ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทำปุ๋ยหมักจากกากมันสำปะหลัง

โดย : นายรัชชานนท์ ศรีสุข วันที่ : 2017-04-23-17:04:52

ที่อยู่ : 102 บ้านบุกลาง หมู่ที่ 10 ตำบลบุเปือย

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

หลังจากกลับมาอยู่บ้านและเริ่มทำเกษตร เมื่อประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา นายรัชชานนท์  ศรีสุข ก็เห็นถึงความไม่อุดมสมบูรณ์ของดินในพื้นที่ ซึ่งไม่เป็นเหมือนอย่างในอดีต เนื่องจากมีการใชปุ๋ยเคมีอย่างต่อเนื่องและขาดการบำรุงดินด้วยอินทรีวัตถุตามธรรมชาติ จากนั้นนายรัชชานนท์ จึ่งเริ่มศึกษาและทดลองใช้สารอินทรีชีวภาพในการทำเกษตรแบบผสมผสาน ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ การทำปุ๋ยหมักจากกากมันสำปะหลัง ซึ่งถือเป็นวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น

วัตถุประสงค์ ->

- ลดต้นทุน

- ลดการใช้สารเคมี

- ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากเศษวัสดุเหลือทิ้งจากโรงงาน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.กากมันสำปะหลัง                                     1,000            กิโลกรัม

2.มูลวัว                                                    200           กิโลกรัม

3.กากน้ำตาล                                                  4           กิโลกรัม

4.ยูเรีย                                                         2           กิโลกรัม

5.พ.ด.1                                                        1           ซอง

6.หัวเชื้อจุลินทรีย์น้ำ                                      100           มิลลิลิตร

7.น้ำ                                                       200           ลิตร

อุปกรณ์ ->

1.ถังน้ำ

2.พลั่ว

3.บัวรดน้ำ

4.พลาสติกดำ

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การเตรียมวัตถุดิบ

เตรียมน้ำรดกองปุ๋ยหมัก โดยใช้น้ำประมาณ 300 ลิตร ผสมกับกากน้ำตาล 4 กิโลกรัม ปุ๋ยยูเรีย 2  กิโลกรัม และ พ.ด.1  1  ซอง

ขั้นตอนการทำปุ๋ยหมัก

          1.แบ่งวัตถุดิบต่างๆ ออกเป็นสามส่วน เท่าๆกัน เพื่อจะทำกองปุ๋ยหมักแบบ 3 ชั้น

          2.ชั้นแรก กากมันสำปะหลัง ประมาณ 300 กิโลกรัม มากองเป็นรูปสี่เหลี่ยมให้ได้ความสูงประมาณ 30 เซนติเมตร 

          3.นำมูลวัว 65 กิโลกรัม กากมันสำปะหลัง ให้ทั่ว

          4.รดด้วยน้ำที่มีส่วนผสมของกากน้ำตาล ยูเรีย และ พ.ด.1 (ตามอัตราส่วนข้างต้น) ประมาณ 100 ลิตร ให้ทั่ว

          5.ชั้นที่สอง-ที่สาม ทำเหมือนกันกับชั้นแรก

          6.เมื่อครบทั้งสามชั้นแล้ว นำกากมันสำปะหลัง มาทับบางๆ อีกชั้นหนึ่ง

          7.คลุมกองด้วยพลาสติกสีดำให้มิดชิดเพื่อเก็บรักษาความชื้นภายในกอง และป้องกันสัตว์คุ้ยเขี่ย

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา