ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การปลูกลำใยนอกฤดู

โดย : นายชาลี พันธ์โบ วันที่ : 2017-05-01-16:23:28

ที่อยู่ : 67 ม.10 ต.หัวนา อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ถึงลำไย จะเป็นไม้ผลเศรษฐกิจอันดับหนึ่งของภาคเหนือ แต่ก็ยังสามารถปลูกได้ในหลายภูมิภาคในประเทศ โดยเฉพาะที่อำเภอเขมราฐซึ่งเป็นดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์ใกล้แม่น้ำโขงอากาศเย็นสบายเกือบตลอดทั้งปี จึงเหมาะมากแก่การปลูกลำใยนอกฤดู  ซึ่งสามารถให้ความอร่อย เนื้อแน่น มีรสหวานกรอบไม่แพ้ภาคอื่นๆได้เลยทีเดียว สามารถสร้างรายได้ให้เกิดขึ้นกับครอบครัวได้เกือบตลอดปีมีคุณภาพตรงตามที่ท้องตลาดต้องการได้

วัตถุประสงค์ ->

1.  เพื่อมุ่งเพิ่มผลลิตให้เกิดขึ้นในนอกฤดูกาล

2.  เพื่อสร้างรายได้ให้เกิดขึ้นในครอบครัว

3.  เพื่อเป็นแหล่งความรู้ให้เกษตรกรที่สนใจได้เข้ามาศึกษาความรู้

 

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.  สารโพแทสเซียมคลอเรตที่ใช้ในการราดต้นลำไยเพื่อเป็นตัวเร่งให้ ลำไย ออกดอกออกผล

2.  ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก

อุปกรณ์ ->

เครื่องฉีดพ่นน้ำ  จอบ เสียม อุปกรณ์ทางการเกษตร 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. การเตรียมความพร้อมของต้น ลำไย

    1.1 เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จแล้วควรตัดแต่งกิ่งให้โปร่ง มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก และควรตัดกิ่งมีโรคและแมลงทำลายออกไปเพื่อให้ลุกลาม

    1.2 ใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก บำรุงต้น สะสมอาหารให้ได้มากพอ

    1.3 เพื่อให้ยอดแตกมาใหม่สมบูรณ์พร้อมออกดอกควรป้องกันกำจัดโรคและแมลงในช่วงแตกใบอ่อน เช่น โรคราน้ำค้าง เพลี้ยไฟ เพลี้ยแป้ง และแมลงปีกแข็ง เป็นต้น

2. การปฏิบัติในการให้สารโพแทสเซียมคลอเรต

    2.1 การให้ทางดิน โดยการหว่านสารราดลำไย ภายในทรงพุ่มแล้วให้น้ำตาม หรืออาจทำให้เป็นร่องรอบทรงพุ่มแล้วให้สารโพแทสเซียมในร่องแล้วให้น้ำตาม หรือใช้สารละลายน้ำแล้วราดสารในทรงพุ่มก็ได้ (ปริมาณขึ้นอยู่กับอายุและทรงพุ่มของต้นลำไย)

การผสมน้ำราดมีข้อดีคือมีการกระจายตัวของสารอย่างสม่ำเสมอเหมาะสำหรับช่วงเวลาที่ไม่มีฝนตกแต่จากการสังเกตวิธีการให้สารโดยผสมน้ำราดในช่วงที่ฝนตกมักไม่ค่อยได้ผลแต่การให้สารโดยการหว่านกลับได้ผลดีกว่าทั้งนี้อาจเป็นเพราะสารค่อยๆละลายออกมาไม่ถูกชะไปกับน้ำฝนในทางปฏิบัติก่อนการให้สารควรทำความสะอาดบริเวณทรงพุ่มโดยการกำจัดพืชและกวาดวัสดุคลุมดินออกจากโคนต้นหว่านสารหรือราดสารบริเวณชายพุ่มแล้วให้น้ำตามพอชุ่มเพื่อให้รากดูดสารเข้าสู่ลำต้นให้มากที่สุดในช่วง 15 วันแรกของการให้สาร ควรรักษาความชื้นอย่างสม่ำเสมอ

 2.2 การให้ทางใบ ใช้ความเข้มข้น 2,000 มล./ล. โดยพ่นให้ทั่วทรงพุ่ม ควรเน้นบริเวณปลายยอด สามารถทำให้ลำไยออกดอกได้ การให้สารวิธีนี้มีข้อดี คือ ใช้สารในปริมาณที่น้อย เมื่อเปรียบเทียบกับการให้ทางดิน แต่มีข้อจำกัด คือ ใบลำไย บางส่วนจะร่วง

ในช่วงฤดูฝนถ้ามีฝนตกควรมีการพ่นสาร 2 ครั้ง ห่างกัน 7 วัน การพ่นสารในช่วงก่อนฤดูกาลหรือให้ ลำไย ออกนอกฤดูกาลหรือหลังฤดูกาลไม่เกิน 2 เดือน จะทำให้ต้นลำไยมีเปอร์เซ็นต์การออกดอกสูง

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา