ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเลี้ยงไส้เดือน

โดย : นายกันยา ภูศิิริ วันที่ : 2017-04-18-15:06:01

ที่อยู่ : 66 หมู่ที่ 3 ต.ศรีสุข

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

  หากจะพูดถึงสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังและมีลักษณะลำตัวเป็นข้อปล้องอย่าง ไส้เดือนดิน หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า ไส้เดือน ซึ่งพวกเราทุกคนคงจะรู้จักกันเป็นอย่างดีอยู่แล้วใช่มั้ยค่ะ  “ไส้เดือน”  เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง มีลักษณะลำตัวเป็นข้อปล้อง พบได้ทั่วไปในดิน ใต้กองใบไม้ หรือใต้มูลสัตว์ ไส้เดือนเป็นสัตว์ที่มี 2 เพศในตัวเดียวกัน แต่มีการสืบพันธุ์แบบทั้งอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ สัตว์ชนิดนี้มักจะมีให้เห็นอยู่ทั่วไปภายในบริเวณรอบบ้านตามแหล่งหรือสถานที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ และในปัจจุบันมีการเพาะเลี้ยงไส้เดือนกันเป็นอาชีพ และมีการเผยแพร่ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับไส้เดือนเพิ่มและกว้างมากขึ้น

วัตถุประสงค์ ->

พัฒนาอาชีพทางเลือกสำหรับเกษตรกร

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

พันธุ์ไส้เดือน

อุปกรณ์ ->

กะละมัง หรือบ่อซีเมนต์

กระบวนการ/ขั้นตอน->

วิธีเลี้ยงไส้เดือนดิน

1. เตรียมวงบ่อซีเมนต์ กระบะไม้ หรือก้อนอิฐบล๊อก วางเรียงกันโดยใช้พลาสติกรองพื้นในที่ที่ค่อนข้างร่มโดยอาจมีหลังคากั้นจะกั้นด้วยซาแลนหรือวัสดุอื่น ๆ ก็พอได้ สำหรับผู้สนใจอยากจะเลี้ยงแต่ถูกจำกัดด้วยพื้นที่ก็สามารถเลี้ยงได้ในชั้นพลาสติก เรียกว่า “คอนโดไส้เดือน” ลักษณะการเลี้ยงไส้เดือนใน คอนโด คือการนำเอาชั้นพลาสติกมาเจารูของแต่ละชั้นยกเว้นชั้นล่างสุด เพื่อไว้สำหรับรองรับน้ำสกัดที่ได้จากการเลี้ยงไส้เดือน โดยเจาะรูชั้นที่ 1 – 3 (นับจากด้านบนลงมา) นำไส้เดือนพร้อมที่อยู่ของไส้เดือน (Bedding)ที่ทำการหมักไว้แล้วลงในแต่ละชั้น(ใส่ Bedding ครึ่งภาชนะก็พอ) โดยใส่ในชั้นที่ 1 – 3 ในอัตราส่วนปริมาณของตัวไส้เดือน ชั้นละ 20 – 30 ตัว

2. ในขั้นนี้เรียกว่าขั้นตอนของการหมักที่อยู่ของไส้เดือน (Bedding) ที่อยู่ของไส้เดือนชนิดต่างๆ มีหลายประเภท

  • ขี้วัว  กระดาษพิมพ์ฉีกเป็นชิ้น หรือ กระดาษพิมพ์ย่อยด้วยเครื่องย่อยกระดาษ
  • ขุยมะพร้าว
  • ขี้กบ หรือ ขี้เลื่อยจากไม้ต่างๆ
  • ใบไม้เก่าๆ

ขั้นตอนต่อไป คือการวัสดุไปแช่น้ำให้ชุ่มนำมูลสัตว์แห้ง (ในการหมักในที่นี้ใช้มูลโค) มาหมักให้เข้ากันใส่น้ำผสมลงไปอีกเล็กน้อย หรืออาจหมักรวมกับวัสดุอื่นๆอีกก็ได้ เช่น ขุยมะพร้าว ขี้กบ ลงในภาชนะเช่น วงบ่อซีเมนต์ หรือกะละมังพลาสติก หมักทิ้งไว้ประมาณ 15 – 30 วัน หรือมากกว่านี้ก็ได้ ข้อสังเกตหลังจากทำการหมักที่อยู่ของไส้เดือน เพื่อให้แน่ใจว่าใช้ได้หรือยัง โดยใช้มือซุกเข้าไปในกองส่วนผสมที่หมักไว้ หากยังมีความร้อนแสดงว่ากระบวนการหมักยังไม่เสร็จสิ้น ต้องหมักไปอีกสักระยะหนึ่ง  ถ้ายังมีความร้อนอยู่ไส้เดือนจะไม่สามารถอยู่ได้ โดยเฉพาะความเข้มข้นในมูลสัตว์นั้นทำให้ตัวไส้เดือนขาดเป็นปล้องๆ และอาจทำให้ไส้เดือนตายทั้งหมดได้

หมายเหตุ : ต้องระวังในเรื่องของกลิ่นเหม็นในช่วงของการหมักไปรบกวนผู้อื่น ถ้าอยู่ในเขตชุมชน

3.  ขั้นตอนของการนำไส้เดือนลงเลี้ยงในที่อยู่ที่เตรียมไว้  ผู้เลี้ยงต้องแน่ใจว่าที่อยู่ของไส้เดือนไม่มีความร้อน และพร้อมที่จะนำไส้เดือนลงเลี้ยงได้ นำไส้เดือนลงในสัดส่วนพื้นที่ ไส้เดือน 1 กิโลกรัม ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร และก็ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการเลี้ยงด้วยว่า จะเลี้ยงเพื่อการกำจัดขยะเพียงอย่างเดียว หรือเพื่อผลิตปุ๋ยชีวภาพที่ได้จากการเลี้ยงไส้เดือน รวมทั้งการขยายพันธุ์เพื่อเพิ่มปริมาณไส้เดือน สำหรับการนำไส้เดือนลงในภาชนะที่เลี้ยงพร้อมที่อยู่ของไส้เดือน มี 2 วิธี คือ

  1. นำเฉพาะตัวไส้เดือนลงไปในที่อยู่ใหม่
  2. นำไส้เดือนพร้อมทั้งที่อยู่ของไส้เดือนเก่าด้วย โดยวางสัดส่วนของที่อยู่ไส้เดือนไว้อย่างละครึ่ง

ประโยชน์ของไส้เดือนดิน

  1. ด้านสิ่งแวดล้อม เปลี่ยนขยะอินทรีย์เป็นปุ๋ยหมัก ลดการฝั่งกลบขยะไส้เดือนช่วยพลิกกลับดิน โดยการกินดินทำให้แร่ธาตุในดินผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน ช่วยทำลายชั้นดิน
  2. ด้านการเกษตร ผลิตปุ๋ยหมักจากไส้เดือนและน้ำสกัดชีวภาพใช้ในการเกษตรอินทรีย์ ช่วยให้การย่อยสลายสารอินทรีย์ที่รวมถึงซากพืชสัตว์และอินทรียวัตถุต่าง ๆ ผลิตปุ๋ยหมัก (vermicomposting) และน้ำสกัดชีวภาพจากไส้เดือน (worm tea)
  3. ส่งเสริมการละลายธาตุอาหารพืชที่อยู่ในรูปอนินทรีย์สารที่พืชใช้ประโยชน์ไม่ได้ ไปอยู่ในรูปที่พืชนำมาใช้ประโยชน์ได้
  4. ช่วยในการปรับปรุงโครงสร้างของดินเลี้ยงเพื่อรักษาสภาพแวดล้อม โดยการเปลี่ยนของอินทรีย์เป็นปุ๋ยหมัก
  5. ใช้เลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจ ผลิตไส้เดือนเป็นอาหารโปรตีน (vermiculture) เนื่องจากไส้เดือนมีโปรตีนสูงอาจใช้เลี้ยงปลา เลี้ยงเพื่อใช้เป็นเหยื่อตกปลา ด้านอาหารสัตว์ ใช้เป็นอาหารโปรตีนทั้งในรูปไส้เดือนเป็นและผง  หรือไส้เดือนสดสำหรับเลี้ยงเป็ด หรือกบก็ได้
  6. ด้านการแพทย์ รักษาโรคข้ออักเสบ แผลอักเสบ โรคผิวหนัง และสลายลิ่มเลือดในหลอดเลือด

ข้อพึงระวัง ->

การหมักขี้วัว ต้องหมักอย่างน้อย 15-30 วัน เพื่อให้ลดความร้อนและความเป็นกรดด่าง 

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา