ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การสานแหบ้านกระเดียน

โดย : นางคำใบ พิมพ์พรม วันที่ : 2017-03-20-14:31:53

ที่อยู่ : บ้านกระเดียน ม.2 ต.กระเดียน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

แห เครื่องมือจับปลาชนิดหนึ่ง ถักเป็นตาข่ายใช้ทอดแผ่ลงในน้ำ แล้วต้องดึงขึ้นมา เพื่อการยังชีพ หรือเพื่อประกอบอาชีพของคนชั้นล่างของสังคมที่กล่าวเช่นนี้ เพราะยังไม่เคยเห็นคนชั้นสูงหรือคนชั้นกลางใช้แหเพื่อหาปลาเป็นอาหาร หรือหาปลาเพื่อการจำหน่ายเป็นประจำ แต่จะเป็นครั้งคราวของบุคคลชั้นดังกล่าว เพื่อความสนุกสนาน เพลิดเพลินในยามว่างหรืออาจจะมีบ้างที่บางคน อดีตเคยเป็นชาวบ้านธรรมดาอยู่ตามชนบท ตอนหลังอพยพเข้าสู่ตัวเมืองและเปลี่ยนอาชีพในสังคมเมือง ฐานะดีขึ้น จึงอยากระลึกถึงอดีตของตัวเองเท่านั้นเอง ดังนั้น แหจึงถือเป็นเครื่องมือเพื่อการยังชีพ หมายถึงใช้จับปลาเพื่อการบริโภคในชีวิตประจำวันและใช้ประกอบอาชีพ คือใช้จับปลาเพื่อการจำหน่าย ของชาวบ้านในชนบทซึ่งเป็นฐานะทางสังคม แหถือเป็น ภูมิปัญญา ของชาวบ้านที่แท้จริง เพราะมันคือส่วนหนึ่งของชีวิต ให้ชีวิตมีห่วงโซ่เรื่องอาหาร และรายได้ในชีวิตประจำวัน แหจึงได้รับการพัฒนาและเอาใจใส่ เริ่มจากการได้รับการถ่ายทอดเบื้องต้นจากบรรพบุรุษ แล้วลองผิดลิงถูกจนเป็นองค์ความรู้และประสบการณ์เฉพาะตัวของบุคคล ความแตกต่างของความเชื่อ เรื่องแห ทั้งโครงสร้าง ขนาด วิธีทอด วิธีย้อม และวิธีต่างๆ ที่ดีแล้วคล้ายๆกัน แต่ลึกๆแล้วมีหลายอย่างที่แตกต่างกัน ซึ่งก็แล้วแต่ความเชื่อจากวิธีปฏิบัติจริงๆ และได้ผลที่ต่างกันของบุคคล จนกลายเป็นประสบการณ์และภูมิปัญญาของตนเองในที่สุด นี่เองที่นักวิชาการเพิ่งเห็นความจำเป็น เข้าใจและเลือกใช้คำว่า ภูมิปัญญา ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาชาวบ้าน กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน

การสานแหเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของบรรพบุรุษองคนไทย ซึ่งใช้การดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพซึ่งมีให้เห็นอยู่แพร่หลาย การที่เราเรียนรู้วิธีการสานแหนอกจากจะเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาของคนไทยแล้วยังเป็นหนึ่งในวิธีการทาหากินอีกด้วย

บ้านกระเดียน ม.2 นิยมสานแหเป็นอาชีพเสริมหลังจากฤดูเกี่ยวกับ ทำให้มีเงินมาใช้จ่ายในครัวเรือได้ และเมื่อมีโครงการสัมมาชีพชุมชนได้เข้ามาสนับสนุนการรวมกลุ่มอาชีพสานแหทำให้มีรายได้เพิ่มและสามารถต่อรองราคาจากพ่อค่าคนกลางได้

1. เริ่มทำการถักที่จับแหส่วนบน (เรียกว่าจอมแห เพื่อใช้จับดึงเวลาหวานแห) และนำไปแขวนไว้ให้สูงพอประมาณเพื่อสะดวกต่อการถักส่วนล่าง บางทีแขวนด้วยตะปูตามฝาผนังบ้าน ผนังข้างบ้าน หรือต้นเสากลางบ้านตามความเหมาะสม หรือความสะดวกของคนที่ต้องการสาน
วิธีการก่อจอมแห
1.ตีตะปูสองตัวระยะห่างแล้วแต่ความต้องการจอมเล็กจอมใหญ่ เสร็จแล้วใช้ด้ายพันรอบตะปูเก้ารอบ ผูกหรือมัดไว้ให้แน่น ดังรูป
 

 

2.ถัก เพื่อความแข็งแรงสวยงาม เว้นปลายทั้งสองข้างประมาณข้างละ3ซม. วิธีถักคล้องดูตามรูป

 

 

3. ถักเสร็จแล้วหน้าตาเป็นแบบนี้

 

 

4.พับครึ่งจัดให้เท่าๆกันแล้วมัดไว้ให้แน่น

 

 

5. ถักเพิ่มเพื่อแยกตาแหให้เรียงรอบจอม ทั้งหมด16ตา 
 

 

 

2. ใช้ชนุนร้อยเชือกไนล่อนที่เตรียมไว้ เริ่มถักโดยใช้ไม้กระดานรองเพื่อให้แต่ละช่องตาข่ายมีขนาดเท่ากัน และดึงขณะที่ถักเพื่อให้ตึงตาข่ายจะได้เสมอกัน ขนาดเท่ากัน ถักไปเรื่อย ๆ ตามความยาวของขนาดแห ดังกล่าวข้างต้นข้างต้น ซึ่งเราสามารถสานแหได้หลายรูปแบบ เช่น การขมปมแหแบบพิรอด แบบบ่วงสายธนู แบบปมขอด แต่ในที่นี้จะนำเสนอการขมปมแบบบ่วงสายธนูมาเป็นตัวอย่าง
1. ใช้ปาน(ไม่ไผ่)สอดเทียบกับตาแห
 

 


2. จากนั้นก็ขึงด้ายสานแหไว้ 
 

 

3.ใช้ปลายกิมหรือชนุนเสยด้ายสานแหขึ้น


 

 
 

4.จากนั้นก็ตวัดลงข้างล่างซึ่งจะเห็นเป็นห่วงแบบนี้ 

 


5.ใช้ปลายกิมเกี่ยวตาบนของตาแห

 


6.จากนั้นก็ใช้ปลายกิมเกี่ยวเส้นด้ายสานแหผ่ากลางห่วง

 

 

 

7.แล้วก็ดึงให้รอดออกไป 
 

 

8.ใช้นิ้วนางหรือนิ้วก้อยขึงไว้แล้วก็ทำแบบนั้นเดิมไปเรื่อย
 

 


3. สานแหได้ตามขนาดตามต้องการ ที่ปลายแห (ตีนแห) ให้ร้อยลูกแหด้วยลูกโซ่ตะกั่วเพื่อถ่วงน้ำหนักของแหเวลานำไปหว่านจับปลาจะได้ดักปลาไว้จนกว่าจะทำการจิกขอบแหครบรอบวงกลมของแห เป็นวิธีภูมิปัญญาอีกอย่างหนึ่งที่เกิดจากประสบการณ์           
      เมื่อสานแหเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะนำอุปกรณ์แหไปทำการย้อม โดยใช้วัสดุจากธรรมชาติ การย้อมสีของแหสมัยก่อนจะย้อมจากวัตถุดิบจากธรรมชาติ เปลือกไม้ หรือ ผล เช่น ผลตะโกตำให้แหลกเป็นน้ำ แล้วนำแหมาหมักทิ้งไว้ในน้ำตะโก 1 คืน (จะได้สีออกแดง) และเอาขึ้นมาตากแดดให้แห้ง แล้วหมักโคลนต่อเพื่อให้สีติดทนนาน ซึ่งการหมักตะโกนี้จะทำให้แหมีสีออกดำ และอีกวิธีหนึ่ง จะนำ เอาเปลือกไม้ประดู่มาต้มเคี่ยวให้แดง พอน้ำร้อนแดงได้ที่ ยกลงปล่อยให้อุ่นพอประมาณ ให้เอาแหแช่ไว้ประมาณ 2-3 ชั่วโมง แล้วนำออกมาตากแดดให้แห้ง จากนั้นนำไปแช่น้ำโคลนประมาณ 1-3 ชั่วโมง จึงนำไปวักแหมีสีดำช่วยยืดอายุในการใช้งานยาวนาน
4. การถวงแห หลังจากตากแห แห้งดีแล้วปราชญ์ชาวบ้านบางท่านกล่าวว่า แหก็ยังนำไปทอดหรือตึกไม่ได้ จะต้องนำแห มาถ่วงโดยการใช้ไหบรรจุน้ำจนเต็ม ด้วยการนำไหใส่ในตัวแหแล้วมัดตีนแหให้จอมมัดกับขอหรือกิ่งไม้ ทิ้งไว้ข้ามคืนโดยประมาณ จุดประสงค์เพื่อให้แหมีความกระชับและอยู่ตัว หลังจากนั้น แหก็ใช้ทอดหรือตึกได้เลย การเหวี่ยงแห (ทอดแห ตึกแห) ถือเป็นศาสตร์เฉพาะตัวจะต้องใช้ความรู้ ความสามารถเฉพาะตัวมาก
 

วัตถุประสงค์ ->

1.เพื่อเป็นการสร้างรายได้ให้มากขึ้น

2.เพื่อเป็นการสร้างความสามัคคีแก่คนในชุมชน

3.เพื่อเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

4.เพื่อเป็นการพัฒนาฝีมือในการทอเสื่อให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

อุปกรณ์ในการสานแห

 ด้ายในล่อนขาว ด้ายสานแห หรือ เอ็นสานแห                                                                                                             
2.2 ชนุน(กิม มีลักษณะเป็นไม่ไผ่แบนหนาประมาณ 3-4 มิลลิเมตร กว้าง 1 นิ้ว ยาว 8 นิ้ว หัวแหลมมน ประมาณ1 ใน 3ส่วนของความยาวเจาะทะลุยาวตามส่วน1 ใน 3 มีเดือยตรงกลาง ส่วนท้ายฝช้มีดควงให้เป็นตัวยู)

 

 

 

                                                                                                                                                                

2.3 ไม่ไผ่ หรือ ปาน (มีลักษณะการเหลาไม้ไผ่คล้ายไม้บรรทัดยาว 5-6 นิ้ว หนาประมาณ2-3 มิลลิเมตร ความกว้างขึ้นอยู่กับตาของแหที่ต้องการ)

 

 

                                                                                                                                                

 

2.4 กรรไกร

 

 

 

 


2.5 ลูกแห หรือ ลูกโซ่ตะกั่ว                                                                                                                         

 

 

 

 

2.6 สีย้อมแห หรืออาจจะไม่ใช้ก็ได้

อุปกรณ์ ->

-กรรไกร

-ขนุน/กิมสานแห

 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

 

1. เริ่มทำการถักที่จับแหส่วนบน (เรียกว่าจอมแห เพื่อใช้จับดึงเวลาหวานแห) และนำไปแขวนไว้ให้สูงพอประมาณเพื่อสะดวกต่อการถักส่วนล่าง บางทีแขวนด้วยตะปูตามฝาผนังบ้าน ผนังข้างบ้าน หรือต้นเสากลางบ้านตามความเหมาะสม หรือความสะดวกของคนที่ต้องการสาน

 

วิธีการก่อจอมแห

 

1.ตีตะปูสองตัวระยะห่างแล้วแต่ความต้องการจอมเล็กจอมใหญ่ เสร็จแล้วใช้ด้ายพันรอบตะปูเก้ารอบ ผูกหรือมัดไว้ให้แน่น ดังรูป

 

 

 

 

 

 

 

 

 

2.ถัก เพื่อความแข็งแรงสวยงาม เว้นปลายทั้งสองข้างประมาณข้างละ3ซม. วิธีถักคล้องดูตามรูป

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

3. ถักเสร็จแล้วหน้าตาเป็นแบบนี้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

4.พับครึ่งจัดให้เท่าๆกันแล้วมัดไว้ให้แน่น

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

5. ถักเพิ่มเพื่อแยกตาแหให้เรียงรอบจอม ทั้งหมด16ตา 

 

 

 


 

 

 

 

 

 

 

 

2. ใช้ชนุนร้อยเชือกไนล่อนที่เตรียมไว้ เริ่มถักโดยใช้ไม้กระดานรองเพื่อให้แต่ละช่องตาข่ายมีขนาดเท่ากัน และดึงขณะที่ถักเพื่อให้ตึงตาข่ายจะได้เสมอกัน ขนาดเท่ากัน ถักไปเรื่อย ๆ ตามความยาวของขนาดแห ดังกล่าวข้างต้นข้างต้น ซึ่งเราสามารถสานแหได้หลายรูปแบบ เช่น การขมปมแหแบบพิรอด แบบบ่วงสายธนู แบบปมขอด แต่ในที่นี้จะนำเสนอการขมปมแบบบ่วงสายธนูมาเป็นตัวอย่าง

 

1. ใช้ปาน(ไม่ไผ่)สอดเทียบกับตาแห

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

2. จากนั้นก็ขึงด้ายสานแหไว้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

3.ใช้ปลายกิมหรือชนุนเสยด้ายสานแหขึ้น

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

4.จากนั้นก็ตวัดลงข้างล่างซึ่งจะเห็นเป็นห่วงแบบนี้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

5.ใช้ปลายกิมเกี่ยวตาบนของตาแห

 

 

 

 

 

 

 

 

 

6.จากนั้นก็ใช้ปลายกิมเกี่ยวเส้นด้ายสานแหผ่ากลางห่วง

 

 

 

 

 

 

 

 

 




7.แล้วก็ดึงให้รอดออกไป

 

 

 

 

 

 

 

 

 

8.ใช้นิ้วนางหรือนิ้วก้อยขึงไว้แล้วก็ทำแบบนั้นเดิมไปเรื่อย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

3. สานแหได้ตามขนาดตามต้องการ ที่ปลายแห (ตีนแห) ให้ร้อยลูกแหด้วยลูกโซ่ตะกั่วเพื่อถ่วงน้ำหนักของแหเวลานำไปหว่านจับปลาจะได้ดักปลาไว้จนกว่าจะทำการจิกขอบแหครบรอบวงกลมของแห เป็นวิธีภูมิปัญญาอีกอย่างหนึ่งที่เกิดจากประสบการณ์          

 

      เมื่อสานแหเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะนำอุปกรณ์แหไปทำการย้อม โดยใช้วัสดุจากธรรมชาติ การย้อมสีของแหสมัยก่อนจะย้อมจากวัตถุดิบจากธรรมชาติ เปลือกไม้ หรือ ผล เช่น ผลตะโกตำให้แหลกเป็นน้ำ แล้วนำแหมาหมักทิ้งไว้ในน้ำตะโก 1 คืน (จะได้สีออกแดง) และเอาขึ้นมาตากแดดให้แห้ง แล้วหมักโคลนต่อเพื่อให้สีติดทนนาน ซึ่งการหมักตะโกนี้จะทำให้แหมีสีออกดำ และอีกวิธีหนึ่ง จะนำ เอาเปลือกไม้ประดู่มาต้มเคี่ยวให้แดง พอน้ำร้อนแดงได้ที่ ยกลงปล่อยให้อุ่นพอประมาณ ให้เอาแหแช่ไว้ประมาณ 2-3 ชั่วโมง แล้วนำออกมาตากแดดให้แห้ง จากนั้นนำไปแช่น้ำโคลนประมาณ 1-3 ชั่วโมง จึงนำไปวักแหมีสีดำช่วยยืดอายุในการใช้งานยาวนาน

 

4. การถวงแห หลังจากตากแห แห้งดีแล้วปราชญ์ชาวบ้านบางท่านกล่าวว่า แหก็ยังนำไปทอดหรือตึกไม่ได้ จะต้องนำแห มาถ่วงโดยการใช้ไหบรรจุน้ำจนเต็ม ด้วยการนำไหใส่ในตัวแหแล้วมัดตีนแหให้จอมมัดกับขอหรือกิ่งไม้ ทิ้งไว้ข้ามคืนโดยประมาณ จุดประสงค์เพื่อให้แหมีความกระชับและอยู่ตัว หลังจากนั้น แหก็ใช้ทอดหรือตึกได้เลย การเหวี่ยงแห (ทอดแห ตึกแห) ถือเป็นศาสตร์เฉพาะตัวจะต้องใช้ความรู้ ความสามารถเฉพาะตัวมาก

 

ข้อพึงระวัง ->

การสานแหต้องใช้ความชำนาญฉนั้นต้องฝึกฝนทักษะให้เข้าใจจึงจะสามารถมีแหได้

รูปประกอบ -> image1

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา