ความรู้สัมมาชีพชุมชน

ทำอาหารปลาดุก

โดย : นายทวี นามเวช วันที่ : 2017-05-03-14:36:55

ที่อยู่ : 165 หมู่ 5 ต.ห้วยยาง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

      อาชีพเลี้ยงปลาเป็นที่น่าสนใจสำหรับเกษตรกรหรือผู้ที่ต้องการมีรายได้เสริมโดยเฉพาะใครที่มีพื้นที่ที่อยู่ใกล้แม่น้ำหรือพื้นที่ที่มีน้ำชลประทานหรือคลองสูบน้ำเข้าถึงจนกระทั่งในที่นาต่างๆน่ะค่ะ มีการเลี้ยงกันตั้งแต่แบบเล็กๆตั้งแต่บ่อปูน,บ่อดิน,หรือเลี้ยงในกระชังในแม่น้ำ มีทั้งเลี้ยงปลากินเนื้อและปลากินพืช รายได้ก็งามแต่ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงปลาโดยใช้อาหารสำเร็จรูปก็ค่อนข้างสูงเช่นกัน วันนี้บ้านน้อยจึงมีสูตรอาหารเลี้ยงปลาแบบประหยัดและลดต้นทุนค่าอาหารลงได้ถึง90%กันเลยที่เดียวมีหลายสูตรให้เลือกค่ะ ติดตามเคล็ดลับและวิธีการต่างๆด้านการเกษตรทุกชนิด 

        แรงบันดาลใจที่ทำ เพราะในชุมชนบ้านดงดิบมีหลายครัวเรือนเลี้ยงปลาดุกในบ่อ ไม่ว่าจะเป็นบ่อดิน บ่อชีเมนต์ภายในบ้าน และในที่นา เพราะปลาดุกสามารถนำมาบริโภคได้ตลอดปี โตเร็ว สามารถลดรายจ่ายในการชื้อกับข้าวได้ แต่การเลี้ยงปลาดุกต้องได้ชื้ออาหารเม็ด ทำให้เกิดแรงบันดาลใจที่จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซื้ออาหารปลาดุก จึงเป็นเหตุผลที่ต้องทำอาหารปลาดุก

วัตถุประสงค์ ->

1. ลดค่าใช้จ่ายในการซื้ออาหารปลา จากพ่อค้าที่มีราคาแพง

2. เกิดความรู้ในการนำสิ่งที่มีในชุมชนมาทำเป็นอาหารปลาและสัตว์อื่น ๆได้

3. สามารถที่จะเป็นแหล่งผลิตอาหารสัตว์เพื่อจำหน่ายให้กับชุมชนใกล้เคียง และต่างอำเภอ ต่างจังหวัดได้

4.ชุมชนเกิดรายได้ มีความเข้มแข็ง เป็นต้นทุนในการพัฒนาชุมชนและประเทศต่อไป

5. มีความพอเพียง พออยู่ พอกิน ตามปรัชญาเศราฐกิจพอเพียงของพระเจ้าอยู่หัว ร.9

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ ->

1.มูลวัวหรือมูลควายแห้ง 2 ส่วน

2.กากมะพร้าวหรือกากถัวเหลือง 2 ส่วน

3.รำละเอียด (รำอ่อน) 2 ส่วน

4.ใส้ปลา,ใส้ไก่,ปลาบด ,ใส้ดือน,แมลงเม่า  2 ส่วน

5.ใบกระถิน,ผักตบ,ผักบุ่ง(หั่นละเอียด) 1-2 ส่วน

6.ข้าวเจ้า หรือปลายข้าวที่นึ่งสุกแล้ว 1-2 ส่วน

7.จุลินทรีย์ขยาย (พอประมาณ)

8.วัสดุที่ช่วยในการผสม ถุงมือยาง กะละมัง เครื่องบดเนื้อ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. นำวัสดุตามข้อ(อุปกรณ์)1-7 ใส่ในกาละมังแล้วคลุกคล้าให้เข้ากัน

2. นำจุลินทรีย์ที่ขยายและแทผสมพอประมาณและคลุกเคล้าให้เข้ากัน เพื่อให้มีความชื้นประมาณ 60%(สังเกตุได้จากเมื่อนำมาปั่นเป็นก้อนไม่มีน้อไหลออกตามง่ามมือ)

3. นำอาหารปลาที่ผสมแล้วเข้าเครื่องบด เพื่อบดออกมาเป็นเส้นและ้นำไปตากให้แห้งโดยตากใส่สังกะสี และโรยด้วยรำเพื่อขจัดความชื้น หรือให้ปลากินสด ๆ ก็ได้(อยากให้อาหารละเอียดต้องบด 2 ครั้ง)

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา