่ได้จากข้อ (2.) มาพับครึ่งให้เท่า ๆ กันพอดี เรียกว่า 1 ฝา
4. ขั้นตอนการทำฝาปิด โดยจักเส้นตอกที่มีความกว้าง 1 นิ้ว สานเป็นลายตามะกอก และลายขัด
5. นำฝาปิดหัวท้ายมาตัดเป็นวงกลม มาใส่เข้าที่ปลายทั้งสองข้าง 
6. ใช้ด้ายไนล่อน และเข็มเย็บเข้าด้วยกันรอบฝาปิดหัวท้าย
7. นำก้านตาลที่ม้วนไว้มาเย็บติดกับฝาล่าง ที่เป็นตัวกระติบข้าว
8. นำกระติบข้าวที่ได้ไปรมควันจากฟางข้าว เพื่อกันแมลงเจาะ และเพื่อความสวยงาม ทนทาน ไม่เกิดราดำ
9. นำไม้มาเหลาเป็นเส้นตอก กลมยาวเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3 ม.ม. ความยาวรอบ บางเท่ากับฝากระติบพันด้วยด้ายไนล่อน แล้วเย็บติดฝาขอบบน เพื่อความสวยงาม
10. เจาะรูที่เชิงกระติบข้าว ด้วยเหล็กแหลม 2 รู ให้ตรงข้ามกัน แล้วทำหูที่ฝาด้านบน ตรงกับรูที่เจาะเชิงไว้ 
11. ใช้ด้ายไนล่อนสอดเข้าเป็นสายไว้สะพายไปมาได้สะดวก จะได้กระติบข้าวที่สำเร็จเรียบร้อย สามารถนำมาใช้และจำหน่ายได้

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา